วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ค่าวซอ

ค่าวซอ คือ การแสดงศิลปวัฒนธรรมล้านนาประจำท้องถิ่น เกี่ยวกับ จ๊อยซอ หรือค่าวคอ การละเล่นจ๊อยตีข้าว มักจะเล่นกันในงานประเพณีขึ้นธาตุเดือน 9 ที่มาของค่าวล้านนา เป็นการนำเอาฉันทลักษณ์ประเภทค่าวซอมาแต่งเป็นวรรณกรรมนั้น ได้เริ่มขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2400 เป็นต้นมา โดยที่พระยาโลมาวิสัยแต่งค่าวซอ เรื่อง “หงส์ผาคำ” เป็นเรื่องแรก จากการศึกษาของ ฉัตรยุพา สวัสดิ์พงษ์ นั้น ได้กล่าวว่าพระยาโลมาวิสัยน่าจะเป็นผู้แต่งค่าวซอ เรื่อง “เจ้าสุวัตรนางบัวคำ” อีกด้วย หากเป็นเช่นนี้จริง ก็อาจเป็นเพราะว่าเมื่อพระยาโลมาวิสัยเห็นว่าค่าวซอเรื่อง หงส์ผาคำ ได้รับการต้อนรับอย่างดี จึงมีกำลังใจที่จะนำเอาชาดกนอกนิบาตมาแต่งเป็นค่าวซอเรื่อง เจ้าสุวัตรนางบัวคำ ในเวลาต่อมาความนิยมฉันทลักษณ์ประเภทค่าวนี้เห็นได้ชัดจากการที่ พระยาพรหมโวหารได้แต่ง ค่าวสี่บท หรือ ค่าวร่ำนางงาม หรือ ค่าวร่ำนางศรีชม เพื่อเป็นการใช้เสน่ห์แห่งกวีนิพนธ์ ดึงดูดนางชมที่หนีไปนั้น ให้หวนกลับมาหาตนอีกครั้งหนึ่ง และสำนวนการเขียนของพระยาพรหมโวหารในครั้งนั้น (ประมาณ พ.ศ. 2480 – 2490) ก็เป็นสำนวนโวหารนั้นเป็นที่จดจำกันอย่างแพร่หลาย และ เนื่องจากการแต่งค่าวซอนั้นไม่ต้องใช้ความรู้ทางอักษรศาสตร์มากนัก จึงเป็นเหตุให้ผู้นิยมฟังการ “เล่าค่าว – การขับทำนองเสนาะ” และการแต่งค่าว อย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา โดยเฉพาะช่วงที่ยังไม่มีการพิมพ์อักษรล้านนานั้น บรรดาผู้ที่สนใจในตำราหรือกวีนิพนธ์ก็จะคัดลอกเอกสารเหล่านั้นต่อ ๆ กันไป ซึ่งเป็นเหตุให้เอกสารเหล่านั้นคลาดเคลื่อนไปจากต้นฉบับได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ยังมีค่าวซออีกหลายเรื่องที่ยังตกสำรวจอยู่ คร่าว, ฅ่าว (อ่านว่า "ค่าว") เป็นฉันทลักษณ์ที่ชาวบ้านล้านนานิยมใช้กันมากที่สุด ดังจะเห็นได้จากการใช้คำประพันธ์ประเภทนี้อย่างกว้างขวาง คือใช้ในการแต่ง - คร่าวก้อม ซึ่งเป็นโวหารที่กินใจ หรือ สุภาษิตสั้นๆ ที่มักใช้ประกอบการสนทนา - คำคร่าว คำเครือ เป็นสำนวนแบบฉบับที่หนุ่มสาวใช้เจรจาเป็นโวหารรัก - คร่าวใช้ เป็นจดหมายที่มีไปมาระหว่างหนุ่มสาว เทียบได้กับเพลงยาวของภาคกลาง - คร่าวร่ำ ใช้พรรณนาเหตุการณ์ต่างๆ คล้ายกับจดหมายเหตุ เช่น คร่าวร่ำน้ำนอง คร่าวร่ำครัวทานสลากย้อม คร่าวร่ำครูบา    ศรีวิชัย - คร่าวธัมม์ ใช้ในการแต่งเรื่องชาดก ซึ่งมีลักษณะคล้ายเรื่องประเภท จักรๆวงศ์ๆ เพื่ออ่านและ    เล่าสู่กันฟังทั่วไป เช่น หงส์หิน เจ้าสุวัตรนางบัวฅำ ก่ำกาดำ เป็นต้น คร่าว 1 บท มี 3 บาท (3 บรรทัด) บาทละ 4 วรรค โดยในบทเริ่มต้นจะแตกต่างจากบทที่สองและต่อๆไป ผู้แต่งสามารถแต่งคร่าวได้      โดยไม่จำกัดความยาว แต่ในกรณีที่แต่ง คร่าวร่ำ คร่าวใช้ และ คร่าวธัมม์ หรือ วรรณกรรมชาดก           ที่นำมาแต่งด้วยคร่าวนั้น มักจะลงท้ายด้วยโคลงสอง


ตัวอย่างค่าวบทที่ 1 “ สะหลียินดี หมู่พี่หมู่น้อง ที่มาอ่านถ้อง ค่าวซอเป๋นสาย หลายเมืองแท้นั้น เมืองน่านมาก๋าย เชียงใหม่เชียงราย มาร่วมสืบสร้าง ตึงแม่ฮ่องสอน เมืองแพร่เคียงข้าง เชิญชวนหมู่เฮา พร้อมพรัก ”

ตัวอย่างค่าวบทที่ 2 “ ลำพูนลำปาง ก็ว่างมาทัก พะเยาร่วมเข้า มาไจ มาแต่งค่าวจ๊อย ม่วนงันหัวใจ๋ เชิญมาทางใน หมั่นแวะหมั่นเข้า ค่าวซอของเฮา ตึงดีแท้เจ้า มาเต๊อะเชิญมา ช่วยค้ำ ”


การแต่งค่าวแบบง่าย ( ค่าว 7 บรรทัด )


สะหลียินดี ปี้น้องตังหลาย บ่ว่าหญิงจาย บ่าวจี๋บ่าวหน้อย
เรียงกั๋นเข้ามา เป็นสายเป๋นถ้อย ป้อหนาน ป้อหน้อยก็มา
เจิญเลยเน้อนะเจ้า วงศ์ญาติก๋า แต่งค่าวส่งมา ติยากล่าวแจ้ง
ส่งมานัก ๆ ข้าบ่ได้แคล้ง จ่มว่าหื้ออันใด


" คดมาตั้งเพ้ อย่าฟั่งถอยไกล๋ จักตกขันได ปะใส่หมาหน้อย ปะใส่หมาหน้อย"
ก็ขอเจิญจวน ป้อแม่น้องสาวคำสร้อย หื้อมาผ่อกอย พ่องเต๊อะ
คนแต่งบ่เป๋น ตึงมีป่าเล้อะ มาเต๊อะแวะเข้า มาไจ

อันคนแต่งนั้น ตึงบ่ไปไหน อยู่ต๋ามคันได ใกล้ใกล้แถวหนี้
มาเต๊อะเชิญมา บ่สับปะหลี้ มาอ่านมาฟัง ค่าวนี้
ข้าเจ้าขอกล่าว ขอจ๋ากล่าวจี้ ฮักในค่าวสร้อย เนอนาย
เข้ามาเมื่อเจ๊า จ๋นฮอดถึงขวาย และผ่านเลยไป เมื่อแลงแล้วเจ้า.....


" ดีใจ๋แท้ทัก บรรจงเอิ้นถาม อู้มาเป็นกำ เรื่องแต่งค่าวสร้อย
ข้าเจ้าละอ่อน ผญายังน้อย ฮักในค่าวซอ เจ้นล้ำ
ผ่อไปตางใด ไผบ่ช่วยก๊ำ กลั๋วว่าค่าวสร้อย หายไป
ลองแต่งผ่อนั้น เอาหื้อสหาย อ่านแล้วคำจาย ใช้ได้ว่าอั้น
ข้าเจ้าได้แต่งแหม บ่มีขีดขั้น ตึงญิงตึงจาย ช่วยค๊ำ
เมื่อแต่งแล้วหนา เปิ้นว่าเก่งล้ำ อยากสอนคนเข้า มาไจ
แต่งค่าวกั๋นเต๊อะ ขอหื้อขะไจ๋ แต่งค่าวออกไป ม่วนงันเน้อเจ้า.."


แนะนำการแต่งค่าวแบบง่าย ( ค่าว 7 บรรทัด )

การแต่งค่าวของโบราณนานมาในภาษาล้านนา( ตั๋วเมือง )วรรณกรรมล้านนา( ค่าว ) และดนตรีล้านนา
“ การแต่งค่าว“ ครูที่สอนภาษาไทยหรือแต่งกลอนเป็น
ถ้าประสงค์จะหัดแต่งค่าวเพื่อเป็นการสืบเจตนารมณ์ของ
พญาพรหมโวหารซึ่งสังคมได้ยกย่องให้ท่านเป็นบิดาของการแต่งค่าว

การแต่งค่าวแบบง่าย

ความหมายของค่าว

1.ค่าวคืออะไร

“ ค่าว “ หมายถึงคำประพันธ์ที่มีลักษณะร้อยสัมผัสสอดเกี่ยวกันไป ( แบบร่าย )
และจบลงด้วยโคลงสองหรือโคลงสามสุภาพ มีหลายชนิดคือ
เรื่องที่ปรากฏในเทศนาธรรม เรียกว่า “ ค่าวธรรม “
ถ้าแต่งเป็นจดหมายรักเรียกว่า “ ค่าวใช้ “
ถ้านำไปอ่านเป็นทำนองเสนาะเรียกว่า
“ค่าวซอ “หรือ”เล่าค่าว “ และ   
ถ้าหากเป็นการขับลำนำตอนไปแอ่วสาวเรียกว่า “จ๊อย”
แม้ชาวบ้านทีพูดคล้องจองกันเรียกว่า “อู้เป็นค่าวเป็นเครือ “


2. คุณสมบัติของนักแต่งค่าว มีดังนี้

     1 ) มีใจรักในการแต่งค่าวและเป็นคนละเอียดอ่อน

     2 ) ถ้าแต่งกลอนเป็น จะแต่งค่าวได้ง่ายขึ้น

     3 ) รู้ฉันทลักษณ์ สัมผัส และเสียงวรรณยุกต์ของค่าว

     4 ) แยกเสียงโทและเสียงตรีออก จะทำให้แต่งค่าวได้ไพเราะยิ่งขึ้น


3.สำนวนค่าว มี 3 ส่วน คือ บทขึ้นต้น , บทดำเนินเรื่อง และบทสุดท้าย


4. ฉันทลักษณ์ของค่าว มีดังนี้

     1 ) ค่าว 1 บท มี 3 บาท ( 3 บรรทัด ) บาทละ 4 วรรค

     2 ) สามวรรคแรกมี 4 คำ ส่วนวรรคที่สี่ มี 2 – 4 คำ

     3 ) บังคับเสียงวรรณยุกต์สามัญ , โท , ตรี และจัตวา

     4 ) การส่งสัมผัสประกอบด้วย สัมผัสระหว่างวรรคและสัมผัสระหว่างบาท

           สัมผัสระหว่างวรรคส่งจากวรรคท้ายวรรคที่สอง ไปยังคำท้ายวรรคที่สามของทุกบาท

     5 ) บังคับเสียงวรรณยุกต์สามัญ , โท , ตรี และจัตวา ตามตำแหน่งที่กำหนด


5. ผังค่าวแบบง่าย ( 7 บรรทัด )

     ( บทขึ้นต้น )

OOOO OOOO OOOO OOOO

OOOO OOOO OOOO OOOO

OOOO OOOO OOOO OO

    ( บทดำเนินเรื่อง - จะมีกี่บทก็ได้ )

OOOO OOOO OOOO OO

OOOO OOOO OOOO OOOO ( เหมือนบรรทัดที่ 2 )

OOOO OOOO OOOO OO ( เหมือนบรรทัดที่ 3 )

      ( บทสุดท้าย )

OOOO OOOO OOOO OO(OO )



การแต่งค่าวบทขึ้นต้น

    บทขึ้นต้น หรือ บทที่ 1 มี 3 บาท ( 3 บรรทัด ) บาทละ 4 วรรค

     2.1 ผังค่าว ( บทที่ 1 )

OOOO OOOO OOOO OOOO

OOOO OOOO OOOO OOOO

OOOO OOOO OOOO OO

      2.2 การสัมผัส

            * ตัวอย่าง

“ สะหลียินดี หมู่จุมพี่น้อง ที่มาอ่านถ้อง ค่าวซอเป๋นสาย

หลายเมืองแท้นั้น เมืองน่านมาก๋าย เชียงใหม่เชียงราย มาร่วมสืบสร้าง

ตึงแม่ฮ่องสอน มาช่วยก่อตั้ง เชิญชวนหมู่เฮา พร้อมพรัก ”

            * การสัมผัสมีดังนี้

             1 ) ( น้อง ) ในบรรทัดที่หนึ่ง สัมผัสกับ ( ถ้อง ) ในบรรทัดที่หนึ่ง

                   ( สาย ) ในบรรทัดที่หนึ่ง สัมผัสกับ ( ก๋าย ) ในบรรทัดที่สอง

              2 ) ( ก๋าย ) บรรทัดที่สอง สัมผัสกับ ( ราย ) ในบรรทัดที่สอง

              3 ) ( สร้าง ) บรรทัดที่สอง สัมผัสกับ ( ตั้ง ) ในบรรทัดที่สาม

         2.3 การบังคับวรรณยุกต์ - ดังตัวอย่างต่อไปนี้

“ สะหลียินดี หมู่จุมพี่น้อง ที่มาอ่านถ้อง ค่าวซอเป๋นสาย

หลายเมืองแท้นั้น เมืองน่านมาก๋าย เชียงใหม่เชียงราย มาร่วมสืบสร้าง

ตึงแม่ฮ่องสอน มาช่วยก่อตั้ง เชิญชวนหมู่เฮา พร้อมพรัก ”

1.( สะหลียินดี ) วรรคหนึ่ง - ไม่บังคับ -

( หมู่จุมพี่น้อง ) วรรคสอง เสียงตรี ( น้อง )

( ที่มาอ่านถ้อง ) วรรคสาม เสียงโท ( ถ้อง )

( ค่าวซอเป๋นสาย ) วรรคสี่ เสียงจัตวา ( สาย )


2.( หลายเมืองแท้นั้น ) วรรคหนึ่ง – บังคับเสียงตรี ( นั้น )

( เมืองน่านมาก๋าย ) วรรคสอง บังคับเสียงจัตวา ( ก๋าย )

( เชียงใหม่เชียงราย ) วรรคสาม บังคับเสียงสามัญ ( ราย )

