วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน 3 ดี










บันทึก กัญจนณัฐ ปัญญาลิขิตกุล



การปรับปรุงพัฒนาโรงเรียน 3 ดี ที่โรงเรียนวัดคลองโพธิ์ ตำบลดงละคร อำเภอเมืองนครนายก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก

เข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน 3 ดี



มาตรฐานห้องสมุดและตัวบ่งชี้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพห้องสมุด โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน



สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๕๒

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ให้ความสำคัญของการพัฒนาห้องสมุดและส่งเสริมการอ่าน ซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องสมุดโรงเรียนอันเป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญในการศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษา ตลอดจนสามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนได้อีกด้วย จึงได้จัดทำมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับบุคลากรทุกคนในโรงเรียนได้ร่วมมือกันดำเนินงานตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยใช้ผลจากการสำรวจข้อมูลการดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในปี ๒๕๕๒ข้อมูลจากงานวิจัยร่วมกับยูเนสโกประเทศไทยเรื่อง รายงานผลการสำรวจข้อมูลการเรียนรู้ข่าวสารผ่านทางห้องสมุดโรงเรียน ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ และเกณฑ์การประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เป็นแนวทางในการจัดทำและเพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานพัฒนาตลอดจนสอดคล้องกับการประเมินคุณภาพของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ดังนั้น มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน จึงมี ๔ หมวด คือ



หมวดที่ ๑ มาตรฐานด้านผู้บริหาร



หมวดที่ ๒ มาตรฐานด้านครู



หมวดที่ ๓ มาตรฐานด้านผู้เรียน



หมวดที่ ๔ มาตรฐานด้านทรัพยากรสารสนเทศ



นอกจากนี้ยังได้กำหนดเกณฑ์การประเมินแนวทางการให้คะแนนไว้ในแต่ละตัวบ่งชี้ทุกมาตรฐาน ผู้ดำเนินงานสามารถตรวจสอบการดำเนินงานของตนเองเพื่อพัฒนาได้ทุกระยะ และสามารถก้าวสู่มาตรฐานที่สูงกว่าเดิมได้หากมีความพร้อมและที่สำคัญที่สุด คือ หากดำเนินงานได้ครบถ้วนก็สามารถสร้าง “ห้องสมุด และบรรยากาศที่ดี ครูบรรณารักษ์ / ครูทำหน้าที่บรรณารักษ์ที่ดี หนังสือที่ดี” ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดและเป็นเป้าหมายตรงกันของผู้ใช้ทุกระดับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิและคณะทำงานทุกท่านที่ได้ระดมพลังปัญญา ความสามารถ ตลอดจนช่วยเหลือในการทดลอง ปรับปรุง และให้ความเห็นเพิ่มเติม จนกระทั่งได้ มาตรฐานห้องสมุด ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การพิจารณาเพื่อการประเมินคุณภาพห้องสมุด ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา สำหรับใช้กับโรงเรียนในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งจะส่งผลให้ห้องสมุดโรงเรียนทุกแห่งได้พัฒนาไปสู่มาตรฐานตาม



ศักยภาพของตนเองและพัฒนาคุณภาพผู้เรียนต่อไป









(คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา)



เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน



กรกฎาคม ๒๕๕๒

มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน

ความสำคัญและความเป็นมา

เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่า การอ่านคือ การเรียนรู้ที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งแม้ว่าเทคโนโลยีจะก้าวไกลไปเพียงใดแต่หากพื้นฐานการอ่านไม่เข้มแข็งก็ไม่อาจก้าวทันความรู้เหล่านี้ได้อย่างลึกซึ้งและกว้างขวาง

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่ในการกำกับ ดูแล บริหารจัดการ พัฒนาโรงเรียนในสังกัด ซึ่งแต่ละโรงเรียนจะมีขนาดและจำนวนนักเรียนแตกต่างกันมีทั้งโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จึงได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้โรงเรียนทุกแห่งพัฒนาห้องสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนและชุมชน เพื่อเป็นการพัฒนาการศึกษาและคุณภาพผู้เรียนให้มีความรอบรู้ ทันเหตุการณ์ เป็นบุคคลที่มีนิสัยรักการอ่านการค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานดังกล่าวประสบผลสำเร็จมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน จึงได้นำข้อมูลจากการสำรวจเรื่องห้องสมุดของสำนักคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน และงานวิจัยร่วมกับยูเนสโกประเทศไทยเรื่อง รายงานผลการสำรวจข้อมูลการเรียนรู้ข่าวสารผ่านทางห้องสมุดโรงเรียน ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ มาจัดทำเป็นมาตรฐาน ทั้งนี้โดยให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาชาติ และสอดคล้องกับการประเมินคุณภาพของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ในขณะเดียวกันได้ระบุวิธีการประเมิน เกณฑ์การประเมิน แนวทางการให้คะแนน ตลอดจนข้อมูลเชิงประจักษ์ไว้ด้วย เพื่อความสะดวกในการประเมินเพื่อพัฒนาตนเอง และสำหรับคณะประเมินจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้โรงเรียนอาจพัฒนาต่อเนื่องให้เต็มที่ตามศักยภาพของตนเองได้โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในฐานเดิมของตน อนึ่งวิธีการประเมินตนเองนั้นสามารถทำได้ทุกระยะของการดำเนินงาน ดังนั้นมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนที่กำหนดจึงเป็นมาตรฐานที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ดำเนินการพัฒนาห้องสมุดในโรงเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งแบ่งเป็น ๔ หมวด คือ



หมวดที่ ๑ มาตรฐานด้านผู้บริหาร



หมวดที่ ๒ มาตรฐานด้านครู



หมวดที่ ๓ มาตรฐานด้านผู้เรียน



หมวดที่ ๔ มาตรฐานด้านทรัพยากรสารสนเทศ



อนึ่งในการจัดทำมาตรฐานครั้งนี้ ได้พิจารณาถึงสภาพความเป็นจริงของการดำเนินงานในโรงเรียน ซึ่งการขับเคลื่อนให้ห้องสมุดมีชีวิตนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับบุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียนเป็นหลักและเพื่อ ประโยชน์ของผู้ดำเนินงานทุกคนในการประเมินคุณภาพจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา (สมศ.) ในขณะเดียวกันสภาพอันพึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนทุกแห่งที่ผู้ใช้มีความเห็น และมีความต้องการตรงกันก็คือ



(๑) มีห้องสมุดและบรรยากาศที่ดี เอื้ออำนวยในการเข้าใช้บริการ



(๒) มีครูบรรณารักษ์ / ครูทำหน้าที่บรรณารักษ์ที่ดี มีความรู้ความเข้าใจ และมีความพร้อมในการให้บริการด้วยอารมณ์อันแจ่มใส