( มาร่วมสืบสร้าง ) วรรคสี่ บังคับเสียงโท ( สร้าง )


3.( ตึงแม่ฮ่องสอน ) วรรคหนึ่ง - ไม่บังคับ -

( มาช่วยก่อตั้ง ) วรรคสอง บังคับเสียงโท ( ตั้ง )

( เชิญชวนหมู่เฮา ) วรรคสาม บังคับเสียงสามัญ ( เฮา )

( พร้อมพรัก ) วรรคสี่ บังคับเสียงตรี ( พรัก )


การแต่งค่าวบทดำเนินเรื่อง

3. 1ผังค่าวบทดำเนินเรื่อง ( บทที่ 2 เป็นต้นไป)

OOOO OOOO OOOO OO

OOOO OOOO OOOO OOOO

OOOO OOOO OOOO OO

3.2 การสัมผัส - ดังตัวอย่างต่อไปนี้

“ ลำพูนลำปาง เมืองแพร่แท้ทัก พะเยาร่วมเข้า มาไจ

มาแต่งค่าวจ๊อย ม่วนงันหัวใจ๋ เชิญมาทางใน หมั่นแวะหมั่นเข้า

ค่าวซอของเฮา ตึงดีแท้เจ้า มาเต๊อะเชิญมา ช่วยค้ำ ”

* การสัมผัส มีดังนี้

1. ( ไจ) บรรทัดที่หนึ่ง สัมผัสกับ ( ใจ๋ ) ในบรรทัดที่สอง

2. ( ใจ๋ ) บรรทัดที่สอง สัมผัสกับ ( ใน ) ในบรรทัดที่สอง

3. ( เข้า ) บรรทัดที่สอง สัมผัสกับ ( เจ้า ) ในบรรทัดที่สาม

3.3 การบังคับวรรณยุกต์ - ดังตัวอย่างต่อไปนี้

“ ลำพูนลำปาง เมืองแพร่แท้ทัก พะเยาร่วมเข้า มาไจ

มาแต่งค่าวจ๊อย ม่วนงันหัวใจ๋ เชิญมาทางใน หมั่นแวะหมั่นเข้า

ค่าวซอของเฮา ตึงดีแท้เจ้า มาเต๊อะเชิญมา ช่วยค้ำ ”

1.( ลำพูนลำปาง )วรรคหนึ่ง - ไม่บังคับ -

( เมืองแพร่แท้ทัก ) วรรคสอง บังคับเสียงตรี ( ทัก )

( พะเยาร่วมเข้า ) วรรคสาม บังคับเสียงโท ( เข้า )

( มาไจ ) วรรคสี่ บังคับเสียงสามัญ ( ไจ )

2.( มาแต่งค่าวจ๊อย ) วรรคหนึ่ง – บังคับเสียงตรี ( จ๊อย )

( ม่วนงันหัวใจ๋ ) วรรคสอง บังคับเสียงจัตวา ( ใจ๋ )

( เชิญมาทางใน ) วรรคสาม บังคับเสียงสามัญ ( ใน )

( หมั่นแวะหมั่นเข้า ) วรรคสี่ บังคับเสียงโท ( เข้า )

3.( ค่าวซอของเฮา ) วรรคหนึ่ง - ไม่บังคับ -

( ตึงดีแท้เจ้า ) วรรคสอง บังคับเสียงโท ( เจ้า )

( มาเต๊อะเชิญมา ) วรรคสาม บังคับเสียงสามัญ ( มา )

( ช่วยค้ำ ) วรรคสี่ บังคับเสียงตรี ( ค้ำ )


การแต่งค่าวบทสุดท้าย

ค่าวบทสุดท้าย ไม่มีฉันทลักษณ์บังคับตายตัว ในตอนท้ายมักจะจบว่า " ก่อนแล "

หรือ" ก่อนแลนายเหย "

* ผังค่าวบทสุดท้าย

OOOO OOOO OOOO OO(OO )
* ตัวอย่าง

“ จบค่าวแนวคำ สุดเสี้ยงเพียงนี้ มอกอี้ขอวางลง ก่อนแลนายเหย. ”

บทที่ 5 ตัวอย่างสำนวนค่าวแบบง่าย

ตัวอย่างสำนวนค่าวแบบง่าย ( ค่าว 7 บรรทัด ) มีดังนี้

* ค่าวสะหลียินดี

“ สะหลียินดี หมู่จุมพี่น้อง ที่มาอ่านถ้อง ค่าวซอเป๋นสาย

หลายเมืองแท้นั้น เมืองน่านมาก๋าย เชียงใหม่เชียงราย มาร่วมสืบสร้าง

ตึงแม่ฮ่อนสอน มาช่วยก่อตั้ง เชิญชวนหมู่เฮา พร้อมพรัก

ลำพูนลำปาง เมืองแพร่แท้ทัก พะเยาร่วมเข้า มาไจ

มาแต่งค่าวจ๊อย ม่วนงันหัวใจ๋ เชิญมาทางใน หมั่นแวะหมั่นเข้า

ค่าวซอของเฮา ตึงดีแท้เจ้า มาเต๊อะเชิญมา ช่วยค้ำ

จบค่าวแนวคำ สุดเสี้ยงเพียงนี้ มอกอี้ขอวางลง ก่อนแลนายเหย. ”



การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก

1. จัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนขนาดเล็ก



- จำนวนนักเรียนแยกตามระดับชั้น – จำนวนครูเทียบต่อเกณฑ์ ต่อชั้นเรียน



-ลักษณะการจัดชั้นเรียน- จำนวนงบประมาณจากภาครัฐและเอกชน - จำนวนอุปกรณ์และเทคโนโลยี - นวัตกรรมจุดเด่นของโรงเรียน - ความต้องการความช่วยเหลือ เป็นต้น



2. โรงเรียนขนาดเล็กทำแผนพัฒนาคุณภาพของตนโดยวิเคราะห์จุดเด่น จุดพัฒนา กำหนดเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนา



บทที่ 1 บทนำ



สภาพทั่วไปของโรงเรียน , วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์,สภาพการจัดการศึกษา

บทที่ 2 ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนขนาดเล็ก, นโยบายของโรงเรียน, โครงสร้างการบริหารจัดการ



โรงเรียนขนาดเล็ก



บทที่ 3 แนวทางการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก ,ยุทธศาสตร์ ,โครงการต่างๆ



3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก



4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก วิเคราะห์จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก ให้มีความสอดคล้องกับความต้องการ เหมาะสมกับสภาพโรงเรียน เหมาะสมกับงบประมาณ โดยมีรูปแบบที่หลากหลาย



ส่วนที่ 1 สภาพปัจจุบันและปัญหา



ความเป็นมา, วัตถุประสงค์,เป้าหมาย,ข้อมูลพื้นฐาน,แนวทางการแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก





ส่วนที่ 2 ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา



บทที่ 3 ยุทธศาสตร์และเงื่อนไขสู่ความสำเร็จ



5. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก นิเทศติดตามการดำเนินการให้การสนับสนุน ประสานงาน ช่วยเหลือ



6. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก สรุปรายงานผลการพัฒนาในหลากหลายองค์ประกอบ ค้นหาโรงเรียนเด่นนำเสนอเป็น BEST PRATICE



7. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก รวบรวมภาพ กิจกรรมของโรงเรียนขนาดเล็ก นำเสนอสรุปรายงาน กำหนดภาพความสำเร็จ กำหนดประเด็นปัญหา และแนวทางการพัฒนาในอนาคต

เขียนโดย กัญจนณัฐ ปัญญาลิขิตกุล ที่ 6:14 ก่อนเที่ยง 0 ความคิดเห็น

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เพลงวัยใส วัดคลองโพธิ์

กัญจนณัฐ ปัญญาลิขิตกุล - เขียนคำ

ท่อน ๑ // - - - ม - ซ - ม - ซ - ม - ม - ม - - - ร - ม - ร - ม - ร - - ร - - - ร

- - - เรา - รัก - เรา - รัก - สาย - ธา - รา - - - เรา - รัก - เรา - รัก - แผ่น - ฟ้า - - กว้าง

- - - ด - ร - ด - ร - ด - ด - ด - - - ล - ด - ล - ด - ล - - ล - -- - -ล

- - - เรา - รัก - เรา - รัก - ดวง - ตา - วัน - - - เรา - รัก - เรา - รัก - ท้อง - ทะ- เล

ท่อน ๑ // - - - เรา - รัก - เรา - รัก - บิ ดา มาร - ดา - - - เรา - รัก - เรา - รัก - ครู อา - จารย์

- - - ด - ร - ด - ร - ด - ด - ด - - - ล - ด - ล - ด - ล - - ล- - - - ล

- - - เรา - รัก - เรา - รัก - ส ถา - บัน - - - เรา - รัก - เรา - รัก - เรา - รวม- ใจ

ท่อน ๒ // - - - ม - ซ ล ม - ซ ล ม - ม - ม - - - ร - ซ ล ร - ซ ล ร - - - ร- - ร
มี ความ รัก มี ความ รัก เสมอ มา มี ความ รัก มี ความ รัก เข้า ใจ กัน

- - - ด - ร ม ด - ร ม ด - ด - ด - - - ล - ด ร ล - ด ร - ล - --ล--ล

มี ความ รัก มี ความ รัก ความ ผูก พัน มี ความ รัก มี ความ รัก ฉัน คือ เธอ

ท่อน ๒ // - - - ม - ซ ล ม - ซ ล ม - ม - ม - - - ร - ซ ล ร - ซ ล  ร - - ร- - - ร

มี ความ รัก มี ความ รัก ภัก ดี รวม มี ความ รัก มี ความ รัก รวม ใจ กัน

- - - ด - ร ม ด - ร ม ด - ด - ด - - - ล - ด ร ล - ด ร ล - - - ล - - -ล

มี ความ รัก มี ความ รัก ภัก ดี ธรรม มี ความ รัก มี ความ รัก ภักดิ์ - รวม- ใจ

ท่อน ๓ // - - - ม - ซ ล ด ม ซ ล ด - ม ม ม - - - ร ซ ล ด ร ซ ล ด ร - - ร - - ร

มี ความ รัก นั้น มี ความ รัก นั้น ดล บัน ดาล มี ความ รัก นั้น มี ความ รัก นั้น ผุก พัน กัน

- - - ด ร ม ซ ด ร ม ซ ด - ด - ด - - - ล ด ร ม ล ด ร ม ล- - - - ล- - ล

- - - มี ความ รัก นั้น มี ความ รัก นั้น - เข้า ใจ กัน - - - มี ความ รัก นั้น มี ความ รัก นั้น ใจ เดียว - กัน

ท่อน ๓ // - - - ม - ซ ล ด ม ซ ล ด - ม ม ม - - - ร ซ ล ด ร ซ ล ด ร - - - ร- - ร

- - - มี ความ รัก แล้ว มี ความ รัก แล้ว - มี ความ ดี - - - มี ความ รัก แล้ว มี ความ รัก แล้ว มี คุณ - ธรรม

- - - ด ร ม ซ ด ร ม ซ ด - ด - ด - - - ล ด ร ม ล ด ร ม ล - - - ล- - ล

- - - มี ความ รัก แล้ว มี ความ รัก แล้ว ไม่ คลาด - แคล้ว กัน - - - มี ความ รัก แล้ว มี ความ รัก แล้ว คลาด แคล้ว - ภัย

ท่อน ๔ // - - ซ ม ร ด ร ม ร ด ร ม ร ม - ม - - ม ร ด ล ด ร ด ล ด ร ด - ร- ร - - ร

- - รัก เรา พัน ผูก ดวง ใจ พัน ผูก ดวง ใจ มี ใจ - ตรง - - กัน รัก เรา พัน ผูก ดวง ใจ พัน ผูก ดวง เข้า ใจ กัน

- - ร ด ล ซ ล ด ล ซ ล ด ล ด - ด - - ด ล ซ ม ซ ล ซ ม ซ ล ซ - ล- ล - - ล

- - รัก เรา ส มัคร ส มาน ส มัคร ส มาน ประ สาน - ใจ - - กัน มา รวม ใจ กัน มา รวม ใจ กัน มา รวม ใจ- รัก

ท่อน ๔ // - - ซ ม ร ด ร ม ร ด ร ม ร ม - ม - - ม ร ด ล ด ร ด ล ด ร ด  ร  - ร - - ร

- - รัก เรา พัน ผูก ดวง ใจ พัน ผูก ดวง ใจ มี ใจ - ตรง - - กัน รัก เรา พัน ผูก ดวง ใจ พัน ผูก ดวง ใจ เข้า ใจ กัน

- - ร ด ล ซ ล ด ล ซ ล ด ล ด - ด - - ด ล ซ ม ซ ล ซ ม ซ ล ซ   ล -  - ล

- - รัก เรา พัน ผูก ดวง ใจ พัน ผูก ดวง ใจ อยู่ ทุก - คืน - - วัน คือ ลม หาย ใจ คือ ลม หาย ใจ คือ ใจ ดวง เดิม


วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ประเพณีการทำขวัญนา




























จากการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านศาสนาและประเพณี ในจังหวัดนครนายก พบว่า มีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าศึกษา คือ นางเอิบ ใจหอม ซึ่งมีอาชีพเป็นหมอขวัญในการทำขวัญนา






ประเพณีการทำขวัญนา
1.ชื่อบุคคล / แหล่งภูมิปัญญา คือ นางเอิบ ใจหอม
2.ที่อยู่ / ที่ตั้งของภูมิปัญญา 70 ม.3 ต.ท่าทราย อ.เมืองฯ จ.นครนายก
3.ประวัติความเป็นมา / องค์ความรู้ของภูมิปัญญา






พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลท่าทรายเป็นที่ราบลุ่มอยู่ติดริมแม่น้ำนครนายก ฤดูฝนจะมีน้ำหลาก ไหลมาจากภูเขา น้ำจะพัดเอาหน้าดินมาท่วมสวนไร่นาจึงทำให้ดินดี อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลุก ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร ทำนา ทำสวน มาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยเฉพาะการทำนา บรรพบุรุษได้ยึดถือประเพณีทำขวัญนาในระยะข้าวตั้งท้อง และทำเป็นประเพณีสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน
4.ความสำคัญ / ประโยชน์ของภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเพณีทำขวัญนาเป็นประเพณีที่ทำสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน ทำให้ผู้ที่มีอาชีพทำนามีขวัญและกำลังใจ เป็นศิริมลคลต่อผืนนาที่เป็นแหล่งทำมาหากิน ผู้ทำสบายใจและมีความหวังว่าผลผลิตจะดีมีกำไรสูง เป็นการเสริมสร้างกำลังใจในการประกอบอาชีพ
5.ขั้นตอน / วิธีการถ่ายทอดความรู้
- จักไม้ไผ่สานเรือนข้าว เสาทำจากไม้ไผ่ 1 ลำ ผ่าเป็น 4 แฉก

- นำไม้จริงเป็นพื้นเรือน เจาะรู 4 รู เสียบลงบนเสาไม้ไผ่ แล้วสานเป็นหลังคาเรือนไทย นำธงกระดาษสีต่างๆ มาตกแต่งบนหลังคาให้สวยงาม

-เตรียมเครื่องอัญเชิญแม่โพสพขึ้นเรือน มีกล้วยน้ำว้า 1 ผล อ้อยท่อนเล็กๆ 1 ท่อน ส้มเขียวหวานหรือส้มโอ 2 -3 กลีบ ถั่วงากวนกับน้ำตาล1 ชิ้น (หรือถั่วตัดก็ได้) บางบ้านมี ข้าวเหนียวแดง ขนมต้มแดงขนมต้มขาวก็ดี มันเทศดิบ 1 หัว แป้งหอม น้ำมันใส่ผม ขวดน้ำเล็กๆ ผูกติดกับเสาเรือน ธูป 3 ดอก เทียน 1 เล่ม ดอกไม้ 3 ดอก ผ้าขาวม้า 1 ผืน ผ้าซิ่น 1 ผืน หวีและกระจก สร้อยทองจริง 1 เส้น ของทุกอย่างวางบนเรือน
-ผู้ทำพิธีต้องเป็นผู้หญิง ทำพิธีคนเดียว แต่งตัวทาแป้ง มีดอกไม้ทัดหู ให้สวยงามทำพิธีในวันศุกร์เวลาใดที่สะดวกในระยะข้าวกำลังตั้งท้อง (ระยะที่แม่โพสพแพ้ท้อง) นำเรือนไทยที่เตรียมไว้ไปปักในนาข้าว แล้วนั่งยองๆ ตั้งนะโม 3 จบ และท่องว่า "แม่โพศรี แม่โพสพ นางนพดารา แม่จันทร์เทวี แม่ศรีสุดา สูมาแม่มา เชิญแม่มาขึ้นบันไดแก้วบันไดทอง อากะ ถายะ อากะ ถาหิ แล้วกู่ดังๆ 3 ครั้ง (วู้ว์.....................วู้ว์.....................วู้ว์.....................) แล้วเอาผ้าขาวม้าโบกเรียก 3 ครั้ง เพื่อเชิญแม่โพสพขึ้นเรือน แม้จะนำข้าวเข้ามาเก็บในยุ้งฉาง ในบ้านก็ต้องกู่เรียกดังๆ 3 ครั้ง เพื่อเชิญแม่โพสพเข้าบ้านมาด้วย หรือถ้าจะนำข้าวขายที่ลานในทุ่งนาเลยก็ต้องกำข้าวไว้ 1 กำแล้วกู่เรียกดังๆ 3 ครั้ง เพื่อเชิญแม่โพสพกลับบ้าน เดี๋ยวแม่โพสพ จะต้องอยู่กลางแดดกลางฝนเพราะไม่มีเรือนข้าวแล้ว
หมายเหตุ มีเรื่องเล่ากันว่า สาเหตุที่ผู้ทำพิธีต้องเป็นผู้หญิงและทำคนเดียวก็เพราะสมัยก่อนมีผู้ชายร่วมทำพิธีด้วย ขณะทำพิธีแม่โพสพปรากฏตัวให้เห็น เมื่อผู้ชายเห็นมีผู้หญิงหน้าตาสวยงามก็พูดจาเกี้ยว ทำให้แม่โพสพโกรธ ตั้งแต่นั้นมาแม่โพสพจึงไม่ปรากฏตัวให้เห็นอีกเลย
การศึกษาเอกสารค้นคว้า สัมภาษณ์ และ เรียบเรียง โดย นางสาว กัญจนณัฐ ปัญญาลิขิตกุล

อุปกรณ์และขั้นตอนการทำอังกะลุง


















จากการที่ได้ศึกษาเรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่น นครนายก และ พบว่า โรงเรียนวัดคลองโพธิ์มีเครื่องดนตรีในวงอังกะลุงที่ชำรุด จำเป็นต้องซ่อมแซม จึงได้ศึกษาอุปกรณ์และขั้นตอนการทำอังกะลุง





การทำอังกะลุงของชาวบ้านของกลุ่มตัวอย่างชาวบ้าน ในหมู่บ้านจังหวัดนครนายก ได้ทำมาเป็นเวลานานโดยทำขึ้นใช้เองและตามที่มีคนมาสั่งทำอยู่เสมอ นอกจากการทำขายเป็นสินค้าแล้วยังรับทำอังกะลุงราว




เพื่อนำไปใช้แสดงดนตรี ปีพาทย์ไทยในงานต่าง ๆ ด้วยส่วนประกอบต่าง ๆ ของอังกะลุง




ราง




ไม้เสา




ไม้ขวาง




กระบอกเลี้ยง




เชือก





ส่วนประกอบที่ใช้ในการทำอังกะลุง มีดังนี้
ลูกเป็นไม้ไผ่โดยการตัดใต้ข้อแล้วทำเป็นปากฉลามเรียกว่าฐาน เหนือข้อขึ้นไปปาดเป็นปากแล้วเจาะรูเพื่อใช้ก้านยึดกับค้น

ก้าน เป็นไม้ไผ่เหลาแบน ๆ ใช้ยึดลูกตีเข้ากับคัน

คัน เป็นไม้ไผ่เหลา กลม ๆ ประกอบใส่รางยึดลูก

ราง เป็นไม้เนื้อแข็ง เจาะรูใส่คันและลูกเพื่อให้ฐานไปปะทะทำให้เกิดเสียง

อุปกรณ์ ที่ใช้ในการทำ มีดังนี้




ไม้ไผ่ ที่ใช้ในการทำอังกะลุงใช้ได้กับไม้ไผ่ทุกชนิด เช่นไม้ไผ่เหลือง ไม้ไผ่บ้าน ไม้ไผ่เลี้ยง ไม้ไผ่ดำ ไม้ไผ่ปล้อง และอื่น ๆ ไม้ไผ่ที่ใช้ทำนับว่าดีที่สุดคือไม้ไผ่ปล้องเพราะเป็นไม้ที่มีข้อยาวไม้ไผ่หนาไม่แตกง่าย การตกแต่งเสียงก็ทำง่ายกว่าไม้ไผ่ชนิดอื่น




สิ่ว นำมาใช้เพื่อเจาะไม้ทำเป็นร่องและรู ไม้ที่ทำรางส่วนมากใช้ไม้ยาง




มีด มีดปลายแหลม มีดมีไว้สำหรับตัดไม้หรือเหลาไม้ให้กลมส่วนมีดปลายแหลมใช้สำหรับตกแต่งเสียงให้ได้ตามต้องการ




กบ ใช้สำหรับไสไม้ที่เป็นรางให้เรียบ




สว่าน ใช้สำหรับเจาะรู




กระดาษทราย ใช้สำหรับขัดลูก ก้าน ค้น และรางให้เรียบ




ตะกั่ว ใช้สำหรับทำลายไม้ที่ลูกโดยการหลุมให้เหลวแล้วนำมาแปะที่ลูกปล่อยให้เย็นแล้วแกะออกก็จะได้ลายไม้




แชลกค์ ใช้สำหรับทาลูกให้มันเงาสวยงาม




สี ใช้สำหรับทา ราง หรือโครงให้สวยงามสีที่ใช้ส่วนมากใช้สีแดง




ฆ้อนและตะปู ใช้สำหรับตีประกอบให้เป็นตัว

วิธีทำอังกะลุง




อังกะลุงที่นิยมทั่วไป ถือว่าเป็นมาตรฐาน ใช้ไม้ไผ่ธรรมชาติ ไม้ไผ่ชนิดนี้เป็นไม้ที่แข็งและบาง ขึ้นเป็นกอเหมือนกับไม้ไผ่ทั่วไปไม่มีหนาม การแยกพันธุ์ปลูก ใช้ซอไม้ที่ขึ้นจากไผ่หรือหน่อขึ้นประมาณ 3-4 เดือนไม้ลำนี้ก็จะแตกใบขึ้น ขุดซอไม้ต้นเอกแต่โคนระวังอย่าให้โดนไม้แตกแล้วตัดสูงจากโคนประมาณ 1 วา เพื่อนำไปปลูก การปลูกให้ห่างปลายไม้ โอนประมาณ 50 องศา จะขึ้นหน่อเร็ว การปลูกในฤดูฝน เมื่อปลูกเป็นแล้ว ก็จะมีหน่อขึ้นมาเรื่อย ๆ เนื้อไม้เป็นลำก็จะเกิดเป็นลายขึ้นมาเป็นจุด ๆ เปรอะไปทั้งลำ บางแห่งคล้ายเอามือไปป้ายไว้ ไม้ยิ่งแก่ลายก็ยิ่งแก่ เป็นสีน้ำตาลไหม้ถ้าสังเกตจะเห็นว่าไม้ชนิดนี้ลายทั้งกิ่งและใบ ปลูกไว้ประมาณ 5 ปี ก็ตัดเอาลำแก่ ๆ ใช้ก่อน ปีต่อ ๆ ไปก็ตัดได้ทุก ปี เพราะหน่อไม้ขึ้นมาแทนเรื่อย ๆ ก่อนตัดดูที่ผิวและลายของไม้ ผิวจะสีเขียวมาแก่ ลายของไม้จะขึ้นเด่นชัดเป็นสีน้ำตาลไหม้
ไม้ชนิดนี้ไม่มีขึ้นในดงป่า และได้สืบถามชาวต่างประเทศ หลายรายที่สนใจอังกะลุงของไทยก็บอกว่าไม่มีในสมัยโบราณ ขอแยกพันธุ์กันไปปลูก เฉพาะนักทำดอกไม้ไฟใช้ทำร่องดังดีมาก คือ ไม้ไผ่ลายซึ่งปลูกไว้ทำอังกะลุง




เมื่อตัดไม้มาแล้ว ก็นำมาตัดเป็นท่อน ๆ ท่อน ละ 1 ปล้องบ้าง และสองปล้องบ้าง ดูว่าจะทำกระบอกเสียงต่ำเสียงสูงได้ดี นำมาวางหรืออบอาบยาให้แห้ง เมื่อผัดไม้ที่มีสีเขียวแห้งแล้ว จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ส่วนของไม้ที่ขึ้นเป็นสีน้ำตาลไม้ก็จะเห็นเด่นชัดสวยงามไม้ไผ่ลายมีผู้ประดิษฐ์ กระเป๋า กล่อง แจกัน ทำที่ใส่โฉนดที่ดิน กล่องใส่ลิ้นปี่ในปี่นอก ปี่ชวา ยังนิยมใช้กันตลอดมา
เมื่อไม้แห้งสนิทก็นำมาปาดปากนอก และในของกระบอกอังกะลุง เพื่อทำเสียงให้สูงหรือต่ำตามบันใดเสียงที่จะต้องการ พร้อมกับทำส่วนล่างของกระบอกให้เป็นขาสองข้าง เพื่อใช้กระทบกับรางให้เกิดเสียงตามเสียงต่าง ๆที่เทียบไว้แล้ว




ราง อังกะลุง ทำด้วยไม้สัก เป็นรูปยาวตามส่วนกระบอกใหญ่ เล็ก ความหนาหรือใหญ่ของไม้สัก 1 นิ้ว มนหัวท้ายเป็นรูป 6 เหลี่ยม เจาะรู 3 รู ตามส่วนของกระบอกเสียง ใหญ่ กลาง เล็ก และเจาะรู อีก 5 รู สำหรับใส่








เสาตั้ง
ไม้ที่ทำเสาอังกะลุงใช้ไม้โมกมัน กลึงกลมเรียว ส่วนโคนย่อเป็นสี่เหลี่ยมเพื่อใส่ไปในรูของรางที่เจาะไว้แล้ว
เมื่อรางและเสาะใส่เสร็จแล้ว ก็ทำกระบอกเสียงมาแขวนโดยทำไม้ขวางบากที่แขวนกระบอกเสียงและบากเสาให้เท่ากับไม้ขวางประกบกัน แล้วเอาเชือกผูกให้แน่น จะผูกสูงหรือต่ำ ให้ขาของอังกะลุงทั้งสองข้างแกว่งอยู่ในรางได้สะดวก แล้วเอาแชลกค์หรือน้ำมันขัดเงา ขัดเงาเมื่อเขย่าของกระบอกทั้งสองข้างจะไปตีการปาดรางทำให้เกิดเสียง ตามที่ได้เทียบเสียงไว้แล้ว อังกะลุงรางหนึ่งจะมี 3 กระบอก เสียงเป็นเสียงเดียวกัน เช่น โดต่ำ โดกลาง โดสูง ไปตามลำดับเสียง (อังกะลุงรางหนึ่งหรืออันหนึ่งเรียกว่าตับ ขลุ่ยก็เรียกว่า เลา ซอก็เรียกว่า คัน เป็นต้น)








ขั้นตอนในการทำอังกะลุงมีดังนี้





1. นำไม้ไผ่มาตากแดดให้แห้งแล้วตัดเป็นท่อน ๆ ทำฐานเสร็จแล้วปาดตกแต่งเสียงโดยการเทียบเสียงกับเครื่องดนตรีไมโลเดียน ถ้าเสียงยังไม่ถูกตามที่ต้องการก็ปาดปากไม้อีกจนกว่าจะได้เสียงถูกต้องตามที่ต้องการเสร็จแล้วขัดด้วยกระดาษทรายให้เรียบแล้วทำลายไม้โดยใช้ตะกั่วหลอมนำมาปะกับไม้ไผ่ปล่อยให้แห้งแล้วแกะออกแล้วนำมาขัดด้วยกระดาษทรายอีกทีหนึ่งเสร็จแล้วทาด้วยแชลกค์ซึ่งเรียกว่า ลูก

2. เจาะ รางไม้ทำเป็นโครง โดยการเอาไม้มาเจาะด้วยสิ่วเป็นร่อง 3 ร่อง แต่ละร่องยาวประมาณ 4.5 , 5.5 และ 7 เซ็นติเมตรตามลำ เพื่อที่จะเอาฐานของลูกใส่ทำให้เกิดเสียง รางนี้จะมีความยาวประมาณ 1 ฟุต กว้าง 1 นิ้ว ที่รางนอกจากเจาะเป็นร่องแล้วยังใช้สว่านเจาะรู อีก 5 รู เพื่อใส่คัน แล้วทาสีเรียกว่าโครง

3. ประกอบลูกเข้าในโครง โดยการใช้ก้านยึดลูกติดกับคันโดยให้ฐานลงไปอยู่ในร่องการประกอบลูกเข้าในโครงนั้นประกอบ 3 ลูก เรียกว่าเป็น 1 ตัว เมื่อประกอบลูกเข้าไปในโครงเรียบร้อยแล้วก็เทียบเสียงอีกครั้งหนึ่งถ้าเสียงไม่ตรงก็ใช้มีดปลายแหลมปาดปากไม้ทำเสียงใหม่จนกว่าจะตรงตามเสียงที่ต้องการ