(๓) มีหนังสือที่ดี มีเนื้อหาสอดคล้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีหนังสืออ่านเพิ่มเติมที่มีเนื้อหาสนุกสนาน เพลิดเพลิน ให้ความรู้ในเชิงสร้างสรรค์ ส่งเสริมจินตนาการ จรรโลงสังคม และตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการ

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า หากบุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียนดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียนได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ก็สามารถพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนให้มีลักษณะที่พึงประสงค์ดังกล่าวแล้วข้างต้น



มาตรฐานห้องสมุดและตัวบ่งชี้



มาตรฐานห้องสมุด และตัวบ่งชี้



เพื่อการประเมินคุณภาพห้องสมุดระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน :ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา

หมวดที่ ๑ มาตรฐานด้านผู้บริหาร มี ๓ มาตรฐาน ได้แก่



มาตรฐานที่ ๑ ผู้บริหารมีความสามารถในการบริหารจัดการ

มาตรฐานที่ ๒ ผู้บริหารส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาห้องสมุด มาตรฐานที่ ๓ ผู้บริหารเป็นแบบอย่างในการพัฒนาตนเอง

ตัวบ่งชี้ในแต่ละมาตรฐาน มีดังนี้



มาตรฐานที่ ๑ ผู้บริหารมีความสามารถในการบริหารจัดการ มี ๖ ตัวบ่งชี้



๑.๑ ผู้บริหารจัดให้มีแหล่งเรียนรู้ตามความเหมาะสม



๑.๒ ผู้บริหารมีการกำหนดนโยบาย แผนงาน การดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียน



๑.๓ ผู้บริหารจัดให้มีโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจน



๑.๔ ผู้บริหารจัดให้มีครูทำหน้าที่บรรณารักษ์และบุคลากรดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียน



๑.๕ ผู้บริหารจัดหางบประมาณสำหรับพัฒนาห้องสมุด



๑.๖ ผู้บริหารนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน



มาตรฐานที่ ๒ ผู้บริหารส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาห้องสมุด



มี ๔ ตัวบ่งชี้



๒.๑ ผู้บริหารจัดให้ชุมชนมาใช้บริการห้องสมุดในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง



๒.๒ ผู้บริหารจัดให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน



๒.๓ ผู้บริหารเปิดโอกาสให้ชุมชนเป็นกรรมการงานห้องสมุด



๒.๔ ผู้บริหารสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานและองค์กรอื่น ๆ เพื่อพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน



มาตรฐานที่ ๓ ผู้บริหารเป็นแบบอย่างในการพัฒนาตนเอง มี ๓ ตัวบ่งชี้



๓.๑ ผู้บริหารเข้ารับการอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้าน ห้องสมุดอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง



๓.๒ ผู้บริหารใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนางาน



๓.๓ ผู้บริหารมีนิสัยรักการอ่าน



























หมวดที่ ๒ มาตรฐานด้านครู



๒.๑ ครูบรรณารักษ์ มี ๕ มาตรฐาน ดังนี้



มาตรฐานที่ ๑ ครูบรรณารักษ์มีความสามารถในการดำเนินงานห้องสมุด



มาตรฐานที่ ๒ ครูบรรณารักษ์มีความสามารถในการปฏิบัติงานเทคนิค



มาตรฐานที่ ๓ ครูบรรณารักษ์มีความสามารถในการให้บริการ



มาตรฐานที่ ๔ ครูบรรณารักษ์มีความสามารถในการจัดกิจกรรม



มาตรฐานที่ ๕ ครูบรรณารักษ์มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง



๒.๒ ครูผู้สอน มี ๓ มาตรฐาน ดังนี้



มาตรฐานที่ ๖ ครูผู้สอนมีการใช้ห้องสมุดเพื่อการเรียนการสอน



มาตรฐานที่ ๗ ครูผู้สอนมีการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านแก่นักเรียน



มาตรฐานที่ ๘ ครูผู้สอนมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง



ครูบรรณารักษ์



ตัวบ่งชี้ในแต่ละมาตรฐาน มีดังนี้



มาตรฐานที่ ๑ ครูบรรณารักษ์มีความสามารถในการดำเนินงานห้องสมุด มี ๗ ตัวบ่งชี้



๑.๑ ครูบรรณารักษ์มีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจการพัฒนางานห้องสมุดโรงเรียน ๑.๒ ครูบรรณารักษ์มีการจัดทำแผนงาน / โครงการพัฒนาห้องสมุดที่มีการกำหนด เป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่ชัดเจน



๑.๓ ครูบรรณารักษ์มีการจัดทำแผนงาน / โครงการห้องสมุดที่สอดรับกับแผนกลยุทธ์ ของโรงเรียน ๑.๔ ครูบรรณารักษ์มีการจัดทำโครงสร้างการปฏิบัติงาน (งานบริหารจัดการห้องสมุด งานประชาสัมพันธ์ งานเทคนิค งานบริการ และงานกิจกรรมอย่างครบถ้วน) ๑.๕ ครูบรรณารักษ์มีการจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ ๑.๖ ครูบรรณารักษ์มีการประเมินผลการดำเนินงาน



๑.๗ ครูบรรณารักษ์มีการนำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนางานห้องสมุด



มาตรฐานที่ ๒ ครูบรรณารักษ์มีความสามารถในการปฏิบัติงานเทคนิค มี ๗ ตัวบ่งชี้



๒.๑ ครูบรรณารักษ์จัดให้มีทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับการจัดการเรียน การสอนตามหลักสูตร



๒.๒ ครูบรรณารักษ์จัดให้มีทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาตรงตามความต้องการของผู้ใช้ บริการ



๒.๓ ครูบรรณารักษ์จัดหมวดหมู่ และทำบัตรรายการหรือทำรายการ (ด้วยฐานข้อมูลระบบ คอมพิวเตอร์) ของทรัพยากรสารสนเทศ



๒.๔ ครูบรรณารักษ์ปฏิบัติงานเทคนิคเพื่อเตรียมให้บริการ



๒.๕ ครูบรรณารักษ์ใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บและสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศอย่าง เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน



๒.๖ ครูบรรณารักษ์ใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บและสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศได้ สะดวกต่อการเข้าถึงและใช้บริการ ๒.๗ ครูบรรณารักษ์สำรวจและบำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้ มาตรฐานที่ ๓ ครูบรรณารักษ์มีความสามารถในการให้บริการ มี ๘ ตัวบ่งชี้



๓.๑ ครูบรรณารักษ์จัดทำระเบียบการใช้ห้องสมุดโรงเรียน



๓.๒ ครูบรรณารักษ์จัดทำตารางการใช้ห้องสมุดที่ ชัดเจน



๓.๓ ครูบรรณารักษ์มีการจัดการแนะนำการใช้ห้องสมุด



๓.๔ ครูบรรณารักษ์จัดบริการการอ่าน และการศึกษาค้นคว้า



๓.๕ ครูบรรณารักษ์จัดบริการยืม- คืน



๓.๖ ครูบรรณารักษ์จัดบริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า



๓.๗ ครูบรรณารักษ์จัดบริการเชิงรุกอย่างหลากหลาย



๓.๘ ครูบรรณารักษ์จัดบริการสืบค้นทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์และทางอินเทอร์เน็ต