อังกะลุงที่ใช้ในการเล่นมีเป็นชุด ๆ จะเล่นตัวเดียวไม่ได้เพราะแต่ละตัวหรือแต่ละคู่กับมีเพียงเสียงเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้นจึงเล่นเป็นชุด ชุดหนึ่งจะมี 7 คู่ 9 คู่ 12 คู่ ชุดใหญ่ 12 คู่ ถ้าจะเพิ่มก็เพิ่มเป็นเสียงประกอบต่าง ๆ ได้อังกะลุงที่สมบูรณ์




ประชาชน ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครนายก ส่วนมากเป็นชาวไทย และ มีชาวไทยพวน บ้างในบางหมู่บ้าน




มีการย้ายที่อยู่ ชาวนครนายก ส่วนมากเป็นคนพื้นบ้าน นครนายกโดยกำเนิด การนับถือศาสนา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ส่วนศาสนาอื่นไม่ปรากฏ การศึกษาส่วนใหญ่จบในระดับประถมศึกษา เพราะสภาพสังคมของหมู่บ้านใช้แรงงานคนเป็นส่วนใหญ่ การศึกษาจึงไม่จำเป็น หรือ อาจเป็นเพราะมีกลุ่มตัวอย่างน้อย




จึงไม่พบผู้จบการศึกษาในระดับสูง แต่มีแนวโน้มการส่งบุตรธิดาไปเรียนมากขึ้น
การประกอบอาชีพหลักคือ ทำนา ประชาชนส่วนมากมีที่ดินเป็นของตนเอง มากกว่าเช่าผู้อื่น




การทำอังกะลุง ฃมีขึ้นตอนในการทำ คือ เลือกไม้ ไม้ที่ใช้ทำ จะเป็นไม้ไผ่สีสุก มีผิวเหลืองเลือกลำที่ตรง ไม้จะได้มาจากการปลูก หรือซื้อก็ได้ นำไม้ไผ่มาตัด และทำเป็นรูปร่าง นำไปเข้าราง เป็นตัวอังกะลุง และเทียบเสียงกับเครื่องดนตรีไทย ชนิดไหนก็ได้ ให้ได้เสียงตามต้องการ ถ้าอยากจะให้ ลายไม้สวยงามก็นำไม้ไผ่ไปอบ ทำลายอีกทีหนึ่ง
ปัญหาสำคัญคือปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์ในการทำ เช่นไม้ไผ่หายาก จะต้องหาซื้อในราคาแพงมีคนชำนาญในการเข้ารางเทียบเสียงน้อย ซึ่งจะถ่ายทอดให้ลูกหลานได้ยากเพราะการจะรับถ่ายทอดได้ต้องมีพื้นฐานทางด้านนี้พอสมควรส่วนมากพวกที่ทำได้จะเป็นพวกที่มีอายุสูง สถานภาพทางเศรษฐกิจ มีรายได้เฉลี่ย สมดุลกับรายจ่าย เงินออมน้อยมีลักษณะพอมีพอใช้ลักษณะการทำอังกะลุงเป็นการทำเป็นอุตสาหกรรมในครอบครัว เพราะมีรายได้ไม่พอที่จะจ้างแรงงานภายนอกด้านเงินกู้มีการกู้เงินจากญาติพี่น้อง มากกว่า ธนาคาร หรือพ่อค้าแม่ค้า ความช่วยเหลือของรัฐบาลมีน้อย สิ่งที่ประชาชนต้องการให้ช่วยเหลือถือ ทำให้ชุมชนในจังหวัดนครนายก เจริญยิ่งขึ้น
ค้นคว้าและเรียบเรียงโดย
กัญจนณัฐ ปัญญาลิขิตกุล

วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน 3 ดี










บันทึก กัญจนณัฐ ปัญญาลิขิตกุล



การปรับปรุงพัฒนาโรงเรียน 3 ดี ที่โรงเรียนวัดคลองโพธิ์ ตำบลดงละคร อำเภอเมืองนครนายก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก

เข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน 3 ดี



มาตรฐานห้องสมุดและตัวบ่งชี้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพห้องสมุด โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน



สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๕๒

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ให้ความสำคัญของการพัฒนาห้องสมุดและส่งเสริมการอ่าน ซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องสมุดโรงเรียนอันเป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญในการศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษา ตลอดจนสามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนได้อีกด้วย จึงได้จัดทำมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับบุคลากรทุกคนในโรงเรียนได้ร่วมมือกันดำเนินงานตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยใช้ผลจากการสำรวจข้อมูลการดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในปี ๒๕๕๒ข้อมูลจากงานวิจัยร่วมกับยูเนสโกประเทศไทยเรื่อง รายงานผลการสำรวจข้อมูลการเรียนรู้ข่าวสารผ่านทางห้องสมุดโรงเรียน ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ และเกณฑ์การประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เป็นแนวทางในการจัดทำและเพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานพัฒนาตลอดจนสอดคล้องกับการประเมินคุณภาพของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ดังนั้น มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน จึงมี ๔ หมวด คือ



หมวดที่ ๑ มาตรฐานด้านผู้บริหาร



หมวดที่ ๒ มาตรฐานด้านครู



หมวดที่ ๓ มาตรฐานด้านผู้เรียน



หมวดที่ ๔ มาตรฐานด้านทรัพยากรสารสนเทศ



นอกจากนี้ยังได้กำหนดเกณฑ์การประเมินแนวทางการให้คะแนนไว้ในแต่ละตัวบ่งชี้ทุกมาตรฐาน ผู้ดำเนินงานสามารถตรวจสอบการดำเนินงานของตนเองเพื่อพัฒนาได้ทุกระยะ และสามารถก้าวสู่มาตรฐานที่สูงกว่าเดิมได้หากมีความพร้อมและที่สำคัญที่สุด คือ หากดำเนินงานได้ครบถ้วนก็สามารถสร้าง “ห้องสมุด และบรรยากาศที่ดี ครูบรรณารักษ์ / ครูทำหน้าที่บรรณารักษ์ที่ดี หนังสือที่ดี” ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดและเป็นเป้าหมายตรงกันของผู้ใช้ทุกระดับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิและคณะทำงานทุกท่านที่ได้ระดมพลังปัญญา ความสามารถ ตลอดจนช่วยเหลือในการทดลอง ปรับปรุง และให้ความเห็นเพิ่มเติม จนกระทั่งได้ มาตรฐานห้องสมุด ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การพิจารณาเพื่อการประเมินคุณภาพห้องสมุด ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา สำหรับใช้กับโรงเรียนในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งจะส่งผลให้ห้องสมุดโรงเรียนทุกแห่งได้พัฒนาไปสู่มาตรฐานตาม



ศักยภาพของตนเองและพัฒนาคุณภาพผู้เรียนต่อไป









(คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา)



เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน



กรกฎาคม ๒๕๕๒

มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน

ความสำคัญและความเป็นมา

เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่า การอ่านคือ การเรียนรู้ที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งแม้ว่าเทคโนโลยีจะก้าวไกลไปเพียงใดแต่หากพื้นฐานการอ่านไม่เข้มแข็งก็ไม่อาจก้าวทันความรู้เหล่านี้ได้อย่างลึกซึ้งและกว้างขวาง

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่ในการกำกับ ดูแล บริหารจัดการ พัฒนาโรงเรียนในสังกัด ซึ่งแต่ละโรงเรียนจะมีขนาดและจำนวนนักเรียนแตกต่างกันมีทั้งโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จึงได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้โรงเรียนทุกแห่งพัฒนาห้องสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนและชุมชน เพื่อเป็นการพัฒนาการศึกษาและคุณภาพผู้เรียนให้มีความรอบรู้ ทันเหตุการณ์ เป็นบุคคลที่มีนิสัยรักการอ่านการค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานดังกล่าวประสบผลสำเร็จมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน จึงได้นำข้อมูลจากการสำรวจเรื่องห้องสมุดของสำนักคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน และงานวิจัยร่วมกับยูเนสโกประเทศไทยเรื่อง รายงานผลการสำรวจข้อมูลการเรียนรู้ข่าวสารผ่านทางห้องสมุดโรงเรียน ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ มาจัดทำเป็นมาตรฐาน ทั้งนี้โดยให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาชาติ และสอดคล้องกับการประเมินคุณภาพของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ในขณะเดียวกันได้ระบุวิธีการประเมิน เกณฑ์การประเมิน แนวทางการให้คะแนน ตลอดจนข้อมูลเชิงประจักษ์ไว้ด้วย เพื่อความสะดวกในการประเมินเพื่อพัฒนาตนเอง และสำหรับคณะประเมินจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้โรงเรียนอาจพัฒนาต่อเนื่องให้เต็มที่ตามศักยภาพของตนเองได้โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในฐานเดิมของตน อนึ่งวิธีการประเมินตนเองนั้นสามารถทำได้ทุกระยะของการดำเนินงาน ดังนั้นมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนที่กำหนดจึงเป็นมาตรฐานที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ดำเนินการพัฒนาห้องสมุดในโรงเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งแบ่งเป็น ๔ หมวด คือ



หมวดที่ ๑ มาตรฐานด้านผู้บริหาร



หมวดที่ ๒ มาตรฐานด้านครู



หมวดที่ ๓ มาตรฐานด้านผู้เรียน



หมวดที่ ๔ มาตรฐานด้านทรัพยากรสารสนเทศ



อนึ่งในการจัดทำมาตรฐานครั้งนี้ ได้พิจารณาถึงสภาพความเป็นจริงของการดำเนินงานในโรงเรียน ซึ่งการขับเคลื่อนให้ห้องสมุดมีชีวิตนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับบุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียนเป็นหลักและเพื่อ ประโยชน์ของผู้ดำเนินงานทุกคนในการประเมินคุณภาพจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา (สมศ.) ในขณะเดียวกันสภาพอันพึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนทุกแห่งที่ผู้ใช้มีความเห็น และมีความต้องการตรงกันก็คือ



(๑) มีห้องสมุดและบรรยากาศที่ดี เอื้ออำนวยในการเข้าใช้บริการ



(๒) มีครูบรรณารักษ์ / ครูทำหน้าที่บรรณารักษ์ที่ดี มีความรู้ความเข้าใจ และมีความพร้อมในการให้บริการด้วยอารมณ์อันแจ่มใส



(๓) มีหนังสือที่ดี มีเนื้อหาสอดคล้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีหนังสืออ่านเพิ่มเติมที่มีเนื้อหาสนุกสนาน เพลิดเพลิน ให้ความรู้ในเชิงสร้างสรรค์ ส่งเสริมจินตนาการ จรรโลงสังคม และตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการ

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า หากบุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียนดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียนได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ก็สามารถพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนให้มีลักษณะที่พึงประสงค์ดังกล่าวแล้วข้างต้น



มาตรฐานห้องสมุดและตัวบ่งชี้



มาตรฐานห้องสมุด และตัวบ่งชี้



เพื่อการประเมินคุณภาพห้องสมุดระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน :ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา

หมวดที่ ๑ มาตรฐานด้านผู้บริหาร มี ๓ มาตรฐาน ได้แก่



มาตรฐานที่ ๑ ผู้บริหารมีความสามารถในการบริหารจัดการ

มาตรฐานที่ ๒ ผู้บริหารส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาห้องสมุด มาตรฐานที่ ๓ ผู้บริหารเป็นแบบอย่างในการพัฒนาตนเอง

ตัวบ่งชี้ในแต่ละมาตรฐาน มีดังนี้



มาตรฐานที่ ๑ ผู้บริหารมีความสามารถในการบริหารจัดการ มี ๖ ตัวบ่งชี้



๑.๑ ผู้บริหารจัดให้มีแหล่งเรียนรู้ตามความเหมาะสม



๑.๒ ผู้บริหารมีการกำหนดนโยบาย แผนงาน การดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียน



๑.๓ ผู้บริหารจัดให้มีโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจน



๑.๔ ผู้บริหารจัดให้มีครูทำหน้าที่บรรณารักษ์และบุคลากรดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียน



๑.๕ ผู้บริหารจัดหางบประมาณสำหรับพัฒนาห้องสมุด



๑.๖ ผู้บริหารนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน



มาตรฐานที่ ๒ ผู้บริหารส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาห้องสมุด



มี ๔ ตัวบ่งชี้



๒.๑ ผู้บริหารจัดให้ชุมชนมาใช้บริการห้องสมุดในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง



๒.๒ ผู้บริหารจัดให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน



๒.๓ ผู้บริหารเปิดโอกาสให้ชุมชนเป็นกรรมการงานห้องสมุด



๒.๔ ผู้บริหารสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานและองค์กรอื่น ๆ เพื่อพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน



มาตรฐานที่ ๓ ผู้บริหารเป็นแบบอย่างในการพัฒนาตนเอง มี ๓ ตัวบ่งชี้



๓.๑ ผู้บริหารเข้ารับการอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้าน ห้องสมุดอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง



๓.๒ ผู้บริหารใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนางาน



๓.๓ ผู้บริหารมีนิสัยรักการอ่าน



























หมวดที่ ๒ มาตรฐานด้านครู



๒.๑ ครูบรรณารักษ์ มี ๕ มาตรฐาน ดังนี้



มาตรฐานที่ ๑ ครูบรรณารักษ์มีความสามารถในการดำเนินงานห้องสมุด



มาตรฐานที่ ๒ ครูบรรณารักษ์มีความสามารถในการปฏิบัติงานเทคนิค



มาตรฐานที่ ๓ ครูบรรณารักษ์มีความสามารถในการให้บริการ



มาตรฐานที่ ๔ ครูบรรณารักษ์มีความสามารถในการจัดกิจกรรม



มาตรฐานที่ ๕ ครูบรรณารักษ์มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง



๒.๒ ครูผู้สอน มี ๓ มาตรฐาน ดังนี้



มาตรฐานที่ ๖ ครูผู้สอนมีการใช้ห้องสมุดเพื่อการเรียนการสอน



มาตรฐานที่ ๗ ครูผู้สอนมีการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านแก่นักเรียน



มาตรฐานที่ ๘ ครูผู้สอนมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง



ครูบรรณารักษ์



ตัวบ่งชี้ในแต่ละมาตรฐาน มีดังนี้



มาตรฐานที่ ๑ ครูบรรณารักษ์มีความสามารถในการดำเนินงานห้องสมุด มี ๗ ตัวบ่งชี้



๑.๑ ครูบรรณารักษ์มีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจการพัฒนางานห้องสมุดโรงเรียน ๑.๒ ครูบรรณารักษ์มีการจัดทำแผนงาน / โครงการพัฒนาห้องสมุดที่มีการกำหนด เป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่ชัดเจน