มาตรฐานที่ ๔ ครูบรรณารักษ์มีความสามารถในการจัดกิจกรรม มี ๓ ตัวบ่งชี้



๔.๑ ครูบรรณารักษ์จัดกิจกรรมห้องสมุดเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้



๔.๒ ครูบรรณารักษ์จัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านอย่างหลากหลาย



๔.๓ ครูบรรณารักษ์จัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านอย่างต่อเนื่อง



มาตรฐานที่ ๕ ครูบรรณารักษ์มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มี ๔ ตัวบ่งชี้



๕.๑ ครูบรรณารักษ์ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และมีนิสัยรักการอ่าน



๕.๒ ครูบรรณารักษ์เข้ารับการอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน อย่างต่อเนื่อง



๕.๓ ครูบรรณารักษ์เป็นสมาชิกสมาคมและหรือชมรมวิชาชีพ ที่เกี่ยวกับห้องสมุด



๕.๔ ครูบรรณารักษ์สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับ การดำเนินงานห้องสมุด



ครูผู้สอน มี ๓ มาตรฐาน ดังนี้



มาตรฐานที่ ๖ ครูผู้สอนมีการใช้ห้องสมุดเพื่อการเรียนการสอน มี ๔ ตัวบ่งชี้



๖.๑ ครูผู้สอนมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการการใช้ห้องสมุดในสาระการเรียนรู้ที่ ตนเองรับผิดชอบ









๖.๒ ครูผู้สอนมีส่วนร่วมในการเสนอหรือคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ



๖.๓ ครูผู้สอนมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้



๖.๔ ครูผู้สอนมีส่วนร่วมในการประเมินผลการใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้



มาตรฐานที่ ๗ ครูผู้สอนมีการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านแก่นักเรียน มี ๗ ตัวบ่งชี้



๗.๑ ครูผู้สอนจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในสาระการเรียนรู้ที่ตนเอง รับผิดชอบอย่างหลากหลาย



๗.๒ ครูผู้สอนจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในสาระการเรียนรู้ที่ตนเอง ตนเองรับผิดชอบอย่างสม่ำเสมอ



๗.๓ ครูผู้สอนประสานความร่วมมือกับครูบรรณารักษ์ในการจัดกิจกรรมส่งเสริม นิสัยรักการอ่าน



๗.๔ ครูผู้สอนประเมินผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน



๗.๕ ครูผู้สอนประเมินผลงานที่เกิดจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของ นักเรียน



๗.๖ ครูผู้สอนรายงานผลการประเมินผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านต่อ ผู้บริหารโรงเรียน



๗.๗ ครูผู้สอนนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนากิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน มาตรฐานที่ ๘ ครูผู้สอนมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มี ๓ ตัวบ่งชี้



๘.๑ ครูผู้สอนใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาการสอนและพัฒนาตนเอง ๘.๒ ครูผู้สอนเข้ารับการประชุม อบรม สัมมนา ศึกษาดูงานด้านห้องสมุดหรือแหล่ง การเรียนรู้ / กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน อย่างน้อย 1 ครั้งต่อปีการศึกษา ๘.๓ ครูผู้สอนมีนิสัยรักการอ่าน









หมวดที่ ๓ มาตรฐานด้านผู้เรียน มี ๒ มาตรฐาน



มาตรฐานที่ ๑ ผู้เรียนมีความสามารถในการรับรู้ เข้าถึง และใช้ประโยชน์จากสารสนเทศ



มาตรฐานที่ ๒ ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียนและมีนิสัยรักการอ่าน



ตัวบ่งชี้ในแต่ละมาตรฐาน มีดังนี้



มาตรฐานที่ ๑ ผู้เรียนมีความสามารถในการรับรู้ เข้าถึง และใช้ประโยชน์จากสารสนเทศมี ๘ ตัวบ่งชี้



๑.๑ ผู้เรียนกำหนดลักษณะและขอบเขตของสารสนเทศที่ต้องการได้



๑.๒ ผู้เรียนค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ



๑.๓ ผู้เรียนตัดสินใจเลือกสารสนเทศที่เข้าถึงได้อย่างถูกต้อง



๑.๔ ผู้เรียนสรุป เรียบเรียงแนวคิดจากสารสนเทศที่ค้นพบได้



๑.๕ ผู้เรียนจัดเก็บ / เผยแพร่สารสนเทศได้



๑.๖ ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้จากการศึกษาค้นคว้าได้



๑.๗ ผู้เรียนมีจิตสำนึกที่ดีในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ



๑.๘ ผู้เรียนมีคุณธรรมและจริยธรรม ในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ



มาตรฐานที่ ๒ ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียนและมีนิสัยรักการอ่าน มี ๕ ตัวบ่งชี้



๒.๑ ผู้เรียนเข้าใช้ห้องสมุดอย่างสม่ำเสมอ



๒.๒ ผู้เรียนยืมหนังสืออย่างสม่ำเสมอ



๒.๓ ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่โรงเรียนจัดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ



๒.๔ ผู้เรียนมีปริมาณการอ่านหนังสือเพิ่มเติมที่เหมาะสมกับระดับชั้น









หมวดที่ ๔ ทรัพยากรสารสนเทศ มี ๒ มาตรฐาน



มาตรฐานที่ ๑ ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุตีพิมพ์



มาตรฐานที่ ๒ ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์



ตัวบ่งชี้ในแต่ละมาตรฐาน



มาตรฐานที่ ๑ ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุตีพิมพ์



๑.๑ ห้องสมุดมีจำนวนหนังสือ หนังสืออ้างอิง วารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร ในปริมาณที่เหมาะสม สอดคล้องกับหลักสูตร และความต้องการของผู้ใช้บริการ ๑.๒ ห้องสมุดมีหนังสือที่สอดคล้องกับหลักสูตรและตอบสนองความเพลิดเพลินจำนวน ๒๐ เล่มขึ้นไปต่อนักเรียนหนึ่งคน



๑.๓ ห้องสมุด มีหนังสืออ้างอิง ๑ เล่ม ต่อนักเรียน ๒๐ คน และมี ๑.๓.๑ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๑ เล่มต่อนักเรียน ๑๐๐ คน



๑.๓.๒ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว ๑ ชุดต่อนักเรียน ๑๐๐ คน (ถ้านักเรียน ๑,๐๐๐ คนขึ้นไปมี ๑๐ ชุด)



๑.๓.๓ เอกสารหลักสูตรสำหรับครู ได้แก่ หลักสูตร และเอกสารประกอบหลักสูตร ครบทุกชั้นทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้



๑.๔ ห้องสมุดมีวารสาร / นิตยสารที่มีการบอกรับเป็นสมาชิกอย่างต่อเนื่อง ๕ ชื่อเรื่องขึ้นไป ๑.๕ มีหนังสือพิมพ์ ๒ ชื่อเรื่องขึ้นไป





















มาตรฐานที่ ๒ ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์ มี ๑ ตัวบ่งชี้



๒.๑ มีวัสดุ สื่อประกอบการเรียนรู้ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ในปริมาณที่ เหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตร และความต้องการของผู้ใช้บริการ ดังนี้



๑. ลูกโลก ๑ ลูก



๒. แผนที่



๓. เกม ๑๐ เกม



๔. ของเล่นเสริมทักษะ ๑๐ ชุด



๕. ชุดภาพพลิก ๕ ชุด



๖. วีดิทัศน์ ๒๐ เรื่อง



๗. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ๕ ชุด (เฉพาะโรงเรียนที่มีคอมพิวเตอร์)



๘. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book)



๙. อินเทอร์เน็ต ๒ ชุดขึ้นไปหรือเหมาะสมกับผู้ใช้บริการ ในห้องสมุด (เฉพาะโรงเรียนที่มีโครงข่ายโทรศัพท์ และคอมพิวเตอร์ใช้ใน ห้องสมุด)









เกณฑ์การประเมินคุณภาพ









พอใช้ (ควรปรับปรุง)



ดี



ดีเยี่ยม



มีคะแนน



น้อยกว่า ๗๐ คะแนน



มีคะแนน



๗๑ - ๘๕ คะแนน



มีคะแนน



มากกว่า ๘๕ คะแนน



เกณฑ์การประเมิน / แนวทางการให้คะแนน





เกณฑ์การประเมิน / แนวทางการให้คะแนน



มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน



หมวดที่ ๑ มาตรฐานด้านผู้บริหาร



มาตรฐาน



ตัวบ่งชี้



เกณฑ์การประเมิน



ข้อมูลเชิงประจักษ์



มาตรฐานที่ ๑ ผู้บริหารมีความสามารถในการบริหารจัดการ



๑.๑ ผู้บริหารจัดให้มีแหล่งเรียนรู้ตามความเหมาะสม



๑. ๑.๑ มีห้องสมุดไว้บริการนักเรียน ครู และบุคลากรภายในโรงเรียน

แนวทางการให้คะแนน



โรงเรียนขนาดเล็ก



- มี ครึ่งห้องเรียน ได้ ๑ คะแนน



- มีห้องสมุด ๑ ห้องเรียน



ได้ ๒ คะแนน



- มีห้องสมุด ๒ ห้องเรียน



ขึ้นไป หรือเป็นอาคารเอกเทศ



ได้ ๓ คะแนน



โรงเรียนขนาดกลาง



- มีห้องสมุด ๑ ห้องเรียน



ได้ ๑ คะแนน



- มีห้องสมุด ๒ ห้องเรียน



ได้ ๒ คะแนน



- มี ๓ ห้องเรียนขึ้นไปหรือเป็นอาคารเอกเทศ ได้ ๓ คะแนน



โรงเรียนขนาดใหญ่



- มีห้องสมุด ๑ - ๒ ห้องเรียน ได้ ๑ คะแนน



- มีห้องสมุด ๓ ห้องเรียน ได้ ๒ คะแนน



- มีห้องสมุด ๔ ห้องเรียนขึ้นไปหรือเป็นอาคารเอกเทศ ได้ ๓ คะแนน



หมายเหตุ



-โรงเรียนขนาดเล็ก จำนวนนักเรียน ๑ – ๓๐๐ คน



(รวมจากขนาดที่ ๑ – ๓ เดิม)



-โรงเรียนขนาดกลาง จำนวนนักเรียน ๓๐๑ – ๑,๔๙๙ คน



(รวมจากขนาด ๔ – ๕ เดิม)



-โรงเรียนขนาดใหญ่ จำนวนนักเรียน ๑,๕๐๐ คนขึ้นไป



(รวมจากขนาดที่ ๖ – ๗ เดิม)



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๑ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๒ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๓ คะแนน



สังเกต



- ห้องสมุด



- อาคารเอกเทศ



- แหล่งเรียนรู้อื่น ๆ



๑.๑.๒ ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม มีสภาพดี และให้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้



แนวทางการให้คะแนน



ห้องสมุดมีลักษณะต่อไปนี้ ให้ข้อละ ๑ คะแนน



๒.๑ เป็นศูนย์กลาง สะดวกต่อการเข้าไปใช้บริการ



๒.๒ มีสภาพดี ได้ ๒ คะแนน



๒.๓ มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๑ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๒ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๓ คะแนน



สังเกต

๑.๑.๓ จัดวัสดุครุภัณฑ์ ทรัพยากรสารสนเทศที่เพียงพอและเหมาะสม



แนวทางการให้คะแนน



มีลักษณะต่อไปนี้ ให้ข้อละ ๑คะแนน



๓.๑ มีวัสดุครุภัณฑ์ เพียงพอกับการใช้บริการ



๓.๒ มีวัสดุครุภัณฑ์ เหมาะสมกับวัยของนักเรียน



๓.๓ มีทรัพยากรสารสนเทศที่เพียงพอกับการใช้บริการ



๓.๔ มีทรัพยากรสารสนเทศเหมาะสมกับวัยของนักเรียน



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๒ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๓ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๔ คะแนน



สังเกต



ทะเบียนหนังสือ / วัสดุ



สัมภาษณ์นักเรียน / ครู



๑.๒ ผู้บริหารมีการกำหนดนโยบาย และแผนงาน การดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียน



๑.๒.๑ มีแผนการพัฒนาห้องสมุดไว้ในแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนเป็นลายลักษณ์อักษร



๑.๒.๒ กำหนดนโยบายการใช้ห้องสมุดเพื่อการจัดการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้



๑.๒.๓ กำหนดนโยบายการใช้ห้องสมุดเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน



แนวทางการให้คะแนน



มี ๑ ข้อ ได้ ๑ คะแนนมี ๒ ข้อ ได้ ๒ คะแนน



มีครบทุกข้อ ได้ ๓ คะแนน



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๑ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๒ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๓ คะแนน



- แผนพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน



- แผนการจัดการเรียนรู้ของกลุ่มสาระฯ ต่างๆ



- แผนกลยุทธ์/แผนปฏิบัติ



ราชการของโรงเรียน



- โครงการต่าง ๆ - แผนภูมิโครงสร้างการ บริหาร



- กิจกรรม /โครงการส่งเสริมให้ครูและนักเรียนรักการ อ่าน



- สถิติการเข้าใช้ห้องสมุด



- มีคำสั่งมอบหมายงานชัดเจน



๑.๓ ผู้บริหารจัดให้มีโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจน



๑.๓.๑ มีการกำหนดโครงสร้าง ระบบการบริหารงานห้องสมุด และคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียน



๑.๓.๒ กำหนดบทบาทหน้าที่ของบุคลากรตามโครงสร้าง และส่งเสริมให้มีการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ ๑.๓.๓ มีการประชุมชี้แจงบทบาทหน้าที่คณะกรรมการเพื่อการบริหารงานห้องสมุด



๑.๓.๔ แต่งตั้งครูที่ทำหน้าที่บรรณารักษ์เป็นคณะกรรมการฝ่ายวิชาการ



แนวทางการให้คะแนน



มี ๑ ข้อ ได้ ๑ คะแนนมี ๒ - ๓ ข้อ ได้ ๒ คะแนน



มีครบทุกข้อ ได้ ๓ คะแนน



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๑ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๒ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๓ คะแนน



- มีคำสั่งมอบหมายงานที่ชัดเจน



๑.๔ ผู้บริหารจัดให้มีครูทำหน้าที่บรรณารักษ์และบุคลากรดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียน



๑.๔.๑ มีการแต่งตั้ง/ มอบหมายครูให้ทำหน้าที่บรรณารักษ์และบุคลากรดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียน ๑.๔.๒ มีการเสริมแรง สร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากรที่ ทำหน้าที่ดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียน



๑.๔.๓ มีการส่งเสริมสนับสนุน และสร้างโอกาสให้บุคลากรที่ทำหน้าที่ดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียนได้รับการพัฒนา



แนวทางการให้คะแนน



มี ๑ ข้อ ได้ ๑ คะแนนมี ๒ - ๓ ข้อ ได้ ๒ คะแนน



มีครบทุกข้อ ได้ ๓ คะแนน



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๑ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๒ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๓ คะแนน



- มีคำสั่งมอบหมายงานที่ชัดเจน



- สัมภาษณ์ สังเกต



- มีหลักฐานการขออนุญาตเข้าร่วมประชุม สัมมนา- มีบัตรสมาชิก



๑.๕ ผู้บริหารจัดหางบประมาณสำหรับพัฒนาห้องสมุด



๑.๕.๑ มีการจัดสรรงบประมาณประจำปีเพื่อสนับสนุนและพัฒนาห้องสมุด



แนวทางการให้คะแนน



๑. จัดสรรงบประมาณประจำปีร้อยละสิบของเงินอุดหนุนได้ ๑ คะแนน



๒. จัดสรรงบประมาณประจำปีร้อยละยี่สิบของเงินอุดหนุนได้ ๒ คะแนน



๓. จัดสรรงบประมาณประจำปีมากกว่าร้อยละยี่สิบของเงินอุดหนุน ได้ ๓ คะแนน



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๑ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๒ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๓ คะแนน



- คำสั่ง



- แผนพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน



- แผนกลยุทธ์/แผนปฏิบัติราชการของโรงเรียน

๑.๖ ผู้บริหารนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน



๑.๖.๑ มีแผนการนิเทศงานห้องสมุด



๑.๖.๒ มีการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล



๑.๖.๓ มีการรายงานผลการดำเนินงานต่อหน่วยงานต้นสังกัด และผู้ที่เกี่ยวข้อง



๑.๖.๔ มีการนำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนา



แนวทางการให้คะแนน



มีลักษณะตามตัวบ่งชี้ให้ข้อละ ๑ คะแนน



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๒ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๓ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๔ คะแนน



- แผนการนิเทศ



- หลักฐานการนิเทศ รายงานผล



มาตรฐานที่ ๒ ผู้บริหารส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน



๒.๑ ผู้บริหารให้ชุมชนมาใช้บริการห้องสมุดในการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาตนเอง



๒.๒ ผู้บริหารจัดให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน ๒.๓ ผู้บริหารเปิดโอกาสชุมชนร่วมเป็นกรรมการงานห้องสมุด ๒.๔ ผู้บริหารสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานและองค์กรอื่นๆเพื่อพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน



แนวทางการให้คะแนน



มีลักษณะตามตัวบ่งชี้ให้ข้อละ ๑ คะแนน



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๒ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๓ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๔ คะแนน



สังเกต



สัมภาษณ์



ภาพถ่าย



มาตรฐานที่ ๓ ผู้บริหารเป็นแบบอย่างในการพัฒนาตนเอง



๓.๑ ผู้บริหารเข้ารับการอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน แลก เปลี่ยน ประสบการณ์ด้านห้องสมุดอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง



๓.๒ ผู้บริหารใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนางาน



๓.๓ ผู้บริหารมีนิสัยรักการอ่าน



แนวทางการให้คะแนน



มีลักษณะตามตัวบ่งชี้ให้ข้อละ ๑ คะแนน



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๑ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๒ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๓ คะแนน



- เกียรติบัตร



- หลักฐานการเข้าร่วมประชุม สัมมนา



- หนังสือ



- สถิติการยืม-คืนหนังสือ



- บันทึกการอ่าน



- สังเกต สัมภาษณ์



หมวดที่ ๒ มาตรฐานด้านครู



๒.๑ ครูบรรณารักษ์



มาตรฐาน



ตัวบ่งชี้



เกณฑ์การประเมิน



ข้อมูลเชิงประจักษ์



มาตรฐานที่ ๑ ครูบรรณารักษ์มีความสามารถในการดำเนิน งานห้องสมุด



๑.๑ ครูบรรณารักษ์มีการกำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน



๑.๒ ครูบรรณารักษ์มีการจัดทำแผนงาน/โครงการพัฒนาห้องสมุด ที่มีการกำหนดเป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่ชัดเจน



๑.๓ ครูบรรณารักษ์มีการจัดทำแผนงาน/โครงการพัฒนาห้องสมุดที่สอดรับกับแผนกลยุทธ์ของโรงเรียน



๑.๔ ครูบรรณารักษ์มีการกำหนดโครงสร้างการปฏิบัติงาน(งานบริหารจัดการห้องสมุด งานประชาสัมพันธ์ งานเทคนิค งานบริการ และงานกิจกรรม) อย่างครบถ้วน



๑.๕ ครูบรรณารักษ์มีการจัดสถานที่ สภาพแวดล้อม และบรรยากาศห้องสมุดให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้



๑.๖ ครูบรรณารักษ์มีการประเมินผลการดำเนินงาน



๑.๗ มีครูบรรณารักษ์การนำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนาห้องสมุด













































แนวทางการให้คะแนน



มีลักษณะตามตัวบ่งชี้ให้ข้อละ ๑ คะแนน



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๔ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๕ - ๖ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๗ คะแนน







