๑.๓ ครูบรรณารักษ์มีการจัดทำแผนงาน / โครงการห้องสมุดที่สอดรับกับแผนกลยุทธ์ ของโรงเรียน ๑.๔ ครูบรรณารักษ์มีการจัดทำโครงสร้างการปฏิบัติงาน (งานบริหารจัดการห้องสมุด งานประชาสัมพันธ์ งานเทคนิค งานบริการ และงานกิจกรรมอย่างครบถ้วน) ๑.๕ ครูบรรณารักษ์มีการจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ ๑.๖ ครูบรรณารักษ์มีการประเมินผลการดำเนินงาน



๑.๗ ครูบรรณารักษ์มีการนำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนางานห้องสมุด



มาตรฐานที่ ๒ ครูบรรณารักษ์มีความสามารถในการปฏิบัติงานเทคนิค มี ๗ ตัวบ่งชี้



๒.๑ ครูบรรณารักษ์จัดให้มีทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับการจัดการเรียน การสอนตามหลักสูตร



๒.๒ ครูบรรณารักษ์จัดให้มีทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาตรงตามความต้องการของผู้ใช้ บริการ



๒.๓ ครูบรรณารักษ์จัดหมวดหมู่ และทำบัตรรายการหรือทำรายการ (ด้วยฐานข้อมูลระบบ คอมพิวเตอร์) ของทรัพยากรสารสนเทศ



๒.๔ ครูบรรณารักษ์ปฏิบัติงานเทคนิคเพื่อเตรียมให้บริการ



๒.๕ ครูบรรณารักษ์ใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บและสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศอย่าง เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน



๒.๖ ครูบรรณารักษ์ใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บและสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศได้ สะดวกต่อการเข้าถึงและใช้บริการ ๒.๗ ครูบรรณารักษ์สำรวจและบำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้ มาตรฐานที่ ๓ ครูบรรณารักษ์มีความสามารถในการให้บริการ มี ๘ ตัวบ่งชี้



๓.๑ ครูบรรณารักษ์จัดทำระเบียบการใช้ห้องสมุดโรงเรียน



๓.๒ ครูบรรณารักษ์จัดทำตารางการใช้ห้องสมุดที่ ชัดเจน



๓.๓ ครูบรรณารักษ์มีการจัดการแนะนำการใช้ห้องสมุด



๓.๔ ครูบรรณารักษ์จัดบริการการอ่าน และการศึกษาค้นคว้า



๓.๕ ครูบรรณารักษ์จัดบริการยืม- คืน



๓.๖ ครูบรรณารักษ์จัดบริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า



๓.๗ ครูบรรณารักษ์จัดบริการเชิงรุกอย่างหลากหลาย



๓.๘ ครูบรรณารักษ์จัดบริการสืบค้นทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์และทางอินเทอร์เน็ต



มาตรฐานที่ ๔ ครูบรรณารักษ์มีความสามารถในการจัดกิจกรรม มี ๓ ตัวบ่งชี้



๔.๑ ครูบรรณารักษ์จัดกิจกรรมห้องสมุดเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้



๔.๒ ครูบรรณารักษ์จัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านอย่างหลากหลาย



๔.๓ ครูบรรณารักษ์จัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านอย่างต่อเนื่อง



มาตรฐานที่ ๕ ครูบรรณารักษ์มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มี ๔ ตัวบ่งชี้



๕.๑ ครูบรรณารักษ์ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และมีนิสัยรักการอ่าน



๕.๒ ครูบรรณารักษ์เข้ารับการอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน อย่างต่อเนื่อง



๕.๓ ครูบรรณารักษ์เป็นสมาชิกสมาคมและหรือชมรมวิชาชีพ ที่เกี่ยวกับห้องสมุด



๕.๔ ครูบรรณารักษ์สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับ การดำเนินงานห้องสมุด



ครูผู้สอน มี ๓ มาตรฐาน ดังนี้



มาตรฐานที่ ๖ ครูผู้สอนมีการใช้ห้องสมุดเพื่อการเรียนการสอน มี ๔ ตัวบ่งชี้



๖.๑ ครูผู้สอนมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการการใช้ห้องสมุดในสาระการเรียนรู้ที่ ตนเองรับผิดชอบ









๖.๒ ครูผู้สอนมีส่วนร่วมในการเสนอหรือคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ



๖.๓ ครูผู้สอนมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้



๖.๔ ครูผู้สอนมีส่วนร่วมในการประเมินผลการใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้



มาตรฐานที่ ๗ ครูผู้สอนมีการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านแก่นักเรียน มี ๗ ตัวบ่งชี้



๗.๑ ครูผู้สอนจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในสาระการเรียนรู้ที่ตนเอง รับผิดชอบอย่างหลากหลาย



๗.๒ ครูผู้สอนจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในสาระการเรียนรู้ที่ตนเอง ตนเองรับผิดชอบอย่างสม่ำเสมอ



๗.๓ ครูผู้สอนประสานความร่วมมือกับครูบรรณารักษ์ในการจัดกิจกรรมส่งเสริม นิสัยรักการอ่าน



๗.๔ ครูผู้สอนประเมินผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน



๗.๕ ครูผู้สอนประเมินผลงานที่เกิดจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของ นักเรียน



๗.๖ ครูผู้สอนรายงานผลการประเมินผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านต่อ ผู้บริหารโรงเรียน



๗.๗ ครูผู้สอนนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนากิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน มาตรฐานที่ ๘ ครูผู้สอนมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มี ๓ ตัวบ่งชี้



๘.๑ ครูผู้สอนใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาการสอนและพัฒนาตนเอง ๘.๒ ครูผู้สอนเข้ารับการประชุม อบรม สัมมนา ศึกษาดูงานด้านห้องสมุดหรือแหล่ง การเรียนรู้ / กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน อย่างน้อย 1 ครั้งต่อปีการศึกษา ๘.๓ ครูผู้สอนมีนิสัยรักการอ่าน









หมวดที่ ๓ มาตรฐานด้านผู้เรียน มี ๒ มาตรฐาน



มาตรฐานที่ ๑ ผู้เรียนมีความสามารถในการรับรู้ เข้าถึง และใช้ประโยชน์จากสารสนเทศ



มาตรฐานที่ ๒ ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียนและมีนิสัยรักการอ่าน



ตัวบ่งชี้ในแต่ละมาตรฐาน มีดังนี้



มาตรฐานที่ ๑ ผู้เรียนมีความสามารถในการรับรู้ เข้าถึง และใช้ประโยชน์จากสารสนเทศมี ๘ ตัวบ่งชี้



๑.๑ ผู้เรียนกำหนดลักษณะและขอบเขตของสารสนเทศที่ต้องการได้



๑.๒ ผู้เรียนค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ



๑.๓ ผู้เรียนตัดสินใจเลือกสารสนเทศที่เข้าถึงได้อย่างถูกต้อง



๑.๔ ผู้เรียนสรุป เรียบเรียงแนวคิดจากสารสนเทศที่ค้นพบได้



๑.๕ ผู้เรียนจัดเก็บ / เผยแพร่สารสนเทศได้



๑.๖ ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้จากการศึกษาค้นคว้าได้



๑.๗ ผู้เรียนมีจิตสำนึกที่ดีในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ



๑.๘ ผู้เรียนมีคุณธรรมและจริยธรรม ในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ



มาตรฐานที่ ๒ ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียนและมีนิสัยรักการอ่าน มี ๕ ตัวบ่งชี้



๒.๑ ผู้เรียนเข้าใช้ห้องสมุดอย่างสม่ำเสมอ



๒.๒ ผู้เรียนยืมหนังสืออย่างสม่ำเสมอ



๒.๓ ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่โรงเรียนจัดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ



๒.๔ ผู้เรียนมีปริมาณการอ่านหนังสือเพิ่มเติมที่เหมาะสมกับระดับชั้น









หมวดที่ ๔ ทรัพยากรสารสนเทศ มี ๒ มาตรฐาน



มาตรฐานที่ ๑ ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุตีพิมพ์



มาตรฐานที่ ๒ ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์



ตัวบ่งชี้ในแต่ละมาตรฐาน



มาตรฐานที่ ๑ ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุตีพิมพ์



๑.๑ ห้องสมุดมีจำนวนหนังสือ หนังสืออ้างอิง วารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร ในปริมาณที่เหมาะสม สอดคล้องกับหลักสูตร และความต้องการของผู้ใช้บริการ ๑.๒ ห้องสมุดมีหนังสือที่สอดคล้องกับหลักสูตรและตอบสนองความเพลิดเพลินจำนวน ๒๐ เล่มขึ้นไปต่อนักเรียนหนึ่งคน



๑.๓ ห้องสมุด มีหนังสืออ้างอิง ๑ เล่ม ต่อนักเรียน ๒๐ คน และมี ๑.๓.๑ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๑ เล่มต่อนักเรียน ๑๐๐ คน



๑.๓.๒ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว ๑ ชุดต่อนักเรียน ๑๐๐ คน (ถ้านักเรียน ๑,๐๐๐ คนขึ้นไปมี ๑๐ ชุด)



๑.๓.๓ เอกสารหลักสูตรสำหรับครู ได้แก่ หลักสูตร และเอกสารประกอบหลักสูตร ครบทุกชั้นทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้



๑.๔ ห้องสมุดมีวารสาร / นิตยสารที่มีการบอกรับเป็นสมาชิกอย่างต่อเนื่อง ๕ ชื่อเรื่องขึ้นไป ๑.๕ มีหนังสือพิมพ์ ๒ ชื่อเรื่องขึ้นไป





















มาตรฐานที่ ๒ ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์ มี ๑ ตัวบ่งชี้



๒.๑ มีวัสดุ สื่อประกอบการเรียนรู้ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ในปริมาณที่ เหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตร และความต้องการของผู้ใช้บริการ ดังนี้



๑. ลูกโลก ๑ ลูก



๒. แผนที่



๓. เกม ๑๐ เกม



๔. ของเล่นเสริมทักษะ ๑๐ ชุด



๕. ชุดภาพพลิก ๕ ชุด



๖. วีดิทัศน์ ๒๐ เรื่อง



๗. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ๕ ชุด (เฉพาะโรงเรียนที่มีคอมพิวเตอร์)



๘. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book)



๙. อินเทอร์เน็ต ๒ ชุดขึ้นไปหรือเหมาะสมกับผู้ใช้บริการ ในห้องสมุด (เฉพาะโรงเรียนที่มีโครงข่ายโทรศัพท์ และคอมพิวเตอร์ใช้ใน ห้องสมุด)









เกณฑ์การประเมินคุณภาพ









พอใช้ (ควรปรับปรุง)



ดี



ดีเยี่ยม



มีคะแนน



น้อยกว่า ๗๐ คะแนน



มีคะแนน



๗๑ - ๘๕ คะแนน



มีคะแนน



มากกว่า ๘๕ คะแนน



เกณฑ์การประเมิน / แนวทางการให้คะแนน





เกณฑ์การประเมิน / แนวทางการให้คะแนน



มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน



หมวดที่ ๑ มาตรฐานด้านผู้บริหาร



มาตรฐาน



ตัวบ่งชี้



เกณฑ์การประเมิน



ข้อมูลเชิงประจักษ์



มาตรฐานที่ ๑ ผู้บริหารมีความสามารถในการบริหารจัดการ



๑.๑ ผู้บริหารจัดให้มีแหล่งเรียนรู้ตามความเหมาะสม



๑. ๑.๑ มีห้องสมุดไว้บริการนักเรียน ครู และบุคลากรภายในโรงเรียน

แนวทางการให้คะแนน



โรงเรียนขนาดเล็ก



- มี ครึ่งห้องเรียน ได้ ๑ คะแนน



- มีห้องสมุด ๑ ห้องเรียน



ได้ ๒ คะแนน



- มีห้องสมุด ๒ ห้องเรียน



ขึ้นไป หรือเป็นอาคารเอกเทศ



ได้ ๓ คะแนน



โรงเรียนขนาดกลาง



- มีห้องสมุด ๑ ห้องเรียน



ได้ ๑ คะแนน



- มีห้องสมุด ๒ ห้องเรียน



ได้ ๒ คะแนน



- มี ๓ ห้องเรียนขึ้นไปหรือเป็นอาคารเอกเทศ ได้ ๓ คะแนน



โรงเรียนขนาดใหญ่



- มีห้องสมุด ๑ - ๒ ห้องเรียน ได้ ๑ คะแนน



- มีห้องสมุด ๓ ห้องเรียน ได้ ๒ คะแนน



- มีห้องสมุด ๔ ห้องเรียนขึ้นไปหรือเป็นอาคารเอกเทศ ได้ ๓ คะแนน



หมายเหตุ



-โรงเรียนขนาดเล็ก จำนวนนักเรียน ๑ – ๓๐๐ คน



(รวมจากขนาดที่ ๑ – ๓ เดิม)



-โรงเรียนขนาดกลาง จำนวนนักเรียน ๓๐๑ – ๑,๔๙๙ คน



(รวมจากขนาด ๔ – ๕ เดิม)



-โรงเรียนขนาดใหญ่ จำนวนนักเรียน ๑,๕๐๐ คนขึ้นไป



(รวมจากขนาดที่ ๖ – ๗ เดิม)



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๑ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๒ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๓ คะแนน



สังเกต



- ห้องสมุด



- อาคารเอกเทศ



- แหล่งเรียนรู้อื่น ๆ



๑.๑.๒ ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม มีสภาพดี และให้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้



แนวทางการให้คะแนน



ห้องสมุดมีลักษณะต่อไปนี้ ให้ข้อละ ๑ คะแนน



๒.๑ เป็นศูนย์กลาง สะดวกต่อการเข้าไปใช้บริการ



๒.๒ มีสภาพดี ได้ ๒ คะแนน



๒.๓ มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๑ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๒ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๓ คะแนน



สังเกต

๑.๑.๓ จัดวัสดุครุภัณฑ์ ทรัพยากรสารสนเทศที่เพียงพอและเหมาะสม



แนวทางการให้คะแนน



มีลักษณะต่อไปนี้ ให้ข้อละ ๑คะแนน



๓.๑ มีวัสดุครุภัณฑ์ เพียงพอกับการใช้บริการ



๓.๒ มีวัสดุครุภัณฑ์ เหมาะสมกับวัยของนักเรียน



๓.๓ มีทรัพยากรสารสนเทศที่เพียงพอกับการใช้บริการ



๓.๔ มีทรัพยากรสารสนเทศเหมาะสมกับวัยของนักเรียน



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๒ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๓ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๔ คะแนน