- แผนพัฒนางานห้องสมุด- สถิติการใช้บริการ



- แผ่นพับประชาสัมพันธ์



- สังเกตสภาพแวดล้อม



- แบบประเมินงาน / ผลการดำเนินงาน



- ข้อมูลแสดงการนำผลการประเมินมาใช้พัฒนาต่อไป



มาตรฐานที่ ๒ ครูบรรณารักษ์มีความสามารถในการปฏิบัติงานเทคนิค



๒.๑ ครูบรรณารักษ์จัดให้มีทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร



๒.๒ ครูบรรณารักษ์จัดให้มีทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาตรงตามความต้องการของผู้ใช้บริการ



๒.๓ ครูบรรณารักษ์จัดหมวดหมู่ และทำบัตรรายการหรือทำรายการ (ด้วยฐานข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์) ของทรัพยากรสารสนเทศ



๒.๔ ครูบรรณารักษ์ปฏิบัติงานเทคนิคเพื่อเตรียมให้บริการ



๒.๕ ครูบรรณารักษ์ใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บและสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศอย่างเหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน



๒.๖ ครูบรรณารักษ์ใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บและสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศได้สะดวกต่อการเข้าถึงและใช้บริการ



๒.๗ ครูบรรณารักษ์สำรวจและบำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้



แนวทางการให้คะแนน



มีลักษณะตามตัวบ่งชี้ให้ข้อละ ๑ คะแนน



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๔ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๕ - ๖ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๗ คะแนน



- ทะเบียนทรัพยากรสารสนเทศ



- แผนการจัดหาทรัพยากร- สังเกตระบบการจัดหมวดหมู่การสืบค้น การเข้าถึงสารสนเทศ

มาตรฐานที่ ๓ ครูบรรณารักษ์มีความสามารถในการให้บริการ



๓.๑ ครูบรรณารักษ์จัดทำระเบียบการใช้ห้องสมุดโรงเรียน



๓.๒ ครูบรรณารักษ์มีการจัดทำตารางการใช้ห้องสมุดที่ชัดเจน



๓.๓ ครูบรรณารักษ์มีการแนะนำการใช้ห้องสมุด



๓.๔ ครูบรรณารักษ์จัดบริการการอ่าน และการศึกษาค้นคว้า



๓.๕ ครูบรรณารักษ์จัดบริการยืม - คืน



๓.๖ ครูบรรณารักษ์จัดบริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า



๓.๗ ครูบรรณารักษ์จัดบริการเชิงรุกอย่างหลากหลาย



๓.๘ ครูบรรณารักษ์จัดบริการสืบค้นทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์และทาง อินเทอร์เน็ต



แนวทางการให้คะแนน



มีลักษณะตามตัวบ่งชี้ให้ข้อละ ๑ คะแนน



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๓ คะแนนระดับ ๒ ได้ ๔ - ๖ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๗ - ๘ คะแนน



- ระเบียบการใช้บริการ- ตารางการใช้ห้องสมุด- สถิติการยืม – คืน- สังเกต- สัมภาษณ์



มาตรฐานที่ ๔ ครูบรรณารักษ์มีความสามารถในการจัดกิจกรรม



๔.๑ ครูบรรณารักษ์จัดกิจกรรมห้องสมุดเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้



๔.๒ ครูบรรณารักษ์จัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านอย่างหลากหลาย



๔.๓ ครูบรรณารักษ์จัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านอย่างต่อเนื่อง



แนวทางการให้คะแนน



มีลักษณะตามตัวบ่งชี้ให้ข้อละ ๑ คะแนน



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๑ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๒ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๓ คะแนน



- แผนปฏิบัติงาน



- แผนพัฒนาห้องสมุด



- การประเมินโครงการ



- รูปภาพ



- สรุปโครงการ



- สถิติ



มาตรฐานที่ ๕ ครูบรรณารักษ์มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง



๕.๑ ครูบรรณารักษ์มีการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และมีนิสัยรักการอ่าน



๕.๒ ครูบรรณารักษ์เข้ารับการอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน อย่างต่อเนื่อง



๕.๓ ครูบรรณารักษ์เป็นสมาชิกสมาคมและหรือชมรมวิชาชีพ ที่เกี่ยวกับห้องสมุด



๕.๔ ครูบรรณารักษ์สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการดำเนินงานห้องสมุด



แนวทางการให้คะแนน



มีลักษณะตามตัวบ่งชี้ให้ข้อละ ๑ คะแนน



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๒ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๓ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๔ คะแนน



- บันทึกการรายงานการประชุม



- หลักฐานอื่น ๆ เช่น เกียรติบัตร



- สังเกต สัมภาษณ์



- สถิติการใช้ห้องสมุด



- คำสั่ง หนังสือเชิญ



หนังสือตอบรับ



๒.๒ ครูผู้สอน



มาตรฐาน



ตัวบ่งชี้



เกณฑ์การประเมิน



ข้อมูลเชิงประจักษ์



มาตรฐานที่ ๖ ครูผู้สอนมีการใช้ห้องสมุดเพื่อการเรียนการสอน



๖.๑ ครูผู้สอนมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการการใช้ห้องสมุดในสาระการเรียนรู้ที่ตนเองรับผิดชอบ



๖.๒ ครูผู้สอนมีส่วนร่วมในการเสนอหรือคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ



๖.๓ ครูผู้สอนมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้



๖.๔ ครูผู้สอนมีส่วนร่วมในการประเมินผลการใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้



แนวทางการให้คะแนน



- ครูร้อยละ ๗๐-๘๐ ปฏิบัติได้ ได้ข้อละ ๑ คะแนน



- ครูร้อยละ ๘๑ – ๙๐ ปฏิบัติได้ ได้ ข้อละ ๒ คะแนน



- ครูร้อยละ ๙๑ – ๑๐๐ ปฏิบัติได้ ได้ข้อละ ๓ คะแนน



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๔ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๕-๘ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๙-๑๒ คะแนน



- แผนการจัดการเรียนรู้



- บันทึกรายงานการประชุม



- ภาพถ่าย



- ป้ายนิทรรศการ ฯลฯ



มาตรฐานที่ ๗ ครูผู้สอนมีการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านแก่นักเรียน



๗.๑ ครูผู้สอนจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในสาระการเรียนรู้ที่ตนเองรับผิดชอบอย่างหลากหลาย



๗.๒ ครูผู้สอนจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในสาระการเรียนรู้ที่ตนเองรับผิดชอบอย่างสม่ำเสมอ



๗.๓ ครูผู้สอนประสานความร่วมมือกับครูบรรณารักษ์ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน



๗.๔ ครูผู้สอนประเมินผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน



๗.๕ ครูผู้สอนประเมินผลงานที่เกิดจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน



๗.๖ ครูผู้สอนรายงานผลการประเมินผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านต่อผู้บริหารโรงเรียน



๗. ๗ ครูผู้สอนมีการนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนากิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน

แนวทางการให้คะแนน



- ครูร้อยละ ๗๐ – ๘๐ ปฏิบัติได้ ได้ข้อละ ๑ คะแนน



- ครูร้อยละ ๘๑ – ๙๐ ปฏิบัติได้ ได้ ข้อละ ๒ คะแนน



- ครูร้อยละ ๙๑ – ๑๐๐ ปฏิบัติได้ ได้ข้อละ ๓ คะแนน



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๗ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๘-๑๔ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๑๕-๒๑ คะแนน



- แผนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน- ผลงานจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน- สังเกต- สัมภาษณ์



มาตรฐานที่ ๘ ครูผู้สอนมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง



๘.๑ ครูผู้สอนใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาการสอนและพัฒนาตนเอง



๘.๒ ครูผู้สอนเข้ารับการประชุม อบรม สัมมนา ศึกษาดูงานด้านห้องสมุดหรือแหล่งการเรียนรู้ / กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน อย่างน้อย 1 ครั้งต่อปีการศึกษา



๘.๓ ครูผู้สอนมีนิสัยรักการอ่าน



แนวทางการให้คะแนน



- ครูร้อยละ ๗๐ - ๘๐ ปฏิบัติได้ ได้ข้อละ ๑ คะแนน



- ครูร้อยละ ๘๑-๙๐ ปฏิบัติได้ ได้ ข้อละ ๒ คะแนน



- ครูร้อยละ ๙๑ – ๑๐๐ ปฏิบัติได้ ได้ข้อละ ๓ คะแนน



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๑ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๒ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๓ คะแนน



- คำสั่ง- ใบประกาศ- รางวัล โล่



- สถิติ



- บันทึกการอ่าน



- สังเกต สัมภาษณ์



- บันทึกการประชุม



หมวดที่ ๓ มาตรฐานด้านผู้เรียน



มาตรฐาน



ตัวบ่งชี้



เกณฑ์การประเมิน



ข้อมูลเชิงประจักษ์



มาตรฐานที่ ๑ ผู้เรียนมีความสามารถในการรับรู้ เข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสารสนเทศ



๑.๑ ผู้เรียนกำหนดลักษณะและขอบเขตของสารสนเทศที่ต้องการได้



๑.๒ ผู้เรียนค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ



๑.๓ ผู้เรียนตัดสินใจเลือกสารสนเทศที่เข้าถึงได้อย่างถูกต้อง



๑.๔ ผู้เรียนสรุป เรียบเรียงแนวคิดจากสารสนเทศที่ค้นพบได้



๑.๕ ผู้เรียนจัดเก็บ / เผยแพร่สารสนเทศได้



๑.๖ ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้จากการศึกษาค้นคว้าได้



๑.๗ ผู้เรียนมีจิตสำนึกที่ดีในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ



๑.๘ ผู้เรียนมีคุณธรรมและจริยธรรม ในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ



แนวทางการให้คะแนน



- นักเรียนร้อยละ ๗๐ - ๘๐ปฏิบัติได้ ได้ข้อละ ๑ คะแนน



- นักเรียนร้อยละ ๘๑ - ๙๐ ปฏิบัติได้ ได้ ข้อละ ๒ คะแนน



- นักเรียนร้อยละ ๙๑ - ๑๐๐ ปฏิบัติได้ ได้ข้อละ ๓ คะแนน



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๘ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๙ - ๑๗ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๑๘ - ๒๔ คะแนน

- สัมภาษณ์ - สังเกต



- ตอบแบบสอบถาม



- รายงาน ชิ้นงาน

มาตรฐานที่ ๒ ผู้เรียนความใฝ่รู้ใฝ่เรียนและมีนิสัยรักการอ่าน



๒.๑ ผู้เรียนเข้าใช้ห้องสมุดอย่างสม่ำเสมอ



๒.๒ ผู้เรียนยืมหนังสืออย่างสม่ำเสมอ



๒.๓ ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่โรงเรียนจัดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ



๒.๔ . ผู้เรียนมีปริมาณการอ่านหนังสือเพิ่มเติมที่เหมาะสมกับระดับชั้น

แนวทางการให้คะแนน ข้อ ๒.๑ – ๒.๓



- นักเรียนร้อยละ ๗๐ - ๘๐ปฏิบัติได้ ได้ข้อละ ๑ คะแนน



- นักเรียนร้อยละ ๘๑ - ๙๐ ปฏิบัติได้ ได้ ข้อละ ๒ คะแนน



- นักเรียนร้อยละ ๙๑ - ๑๐๐ ปฏิบัติได้ ได้ข้อละ ๓ คะแนน



แนวทางการให้คะแนนข้อ ๒.๔



- นักเรียนร้อยละ ๗๐ - ๘๐ ปฏิบัติได้ตามเกณฑ์ขั้นต่ำ



ได้ ๔ คะแนน



- นักเรียนร้อยละ ๘๑ - ๙๐ ปฏิบัติได้ตามเกณฑ์ขั้นต่ำ



ได้ ๕ คะแนน



- นักเรียนร้อยละ ๙๑ - ๑๐๐ ปฏิบัติได้ตามเกณฑ์ขั้นต่ำ



ได้ ๖ คะแนน



ปริมาณการอ่านหนังสือขั้นต่ำ



ประถมศึกษาปีที่๑



- อ่านหนังสือเพิ่มเติมอย่างน้อย คนละ ๑ เล่มต่อปี



ประถมศึกษาปีที่๒



- อ่านหนังสือเพิ่มเติมอย่างน้อย คนละ ๓ เล่มต่อภาคเรียน



ประถมศึกษาปีที่๓



- อ่านหนังสือเพิ่มเติมอย่างน้อย คนละ ๔ เล่มต่อภาคเรียน



ประถมศึกษาปีที่๔



- อ่านหนังสือเพิ่มเติมอย่างน้อย คนละ ๕ เล่มต่อภาคเรียน



ประถมศึกษาปีที่๕



- อ่านหนังสือเพิ่มเติมอย่างน้อย คนละ ๕ เล่มต่อภาคเรียน



ประถมศึกษาปีที่๖



- อ่านหนังสือเพิ่มเติมอย่างน้อย คนละ ๕ เล่มต่อภาคเรียน



มัธยมศึกษาปีที่ ๑



- อ่านหนังสือเพิ่มเติมอย่างน้อย



คนละ๕ เล่มต่อภาคเรียน



มัธยมศึกษาปีที่ ๒



- อ่านหนังสือเพิ่มเติมอย่างน้อย



คนละ๖ เล่มต่อภาคเรียน



มัธยมศึกษาปีที่ ๓



- อ่านหนังสือเพิ่มเติมอย่างน้อย คนละ ๗ เล่มต่อภาคเรียน



มัธยมศึกษาปีที่ ๔



- อ่านหนังสือเพิ่มเติมอย่างน้อย คนละ ๑๐ เล่มต่อภาคเรียน



มัธยมศึกษาปีที่ ๕



- อ่านหนังสือเพิ่มเติมอย่างน้อย คนละ ๑๐เล่มต่อภาคเรียน



มัธยมศึกษาปีที่ ๖



- อ่านหนังสือเพิ่มเติมอย่างน้อย คนละ ๑๐ เล่มต่อภาคเรียน



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๗ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๘ - ๑๒ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๑๓ - ๑๕ คะแนน