สังเกต



ทะเบียนหนังสือ / วัสดุ



สัมภาษณ์นักเรียน / ครู



๑.๒ ผู้บริหารมีการกำหนดนโยบาย และแผนงาน การดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียน



๑.๒.๑ มีแผนการพัฒนาห้องสมุดไว้ในแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนเป็นลายลักษณ์อักษร



๑.๒.๒ กำหนดนโยบายการใช้ห้องสมุดเพื่อการจัดการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้



๑.๒.๓ กำหนดนโยบายการใช้ห้องสมุดเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน



แนวทางการให้คะแนน



มี ๑ ข้อ ได้ ๑ คะแนนมี ๒ ข้อ ได้ ๒ คะแนน



มีครบทุกข้อ ได้ ๓ คะแนน



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๑ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๒ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๓ คะแนน



- แผนพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน



- แผนการจัดการเรียนรู้ของกลุ่มสาระฯ ต่างๆ



- แผนกลยุทธ์/แผนปฏิบัติ



ราชการของโรงเรียน



- โครงการต่าง ๆ - แผนภูมิโครงสร้างการ บริหาร



- กิจกรรม /โครงการส่งเสริมให้ครูและนักเรียนรักการ อ่าน



- สถิติการเข้าใช้ห้องสมุด



- มีคำสั่งมอบหมายงานชัดเจน



๑.๓ ผู้บริหารจัดให้มีโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจน



๑.๓.๑ มีการกำหนดโครงสร้าง ระบบการบริหารงานห้องสมุด และคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียน



๑.๓.๒ กำหนดบทบาทหน้าที่ของบุคลากรตามโครงสร้าง และส่งเสริมให้มีการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ ๑.๓.๓ มีการประชุมชี้แจงบทบาทหน้าที่คณะกรรมการเพื่อการบริหารงานห้องสมุด



๑.๓.๔ แต่งตั้งครูที่ทำหน้าที่บรรณารักษ์เป็นคณะกรรมการฝ่ายวิชาการ



แนวทางการให้คะแนน



มี ๑ ข้อ ได้ ๑ คะแนนมี ๒ - ๓ ข้อ ได้ ๒ คะแนน



มีครบทุกข้อ ได้ ๓ คะแนน



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๑ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๒ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๓ คะแนน



- มีคำสั่งมอบหมายงานที่ชัดเจน



๑.๔ ผู้บริหารจัดให้มีครูทำหน้าที่บรรณารักษ์และบุคลากรดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียน



๑.๔.๑ มีการแต่งตั้ง/ มอบหมายครูให้ทำหน้าที่บรรณารักษ์และบุคลากรดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียน ๑.๔.๒ มีการเสริมแรง สร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากรที่ ทำหน้าที่ดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียน



๑.๔.๓ มีการส่งเสริมสนับสนุน และสร้างโอกาสให้บุคลากรที่ทำหน้าที่ดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียนได้รับการพัฒนา



แนวทางการให้คะแนน



มี ๑ ข้อ ได้ ๑ คะแนนมี ๒ - ๓ ข้อ ได้ ๒ คะแนน



มีครบทุกข้อ ได้ ๓ คะแนน



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๑ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๒ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๓ คะแนน



- มีคำสั่งมอบหมายงานที่ชัดเจน



- สัมภาษณ์ สังเกต



- มีหลักฐานการขออนุญาตเข้าร่วมประชุม สัมมนา- มีบัตรสมาชิก



๑.๕ ผู้บริหารจัดหางบประมาณสำหรับพัฒนาห้องสมุด



๑.๕.๑ มีการจัดสรรงบประมาณประจำปีเพื่อสนับสนุนและพัฒนาห้องสมุด



แนวทางการให้คะแนน



๑. จัดสรรงบประมาณประจำปีร้อยละสิบของเงินอุดหนุนได้ ๑ คะแนน



๒. จัดสรรงบประมาณประจำปีร้อยละยี่สิบของเงินอุดหนุนได้ ๒ คะแนน



๓. จัดสรรงบประมาณประจำปีมากกว่าร้อยละยี่สิบของเงินอุดหนุน ได้ ๓ คะแนน



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๑ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๒ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๓ คะแนน



- คำสั่ง



- แผนพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน



- แผนกลยุทธ์/แผนปฏิบัติราชการของโรงเรียน

๑.๖ ผู้บริหารนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน



๑.๖.๑ มีแผนการนิเทศงานห้องสมุด



๑.๖.๒ มีการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล



๑.๖.๓ มีการรายงานผลการดำเนินงานต่อหน่วยงานต้นสังกัด และผู้ที่เกี่ยวข้อง



๑.๖.๔ มีการนำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนา



แนวทางการให้คะแนน



มีลักษณะตามตัวบ่งชี้ให้ข้อละ ๑ คะแนน



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๒ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๓ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๔ คะแนน



- แผนการนิเทศ



- หลักฐานการนิเทศ รายงานผล



มาตรฐานที่ ๒ ผู้บริหารส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน



๒.๑ ผู้บริหารให้ชุมชนมาใช้บริการห้องสมุดในการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาตนเอง



๒.๒ ผู้บริหารจัดให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน ๒.๓ ผู้บริหารเปิดโอกาสชุมชนร่วมเป็นกรรมการงานห้องสมุด ๒.๔ ผู้บริหารสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานและองค์กรอื่นๆเพื่อพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน



แนวทางการให้คะแนน



มีลักษณะตามตัวบ่งชี้ให้ข้อละ ๑ คะแนน



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๒ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๓ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๔ คะแนน



สังเกต



สัมภาษณ์



ภาพถ่าย



มาตรฐานที่ ๓ ผู้บริหารเป็นแบบอย่างในการพัฒนาตนเอง



๓.๑ ผู้บริหารเข้ารับการอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน แลก เปลี่ยน ประสบการณ์ด้านห้องสมุดอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง



๓.๒ ผู้บริหารใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนางาน



๓.๓ ผู้บริหารมีนิสัยรักการอ่าน



แนวทางการให้คะแนน



มีลักษณะตามตัวบ่งชี้ให้ข้อละ ๑ คะแนน



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๑ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๒ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๓ คะแนน



- เกียรติบัตร



- หลักฐานการเข้าร่วมประชุม สัมมนา



- หนังสือ



- สถิติการยืม-คืนหนังสือ



- บันทึกการอ่าน



- สังเกต สัมภาษณ์



หมวดที่ ๒ มาตรฐานด้านครู



๒.๑ ครูบรรณารักษ์



มาตรฐาน



ตัวบ่งชี้



เกณฑ์การประเมิน



ข้อมูลเชิงประจักษ์



มาตรฐานที่ ๑ ครูบรรณารักษ์มีความสามารถในการดำเนิน งานห้องสมุด



๑.๑ ครูบรรณารักษ์มีการกำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน



๑.๒ ครูบรรณารักษ์มีการจัดทำแผนงาน/โครงการพัฒนาห้องสมุด ที่มีการกำหนดเป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่ชัดเจน



๑.๓ ครูบรรณารักษ์มีการจัดทำแผนงาน/โครงการพัฒนาห้องสมุดที่สอดรับกับแผนกลยุทธ์ของโรงเรียน



๑.๔ ครูบรรณารักษ์มีการกำหนดโครงสร้างการปฏิบัติงาน(งานบริหารจัดการห้องสมุด งานประชาสัมพันธ์ งานเทคนิค งานบริการ และงานกิจกรรม) อย่างครบถ้วน



๑.๕ ครูบรรณารักษ์มีการจัดสถานที่ สภาพแวดล้อม และบรรยากาศห้องสมุดให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้



๑.๖ ครูบรรณารักษ์มีการประเมินผลการดำเนินงาน



๑.๗ มีครูบรรณารักษ์การนำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนาห้องสมุด













































แนวทางการให้คะแนน



มีลักษณะตามตัวบ่งชี้ให้ข้อละ ๑ คะแนน



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๔ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๕ - ๖ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๗ คะแนน







































- แผนพัฒนางานห้องสมุด- สถิติการใช้บริการ



- แผ่นพับประชาสัมพันธ์



- สังเกตสภาพแวดล้อม



- แบบประเมินงาน / ผลการดำเนินงาน



- ข้อมูลแสดงการนำผลการประเมินมาใช้พัฒนาต่อไป



มาตรฐานที่ ๒ ครูบรรณารักษ์มีความสามารถในการปฏิบัติงานเทคนิค



๒.๑ ครูบรรณารักษ์จัดให้มีทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร



๒.๒ ครูบรรณารักษ์จัดให้มีทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาตรงตามความต้องการของผู้ใช้บริการ



๒.๓ ครูบรรณารักษ์จัดหมวดหมู่ และทำบัตรรายการหรือทำรายการ (ด้วยฐานข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์) ของทรัพยากรสารสนเทศ



๒.๔ ครูบรรณารักษ์ปฏิบัติงานเทคนิคเพื่อเตรียมให้บริการ



๒.๕ ครูบรรณารักษ์ใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บและสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศอย่างเหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน



๒.๖ ครูบรรณารักษ์ใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บและสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศได้สะดวกต่อการเข้าถึงและใช้บริการ



๒.๗ ครูบรรณารักษ์สำรวจและบำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้



แนวทางการให้คะแนน



มีลักษณะตามตัวบ่งชี้ให้ข้อละ ๑ คะแนน



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๔ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๕ - ๖ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๗ คะแนน



- ทะเบียนทรัพยากรสารสนเทศ



- แผนการจัดหาทรัพยากร- สังเกตระบบการจัดหมวดหมู่การสืบค้น การเข้าถึงสารสนเทศ

มาตรฐานที่ ๓ ครูบรรณารักษ์มีความสามารถในการให้บริการ



๓.๑ ครูบรรณารักษ์จัดทำระเบียบการใช้ห้องสมุดโรงเรียน



๓.๒ ครูบรรณารักษ์มีการจัดทำตารางการใช้ห้องสมุดที่ชัดเจน



๓.๓ ครูบรรณารักษ์มีการแนะนำการใช้ห้องสมุด



๓.๔ ครูบรรณารักษ์จัดบริการการอ่าน และการศึกษาค้นคว้า



๓.๕ ครูบรรณารักษ์จัดบริการยืม - คืน



๓.๖ ครูบรรณารักษ์จัดบริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า



๓.๗ ครูบรรณารักษ์จัดบริการเชิงรุกอย่างหลากหลาย



๓.๘ ครูบรรณารักษ์จัดบริการสืบค้นทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์และทาง อินเทอร์เน็ต



แนวทางการให้คะแนน



มีลักษณะตามตัวบ่งชี้ให้ข้อละ ๑ คะแนน



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๓ คะแนนระดับ ๒ ได้ ๔ - ๖ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๗ - ๘ คะแนน



- ระเบียบการใช้บริการ- ตารางการใช้ห้องสมุด- สถิติการยืม – คืน- สังเกต- สัมภาษณ์



มาตรฐานที่ ๔ ครูบรรณารักษ์มีความสามารถในการจัดกิจกรรม



๔.๑ ครูบรรณารักษ์จัดกิจกรรมห้องสมุดเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้



๔.๒ ครูบรรณารักษ์จัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านอย่างหลากหลาย



๔.๓ ครูบรรณารักษ์จัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านอย่างต่อเนื่อง



แนวทางการให้คะแนน



มีลักษณะตามตัวบ่งชี้ให้ข้อละ ๑ คะแนน



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๑ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๒ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๓ คะแนน



- แผนปฏิบัติงาน



- แผนพัฒนาห้องสมุด



- การประเมินโครงการ



- รูปภาพ



- สรุปโครงการ



- สถิติ



มาตรฐานที่ ๕ ครูบรรณารักษ์มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง



๕.๑ ครูบรรณารักษ์มีการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และมีนิสัยรักการอ่าน



๕.๒ ครูบรรณารักษ์เข้ารับการอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน อย่างต่อเนื่อง



๕.๓ ครูบรรณารักษ์เป็นสมาชิกสมาคมและหรือชมรมวิชาชีพ ที่เกี่ยวกับห้องสมุด



๕.๔ ครูบรรณารักษ์สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการดำเนินงานห้องสมุด



แนวทางการให้คะแนน



มีลักษณะตามตัวบ่งชี้ให้ข้อละ ๑ คะแนน



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๒ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๓ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๔ คะแนน



- บันทึกการรายงานการประชุม



- หลักฐานอื่น ๆ เช่น เกียรติบัตร



- สังเกต สัมภาษณ์



- สถิติการใช้ห้องสมุด



- คำสั่ง หนังสือเชิญ



หนังสือตอบรับ



๒.๒ ครูผู้สอน



มาตรฐาน



ตัวบ่งชี้



เกณฑ์การประเมิน



ข้อมูลเชิงประจักษ์



มาตรฐานที่ ๖ ครูผู้สอนมีการใช้ห้องสมุดเพื่อการเรียนการสอน



๖.๑ ครูผู้สอนมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการการใช้ห้องสมุดในสาระการเรียนรู้ที่ตนเองรับผิดชอบ



๖.๒ ครูผู้สอนมีส่วนร่วมในการเสนอหรือคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ



๖.๓ ครูผู้สอนมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้



๖.๔ ครูผู้สอนมีส่วนร่วมในการประเมินผลการใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้



แนวทางการให้คะแนน



- ครูร้อยละ ๗๐-๘๐ ปฏิบัติได้ ได้ข้อละ ๑ คะแนน



- ครูร้อยละ ๘๑ – ๙๐ ปฏิบัติได้ ได้ ข้อละ ๒ คะแนน



- ครูร้อยละ ๙๑ – ๑๐๐ ปฏิบัติได้ ได้ข้อละ ๓ คะแนน



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๔ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๕-๘ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๙-๑๒ คะแนน



- แผนการจัดการเรียนรู้



- บันทึกรายงานการประชุม



- ภาพถ่าย



- ป้ายนิทรรศการ ฯลฯ



มาตรฐานที่ ๗ ครูผู้สอนมีการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านแก่นักเรียน



๗.๑ ครูผู้สอนจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในสาระการเรียนรู้ที่ตนเองรับผิดชอบอย่างหลากหลาย



๗.๒ ครูผู้สอนจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในสาระการเรียนรู้ที่ตนเองรับผิดชอบอย่างสม่ำเสมอ



๗.๓ ครูผู้สอนประสานความร่วมมือกับครูบรรณารักษ์ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน



๗.๔ ครูผู้สอนประเมินผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน



๗.๕ ครูผู้สอนประเมินผลงานที่เกิดจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน



๗.๖ ครูผู้สอนรายงานผลการประเมินผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านต่อผู้บริหารโรงเรียน



๗. ๗ ครูผู้สอนมีการนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนากิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน

แนวทางการให้คะแนน



- ครูร้อยละ ๗๐ – ๘๐ ปฏิบัติได้ ได้ข้อละ ๑ คะแนน



- ครูร้อยละ ๘๑ – ๙๐ ปฏิบัติได้ ได้ ข้อละ ๒ คะแนน



- ครูร้อยละ ๙๑ – ๑๐๐ ปฏิบัติได้ ได้ข้อละ ๓ คะแนน



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๗ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๘-๑๔ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๑๕-๒๑ คะแนน



- แผนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน- ผลงานจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน- สังเกต- สัมภาษณ์



มาตรฐานที่ ๘ ครูผู้สอนมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง



๘.๑ ครูผู้สอนใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาการสอนและพัฒนาตนเอง



๘.๒ ครูผู้สอนเข้ารับการประชุม อบรม สัมมนา ศึกษาดูงานด้านห้องสมุดหรือแหล่งการเรียนรู้ / กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน อย่างน้อย 1 ครั้งต่อปีการศึกษา



๘.๓ ครูผู้สอนมีนิสัยรักการอ่าน



แนวทางการให้คะแนน



- ครูร้อยละ ๗๐ - ๘๐ ปฏิบัติได้ ได้ข้อละ ๑ คะแนน



- ครูร้อยละ ๘๑-๙๐ ปฏิบัติได้ ได้ ข้อละ ๒ คะแนน



- ครูร้อยละ ๙๑ – ๑๐๐ ปฏิบัติได้ ได้ข้อละ ๓ คะแนน



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๑ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๒ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๓ คะแนน



- คำสั่ง- ใบประกาศ- รางวัล โล่



- สถิติ



- บันทึกการอ่าน



- สังเกต สัมภาษณ์



- บันทึกการประชุม



หมวดที่ ๓ มาตรฐานด้านผู้เรียน



มาตรฐาน



ตัวบ่งชี้



เกณฑ์การประเมิน



ข้อมูลเชิงประจักษ์



มาตรฐานที่ ๑ ผู้เรียนมีความสามารถในการรับรู้ เข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสารสนเทศ



๑.๑ ผู้เรียนกำหนดลักษณะและขอบเขตของสารสนเทศที่ต้องการได้



๑.๒ ผู้เรียนค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ



๑.๓ ผู้เรียนตัดสินใจเลือกสารสนเทศที่เข้าถึงได้อย่างถูกต้อง



๑.๔ ผู้เรียนสรุป เรียบเรียงแนวคิดจากสารสนเทศที่ค้นพบได้



๑.๕ ผู้เรียนจัดเก็บ / เผยแพร่สารสนเทศได้



๑.๖ ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้จากการศึกษาค้นคว้าได้



๑.๗ ผู้เรียนมีจิตสำนึกที่ดีในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ



๑.๘ ผู้เรียนมีคุณธรรมและจริยธรรม ในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ



แนวทางการให้คะแนน



- นักเรียนร้อยละ ๗๐ - ๘๐ปฏิบัติได้ ได้ข้อละ ๑ คะแนน



- นักเรียนร้อยละ ๘๑ - ๙๐ ปฏิบัติได้ ได้ ข้อละ ๒ คะแนน



- นักเรียนร้อยละ ๙๑ - ๑๐๐ ปฏิบัติได้ ได้ข้อละ ๓ คะแนน



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๘ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๙ - ๑๗ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๑๘ - ๒๔ คะแนน

- สัมภาษณ์ - สังเกต



- ตอบแบบสอบถาม



- รายงาน ชิ้นงาน

มาตรฐานที่ ๒ ผู้เรียนความใฝ่รู้ใฝ่เรียนและมีนิสัยรักการอ่าน



๒.๑ ผู้เรียนเข้าใช้ห้องสมุดอย่างสม่ำเสมอ



๒.๒ ผู้เรียนยืมหนังสืออย่างสม่ำเสมอ



๒.๓ ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่โรงเรียนจัดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ



๒.๔ . ผู้เรียนมีปริมาณการอ่านหนังสือเพิ่มเติมที่เหมาะสมกับระดับชั้น

แนวทางการให้คะแนน ข้อ ๒.๑ – ๒.๓



- นักเรียนร้อยละ ๗๐ - ๘๐ปฏิบัติได้ ได้ข้อละ ๑ คะแนน



- นักเรียนร้อยละ ๘๑ - ๙๐ ปฏิบัติได้ ได้ ข้อละ ๒ คะแนน



- นักเรียนร้อยละ ๙๑ - ๑๐๐ ปฏิบัติได้ ได้ข้อละ ๓ คะแนน



แนวทางการให้คะแนนข้อ ๒.๔



- นักเรียนร้อยละ ๗๐ - ๘๐ ปฏิบัติได้ตามเกณฑ์ขั้นต่ำ



ได้ ๔ คะแนน



- นักเรียนร้อยละ ๘๑ - ๙๐ ปฏิบัติได้ตามเกณฑ์ขั้นต่ำ



ได้ ๕ คะแนน



- นักเรียนร้อยละ ๙๑ - ๑๐๐ ปฏิบัติได้ตามเกณฑ์ขั้นต่ำ



ได้ ๖ คะแนน



ปริมาณการอ่านหนังสือขั้นต่ำ



ประถมศึกษาปีที่๑



- อ่านหนังสือเพิ่มเติมอย่างน้อย คนละ ๑ เล่มต่อปี



ประถมศึกษาปีที่๒



- อ่านหนังสือเพิ่มเติมอย่างน้อย คนละ ๓ เล่มต่อภาคเรียน



ประถมศึกษาปีที่๓



- อ่านหนังสือเพิ่มเติมอย่างน้อย คนละ ๔ เล่มต่อภาคเรียน



ประถมศึกษาปีที่๔



- อ่านหนังสือเพิ่มเติมอย่างน้อย คนละ ๕ เล่มต่อภาคเรียน



ประถมศึกษาปีที่๕



- อ่านหนังสือเพิ่มเติมอย่างน้อย คนละ ๕ เล่มต่อภาคเรียน



ประถมศึกษาปีที่๖



- อ่านหนังสือเพิ่มเติมอย่างน้อย คนละ ๕ เล่มต่อภาคเรียน



มัธยมศึกษาปีที่ ๑



- อ่านหนังสือเพิ่มเติมอย่างน้อย



คนละ๕ เล่มต่อภาคเรียน



มัธยมศึกษาปีที่ ๒



- อ่านหนังสือเพิ่มเติมอย่างน้อย



คนละ๖ เล่มต่อภาคเรียน



มัธยมศึกษาปีที่ ๓



- อ่านหนังสือเพิ่มเติมอย่างน้อย คนละ ๗ เล่มต่อภาคเรียน



มัธยมศึกษาปีที่ ๔



- อ่านหนังสือเพิ่มเติมอย่างน้อย คนละ ๑๐ เล่มต่อภาคเรียน



มัธยมศึกษาปีที่ ๕



- อ่านหนังสือเพิ่มเติมอย่างน้อย คนละ ๑๐เล่มต่อภาคเรียน



มัธยมศึกษาปีที่ ๖



- อ่านหนังสือเพิ่มเติมอย่างน้อย คนละ ๑๐ เล่มต่อภาคเรียน



แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๗ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๘ - ๑๒ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๑๓ - ๑๕ คะแนน



- สังเกต- สัมภาษณ์- สถิติการยืม – คืนหนังสือ



จากห้องสมุด



- สมุดบันทึกการอ่าน



- ร้อยละของนักเรียนที่อ่านหนังสือได้ตามเกณฑ์



- การสมัครเข้าเป็นผู้ช่วยครูบรรณารักษ์



หมวดที่ ๔ ทรัพยากรสารสนเทศ



มาตรฐาน



ตัวบ่งชี้



เกณฑ์การประเมิน



ข้อมูลเชิงประจักษ์



มาตรฐานที่ ๑ ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุตีพิมพ์



๑.๑ ห้องสมุดมีจำนวนหนังสือ หนังสืออ้างอิง วารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร ในปริมาณที่เหมาะสม สอดคล้องกับหลักสูตร และความต้องการของผู้ใช้บริการ



๑. ๒ ห้องสมุด มีหนังสือที่สอดคล้องกับหลักสูตรและตอบสนองความเพลิดเพลินจำนวน ๒๐ เล่ม ขึ้นไปต่อนักเรียนหนึ่งคน



๑.๓ มีหนังสืออ้างอิง ๑ เล่ม ต่อนักเรียน ๒๐ คน และมี



๑.๓.๑ พจนานุกรมฉบับ



ราชบัณฑิตยสถาน ๑ เล่มต่อ นักเรียน ๑๐๐ คน



๑.๓.๒ สารานุกรมไทย



สำหรับเยาวชน ๑ ชุดต่อ



นักเรียน ๑๐๐ คน (ถ้านักเรียน ๑,๐๐๐ คนขึ้นไปมี ๑๐ ชุด)



๑.๓.๓ เอกสารหลักสูตร



สำหรับครู ได้แก่ หลักสูตร



และเอกสารประกอบหลักสูตร ครบทุกชั้นทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้



๑.๔ มีวารสาร/นิตยสารที่มีการบอกรับเป็นสมาชิกอย่างต่อเนื่อง ๕ ชื่อเรื่องขึ้นไป



๑.๕ มีหนังสือพิมพ์ ๒ ชื่อเรื่องขึ้นไป



แนวทางการให้คะแนน



- มีจำนวนน้อยกว่าที่ระบุในตัวบ่งชี้ ได้ข้อละ ๑ คะแนน



- มีจำนวนตามที่ระบุในตัวบ่งชี้ ได้ ข้อละ ๒ คะแนน



- มีจำนวนมากกว่าที่ระบุใน ตัวบ่งชี้ ได้ข้อละ ๓ คะแนน

แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๗ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๘ - ๑๔ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๑๕ - ๒๑ คะแนน

- ทรัพยากรสรสนเทศในห้องสมุด- สังเกต- สัมภาษณ์ผู้ใช้บริการ



- สมุดทะเบียน / รายชื่อวัสดุตีพิมพ์ / วัสดุไม่ตีพิมพ์



มาตรฐานที่ ๒ ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์



๒.๑ ห้องสมุดมีวัสดุ สื่อประกอบการเรียนรู้ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ในปริมาณที่เหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตร และความต้องการของผู้ใช้บริการ เช่น



๑. ลูกโลก ๑ ลูก



๒. แผนที่



๓. เกม ๑๐ เกม



๔. ของเล่นเสริมทักษะ ๑๐ ชุด



๕. ชุดภาพพลิก ๕ ชุด



๖. วีดิทัศน์ ๒๐ เรื่อง



๗. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ๕ ชุด (เฉพาะโรงเรียนที่มีคอมพิวเตอร์)



๘. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book)



๙. อินเทอร์เน็ต ๒ ชุดขึ้นไปหรือเหมาะสมกับผู้ใช้บริการ ในห้องสมุด (เฉพาะโรงเรียนที่มีโครงข่ายโทรศัพท์ และคอมพิวเตอร์ใช้ในห้องสมุด)



แนวทางการให้คะแนน



- มีจำนวนน้อยกว่าที่ระบุในตัวบ่งชี้ ได้ข้อละ ๑ คะแนน



- มีจำนวนตามที่ระบุในตัวบ่งชี้ ได้ ข้อละ ๒ คะแนน



- มีจำนวนมากกว่าที่ระบุใน ตัวบ่งชี้ ได้ข้อละ ๓ คะแนน

แนวทางการประเมิน



ระดับ ๑ ได้ ๗ คะแนน



ระดับ ๒ ได้ ๘ - ๑๔ คะแนน



ระดับ ๓ ได้ ๑๕ - ๒๑ คะแนน



- ทะเบียนทรัพยากร



- สังเกต



- สัมภาษณ์

การสรุปผลการประเมิน



๑. การสรุปผลในแต่ละมาตรฐานย่อยมีการกำหนดเกณฑ์การประเมินไว้ ๓ ระดับ คือ



ระดับ ๑ หมายถึง พอใช้ (ควรปรับปรุง)



ระดับ ๒ หมายถึง ดี



ระดับ ๓ หมายถึง ดีเยี่ยม ๒. การสรุปผลในภาพรวม กำหนดน้ำหนักคะแนนในแต่ละหมวดเท่า ๆ กัน คือ หมวดละ ๒๕ คะแนน โดยการเทียบบัญญัติไตรยางค์จากคะแนนที่ได้ในแต่ละหมวดดังนี้



หมวดที่ ๑ มาตรฐานด้านผู้บริหาร คะแนนเต็ม ๓๓ คะแนน ปรับให้เป็น ๒๕ คะแนนโดยเอาคะแนนที่ได้ คูณด้วย .๗๕๗๕



หมวดที่ ๒ มาตรฐานด้านครู คะแนนเต็ม ๖๕ คะแนน ปรับให้เป็น ๒๕ คะแนนโดยเอาคะแนนที่ได้ คูณด้วย .๓๘๔๖



หมวดที่ ๓ มาตรฐานด้านผู้เรียน คะแนนเต็ม ๓๙ คะแนน ปรับให้เป็น ๒๕ คะแนนโดยเอาคะแนนที่ได้ คูณด้วย .๖๔๑๐



หมวดที่ ๔ มาตรฐานด้านทรัพยากรสารสนเทศ คะแนนเต็ม ๔๒ คะแนน ปรับให้เป็น ๒๕ คะแนนโดยเอาคะแนนที่ได้ คูณด้วย .๕๙๕๒



แล้วนำคะแนนทุกหมวดมารวมกันเทียบกับเกณฑ์ดังนี้



ระดับ ๑ หมายถึง พอใช้ (ควรปรับปรุง) มีคะแนนน้อยกว่า ๗๐ คะแนน



ระดับ ๒ หมายถึง ดี มีคะแนน ๗๑ - ๘๕ คะแนน



ระดับ ๓ หมายถึง ดีเยี่ยม มีคะแนน มากกว่า ๘๕ คะแนน


อาจารย์คมสันต์ สุทนต์ ได้มาเป็นวิทยากรท้องถิ่นสอนดนตรีไทย อังกะลุง เพลง โหมโรงยะวา ที่โรงเรียนวัดคลองโพธิ์ ตำบลดงละคร อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก

ประกาศ
ภาพกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาชีพท้องถิ่น ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552
ที่ โรงเรียนวัดคลองโพธิ์ Click ได้ที่ Link เว็บไซต์ ณ ตำแหน่ง URL ต่อไปนี้

https://cid-8e9581a5ae9c372d.skydrive.live.com/browse.aspx?path=%2f%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b0%e0%b8%a5%e0%b8%b8%e0%b8%87%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%82%e0%b8%9e%e0%b8%98%e0%b8%b4%e0%b9%8c

นางสาว กัญจนณัฐ ปัญญาลิขิตกุล
ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดคลองโพธิ์
ผู้ประกาศประชาสัมพันธ์กิจกรรม

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เพลงปี่ในเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่