- สังเกต- สัมภาษณ์- สถิติการยืม – คืนหนังสือ



จากห้องสมุด



- สมุดบันทึกการอ่าน



- ร้อยละของนักเรียนที่อ่านหนังสือได้ตามเกณฑ์



- การสมัครเข้าเป็นผู้ช่วยครูบรรณารักษ์



หมวดที่ ๔ ทรัพยากรสารสนเทศ



มาตรฐาน



ตัวบ่งชี้



เกณฑ์การประเมิน



ข้อมูลเชิงประจักษ์



มาตรฐานที่ ๑ ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุตีพิมพ์



๑.๑ ห้องสมุดมีจำนวนหนังสือ หนังสืออ้างอิง วารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร ในปริมาณที่เหมาะสม สอดคล้องกับหลักสูตร และความต้องการของผู้ใช้บริการ



๑. ๒ ห้องสมุด มีหนังสือที่สอดคล้องกับหลักสูตรและตอบสนองความเพลิดเพลินจำนวน ๒๐ เล่ม ขึ้นไปต่อนักเรียนหนึ่งคน



๑.๓ มีหนังสืออ้างอิง ๑ เล่ม ต่อนักเรียน ๒๐ คน และมี



๑.๓.๑ พจนานุกรมฉบับ



ราชบัณฑิตยสถาน ๑ เล่มต่อ นักเรียน ๑๐๐ คน



๑.๓.๒ สารานุกรมไทย



สำหรับเยาวชน ๑ ชุดต่อ



นักเรียน ๑๐๐ คน (ถ้านักเรียน ๑,๐๐๐ คนขึ้นไปมี ๑๐ ชุด)



๑.๓.๓ เอกสารหลักสูตร



สำหรับครู ได้แก่ หลักสูตร



และเอกสารประกอบหลักสูตร ครบทุกชั้นทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้



๑.๔ มีวารสาร/นิตยสารที่มีการบอกรับเป็นสมาชิกอย่างต่อเนื่อง ๕ ชื่อเรื่องขึ้นไป



๑.๕ มีหนังสือพิมพ์ ๒ ชื่อเรื่องขึ้นไป



แนวทางการให้คะแนน



- มีจำนวนน้อยกว่าที่ระบุในตัวบ่งชี้ ได้ข้อละ ๑ คะแนน



- มีจำนวนตามที่ระบุในตัวบ่งชี้ ได้ ข้อละ ๒ คะแนน



- มีจำนวนมากกว่าที่ระบุใน ตัวบ่งชี้ ได้ข้อละ ๓ คะแนน

แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๗ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๘ - ๑๔ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๑๕ - ๒๑ คะแนน

- ทรัพยากรสรสนเทศในห้องสมุด- สังเกต- สัมภาษณ์ผู้ใช้บริการ



- สมุดทะเบียน / รายชื่อวัสดุตีพิมพ์ / วัสดุไม่ตีพิมพ์



มาตรฐานที่ ๒ ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์



๒.๑ ห้องสมุดมีวัสดุ สื่อประกอบการเรียนรู้ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ในปริมาณที่เหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตร และความต้องการของผู้ใช้บริการ เช่น



๑. ลูกโลก ๑ ลูก



๒. แผนที่



๓. เกม ๑๐ เกม



๔. ของเล่นเสริมทักษะ ๑๐ ชุด



๕. ชุดภาพพลิก ๕ ชุด



๖. วีดิทัศน์ ๒๐ เรื่อง



๗. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ๕ ชุด (เฉพาะโรงเรียนที่มีคอมพิวเตอร์)



๘. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book)



๙. อินเทอร์เน็ต ๒ ชุดขึ้นไปหรือเหมาะสมกับผู้ใช้บริการ ในห้องสมุด (เฉพาะโรงเรียนที่มีโครงข่ายโทรศัพท์ และคอมพิวเตอร์ใช้ในห้องสมุด)



แนวทางการให้คะแนน



- มีจำนวนน้อยกว่าที่ระบุในตัวบ่งชี้ ได้ข้อละ ๑ คะแนน



- มีจำนวนตามที่ระบุในตัวบ่งชี้ ได้ ข้อละ ๒ คะแนน



- มีจำนวนมากกว่าที่ระบุใน ตัวบ่งชี้ ได้ข้อละ ๓ คะแนน

แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๗ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๘ - ๑๔ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๑๕ - ๒๑ คะแนน



- ทะเบียนทรัพยากร



- สังเกต



- สัมภาษณ์

การสรุปผลการประเมิน



๑. การสรุปผลในแต่ละมาตรฐานย่อยมีการกำหนดเกณฑ์การประเมินไว้ ๓ ระดับ คือ



ระดับ ๑ หมายถึง พอใช้ (ควรปรับปรุง)



ระดับ ๒ หมายถึง ดี



ระดับ ๓ หมายถึง ดีเยี่ยม ๒. การสรุปผลในภาพรวม กำหนดน้ำหนักคะแนนในแต่ละหมวดเท่า ๆ กัน คือ หมวดละ ๒๕ คะแนน โดยการเทียบบัญญัติไตรยางค์จากคะแนนที่ได้ในแต่ละหมวดดังนี้



หมวดที่ ๑ มาตรฐานด้านผู้บริหาร คะแนนเต็ม ๓๓ คะแนน ปรับให้เป็น ๒๕ คะแนนโดยเอาคะแนนที่ได้ คูณด้วย .๗๕๗๕



หมวดที่ ๒ มาตรฐานด้านครู คะแนนเต็ม ๖๕ คะแนน ปรับให้เป็น ๒๕ คะแนนโดยเอาคะแนนที่ได้ คูณด้วย .๓๘๔๖



หมวดที่ ๓ มาตรฐานด้านผู้เรียน คะแนนเต็ม ๓๙ คะแนน ปรับให้เป็น ๒๕ คะแนนโดยเอาคะแนนที่ได้ คูณด้วย .๖๔๑๐



หมวดที่ ๔ มาตรฐานด้านทรัพยากรสารสนเทศ คะแนนเต็ม ๔๒ คะแนน ปรับให้เป็น ๒๕ คะแนนโดยเอาคะแนนที่ได้ คูณด้วย .๕๙๕๒



แล้วนำคะแนนทุกหมวดมารวมกันเทียบกับเกณฑ์ดังนี้



ระดับ ๑ หมายถึง พอใช้ (ควรปรับปรุง) มีคะแนนน้อยกว่า ๗๐ คะแนน



ระดับ ๒ หมายถึง ดี มีคะแนน ๗๑ - ๘๕ คะแนน



ระดับ ๓ หมายถึง ดีเยี่ยม มีคะแนน มากกว่า ๘๕ คะแนน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น