บันทึกเรื่อง ในเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่ พระอภัยมณีเป่าปี่กี่ครั้ง
บันทึกเรื่อง ในเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่ พระอภัยมณเป่าปี่กี่ครั้ง
การเป่าปี่ในเรื่องพระอภัยมณี ตามที่ปรากฏในสารบัญมี ๙ ครั้ง แต่เมื่อศึกษารายละเอียดในการเป่าปี่ตลอดทั้งเรื่องมีทั้งหมด ๑๓ ครั้ง เป็นพระอภัยมณีเป่าปี่ ๑๒ ครั้ง และ สินสมุทร เป่าปี่ ๑ ครั้ง



การเป่าปี่ครั้งที่ ๑ ของเรื่องพระอภัยมณี เป็นการเป่าปี่ของพระอภัยมณีครั้งที่ ๑ อยู่ในตอนที่ ๑ พระอภัยมณีกับศรีสุวรรณเรียนวิชา เล่ม ๑ หน้า ๑๐ พระอภัยมณีเป่าปี่ให้พราหมณ์สามนายฟัง

@ พระฟังความพราหมณ์น้อยสนองถาม จึงเล่าความจะแจ้งแถลงไข

อันดนตรีมีคุณทุกอย่างไป ย่อมใช้ได้ดังจินดาค่าบุรินทร์

ถึงมนุษย์ครุฑาเทวราช จตุบาทกลางป่าพนาสิณฑ์

แม้นปี่เราเป่าไปให้ได้ยิน ก็สุดสิ้นโทโสที่โกรธา

ให้ใจอ่อนนอนหลับลืมสติ อันลัทธิดนตรีดีหนักหนา

ซึ่งสงสัยไม่สิ้นในวิญญาณ์ จงนิทราเถิดจะเป่าให้เจ้าฟัง

แล้วหยิบปี่ที่ท่านอาจารย์ให้ เข้าพิงพฤกษาไทรดังใจหวัง

พระเป่าเปิดนิ้วเอกวิเวกดัง สำเนียงวังเวงแว่วแจ้วจับใจฯ

@ ในเพลงปี่ว่าสามพี่พราหมณ์เอ๋ย ยังไม่เคยชมชิดพิสมัย

ถึงร้อยรสบุปผาสุมาลัย จะชื่นใจเหมือนสตรีไม่มีเลย

พระจันทรจรสว่างกลางโพยม ไม่เทียมโฉมนางงามเจ้าพราหมณ์เอ๋ย

แม้นได้แก้วแล้วจะค่อยประคองเคย ถนอมเชยชมโฉมประโลมลาน

เจ้าพราหมณ์ฟังวังเวงวะแว่วเสียง สำเนียงเพียงการเวกกังวานหวาน

หวาดประหวัดสตรีฤดีดาล ให้ซาบซ่านเสียวสดับจนหลับไป

ศรีสุวรรณนั้นนั่งอยู่ข้างพี่ ฟังเสียงปี่วาบวับก็หลับใหล

พระแกล้งเป่าแปลงเพลงวังเวงใจ เป็นความบวงสรวงพระไทรที่เนินทรายฯ


การเป่าปี่ครั้งที่ ๒ ของเรื่องพระอภัยมณี เป็นการเป่าปี่ของสินสมุทร ซึ่งเป็นบุตรพระอภัยมณี มีเพียงครั้งเดียวอยู่ในตอนที่ ๑๒ พระอภัยมณีกับศรีสุวรรณเรียนวิชา เล่ม ๒ หน้า ๑๓๙ พระอภัยมณีพบนางสุวรรณมาลี สินสมุทรเป่าปี่ให้ท้าวสิงหลฟัง

@ กรุงกษัตริย์ตรัสว่าน่าหัวร่อฯ เออก็พอที่หรือพระฤๅษี

วิชาอื่นดื่นไปว่าไม่ดี เรียนแต่ปี่ไปเที่ยวเป่าให้เขาฟัง

เดี๋ยวนี้ปี่มีอยู่หรือไม่เล่า นิมนต์เป่าให้โยมชมคารมมั่ง

ทั้งพวกเหล่าสาวสุรางค์นางชาววัง จะได้ฟังไพเราะเพราะโยคีฯ

@ พระอภัยได้ฟังนั่งชม้อย นางน้อยน้อยแลสบหลบฤๅษี

พอสบเนตรนุชพระบุตรี แกล้งพาทีทำเป็นว่าน่าเสียดาย

ถ้าพบเข้าคราวครั้งยังไม่บวช ไม่พูดอวดปากเปล่าจะเป่าถวาย

นี่ครองศีลสิกขารักษากาย เกรงอบายเบื้องหน้าอนาคต

แม้นท้าวไทจะใคร่ฟังหวังถวิล ว่าให้สินสมุทลาสิกขาบท

เป่าถวายคล้ายครุพอรู้รส กลัวทรงยศจะบรรทมไม่สมประดีฯ

@ กรุงกษัตริย์สรวลสันต์ว่าฉันชอบ แล้วตรัสปลอบสินสมุทรบุตรฤๅษี

ช่างสนใจได้วิชาบิดาดี ช่วยเป่าปี่ให้ฉันฟังบ้างเป็นไร

จะบูชาผ้าต้นกำพลรัต โขมพัตถ์ลายทองอันผ่องใส

สร้อยเสมาปะวะหล่ำแลกำไร โยมจะให้งามงามตามจำนงฯ

@ สินสมุทมุนีฤๅษีเล็ก ประสาเด็กดูของที่ต้องประสงค์

แล้วตอบว่าฉันจะใคร่ได้เครื่องทรง เหมือนที่องค์พระธิดาสารพันฯ

@ องค์ท่านท้าวสาวสุรางค์ต่างหัวร่อ ฤๅษีพ่อก็สำรวลพลอยสรวลสันต์

นางโฉมฉายอายองค์พระทรงธรรม์ ทำเมียงหันเมินยิ้มอยู่พริ้มพรายฯ

@ กรุงกษัตริย์ตรัสว่าอย่าปรารภ มีอยู่ครบเครื่องกษัตริย์จะจัดถวาย

จะขอฟังปี่ให้ใจสบาย ถึงหลับตายไปสักวันไม่พรั่นใจฯ

@ กุมาราลาลุกลงจากแท่น ออกโลดแล่นมากุฎีที่อาศัย

จึงลาศีลทรงภูษาผ้าสไบ ถือปี่ไปยังศาลาหน้าคีรี

ประณตนั่งบังคมบรมนาถ อยู่ริมอาสน์อัยกาตาฤๅษี

ภาวนาอาคมให้ลมดี แล้วเป่าปี่แปลงเพลงวังเวงใจ

ทำแหบหวนครวญว่าสาลิกาแก้ว ค่ำลงแล้วขวัญอ่อนจะนอนไหน

หนาวน้ำค้างพร่างพรมพนมไพร จะหนาวใจสาริกาทุกราตรีฯ

@ กรุงกษัตริย์ฟังปี่ให้วิเวก เอกเขนกนั่งหาวทั้งสาวศรี

ให้วาววับหลับล้มไม่สมประดี ทั้งโยคีผู้เฒ่าพลอยหาวนอน

แกเอนพิงหลับอยู่กับอาสน์ พวกอำมาตย์หลับกลิ้งริมสิงขร

ทั้งพวกไพร่นายเภตราที่สาคร ระเนนหลับเรียบเงียบสำเนียง

ด้วยลมปี่เป่าดังกระทั่งโยชน์ ได้ทราบโสตสิงสัตว์สงัดเสียง

ในคงคาปลาร้ายขึ้นว่ายเรียง ฟังสำเนียงปี่แก้วแจ้วจับใจฯ

@ ฝ่ายนักสิทธิ์บิตุรงค์ทรงสวัสดิ์ เห็นสองกษัตริย์ไสยาสน์ไม่หวาดไหว

ทั้งสาวสวรรค์กัลยาเสนาใน ไม่มีใครฟื้นกายดังวายปราณ

พระเพ่งพิศธิดายุพาพักตร์ ดูน่ารักรูปทรงส่งสัณฐาน

ช่างเปล่งปลั่งยังไม่มีราคีพาน น่าสงสารซบนิ่งไม่ติงกาย

พระเลื่อนองค์ลงจากบัลลังก์อาสน์ หวังสวาทว่าจะโลมนางโฉมฉาย

ครั้นเข้าชิดคิดได้ไม่ใกล้กราย แต่เดินชายชมนางไม่วางตา

พระโอษฐ์เอี่ยมทียมสีลิ้นจี่จิ้ม เป็นลักยิ้มแย้มหมายทั้งซ้ายขวา

ขนงเนตรเกศกรกัลยา ดังเลขาผุดผ่องละอองนวล

ทำไฉนจะได้ดวงสมร ร่วมที่นอนแนบน้องประคองสงวน

แล้วรั้งรักหักใจไม่บังควร ให้ปั่นป่วนกลับมานั่งข้างหลังครูฯ

จึงห้ามสินสมุทรนั้นหยุดปี่ พระโยคีรู้สึกนึกอดสู

จึงว่าปี่ดีจ้านเจียวหลานกู เล่นเอาปู่ม่อยหลับระงับไป

แล้วแลดูผู้คนบนสิงขร ระเนนนิ่งกลาดไม่หวาดไหว

หัวเราะพลางทางว่าสาแก่ใจ ช่างหลับใหลล้มกลิ้งทั้งหญิงชาย

แล้วโยคีตีระฆังดังหง่างเหง่ง เสียงโก่งเก่งก้องหูไม่รู้หาย

สองกษัตริย์รู้สึกนึกละอาย สงสารสายสวาทนั่งบังบิดา

สาวสุรงค์บ้างก็ยังกำลังหลับ เขาปลุกกลับกลิ้งหงายน่าขายหน้า

บ้างละเมอเพ้อเชือนว่าเพื่อนมา กษัตริย์กริ้วกราดตวาดไป

อีเหล่านี้ขี้เซาเบาอยู่หรือ ฉุดข้อมือให้มันตื่นขึ้นจงได้

แล้วเหลียวมาพาทีด้วยชีไพร เพราะสุดใจเจียวปี่ดีจริงจริง

ช่างฉ่ำเฉื่อนเจื้อยแจ้วถึงแก้วหู หลับไม่รู้สึกกายทั้งชายหญิง

แต่แรกไม่ได้ฟังยังประวิง ที่นี้จริงของเจ้าคุณพระมุนี

แล้วจัดได้เครื่องประดับสำรับเก่า มาให้เจ้าสินสมุทรฤๅษี

กุมาราว่าของหมองไม่ดี โปรดเปลี่ยนที่พระธิดามาประทานฯ


การเป่าปี่ครั้งที่ ๓ ของเรื่องพระอภัยมณี เป็นการเป่าปี่ของพระอภัยมณีครั้งที่ ๒ อยู่ในตอนที่ ๑๔ พระอภัยมณีเรือแตก เล่ม ๑ หน้า ๑๖๐ พระอภัยมณีเป่าปี่ นางผีเสื้อขาดใจตาย

@ ฝ่ายพระองค์ทรงเดชเกศกษัตริย์ จึงจบหัตถ์อธิษฐานการกุศล

แล้ววันทาลาศีลพระทศพล เอาเครื่องต้นแต่งองค์อลังการ์

แล้วถือปี่ที่ท่านอาจารย์ให้ แข็งพระทัยออกจากชะวากผา

ขึ้นหยุดยั้งนั่งแท่นแผ่นศิลา ภาวนาอาคมเรียกลมปราณ

แล้วทรงเป่าปี่แก้วให้แจ้วเสียง สอดสำเนียงนิ้วเอกวิเวกหวาน

พวกโยธีผีสางทั้งนางมาร ให้เสียวซ่านซับซาบวาบหัวใจ

แต่เพลินฟังนั่งโยกจนโงกหงุบ ลงหมอบซุบซวนซบสลบไสล

พอเสียงปี่ที่แหบหายลงไป ก็ขาดใจยักษ์ร้ายวายชีวาฯ

@ ครั้นฝนหายพรายผีหนีไปหมด พระทรงยศแลดูบนภูผา

เห็นนางไม่ไหวติงนิ่งนิทรา ก็รู้ว่าขาดใจบรรลัยลาญ

จึงปลุกไพร่ให้ตื่นขึ้นทั้วพวก เหมือนหูหนวกเรียกใครก็ไม่ขาน

ต้องทำไปให้รู้ว่านางมาร ถึงแก่การมรณานิคาลัย

แขกฝรั่งทั้งนั้นสำคัญแน่ ลุกขึ้นแลดูยักษ์เห็นตักษัย

ต่างยอนหูให้นำลายนั้นหายไป แล้วอวยชัยชมปี่ช่างดีจริงฯ




การเป่าปี่ครั้งที่ ๔ ของเรื่องพระอภัยมณี เป็นการเป่าปี่ของพระอภัยมณีครั้งที่ ๓ อยู่ในตอนที่ ๑๗

พระอภัยมณีตีเมืองผลึก เล่ม ๑ หน้า ๓๕๑ - ๓๕๒ พระอภัยมณีเป่าปี่จับเจ้าละมานซึ่งมาตีเมืองผลึก

@ พระอภัยไม่พรั่นประหวั่นหวาด สั่งอำมาตย์มูลนายฝ่ายทหาร

แม้นกองทัพหลับใหลเห็นได้การ เปิดทวารออกไปมัดให้รัดรึง

เที่ยวผูกถือมือเท้าพวกบ่าวไพร่ ให้สาใจเหมือนลูกอ่อนลงนอนขึง

แต่นายใหญ่ใส่ถ้วนโซ่ตรวนตรึง เสร็จแล้วจึงพามาใส่ไว้ในกรง

ให้พวกเราเอาขี้ผึ้งผนึกหู คอยนั่งดูธงชัยอย่าไหลหลง

แม้นกองทัพหลับใหลเหมือนใจจง จะโบกธงขึ้นให้เห็นเป็นสำคัญ

พระสั่งพลางทางลุกลงจากอาสน์ มาทรงราชยานหามงามขยัน

ทหารพร้อมห้อมแห่ออกแจจัน ขึ้นบนชั้นเชิงเทินเที่ยวเดินดู

เห็นพหลพลขันธ์พวกฟันเสี้ยม กำแพงเหี้ยมโห่ลั่นสนั่นหู

แต่ล้วนมือถือคันเกาทัณฑ์ธนู สังเกตดูแต่งกายคล้ายเสี้ยวกาง

ทั้งสูงใหญ่ไพร่นายนั้นหลายหมื่น พอแรงปืนถือถนัดไม่ขัดขวาง

พระดูพลบนเชิงเทินดำเนินพลาง พาขุนนางไปประทับที่พลับพลา

ขึ้นทรงนั่งยังที่เก้าอี้เอี่ยม อำมาตย์เฟี้ยมเฝ้าฝ่ายทั้งซ้ายขวา

หยิบปี่แก้วแล้วชูขึ้นบูชา พอลมมาเพลาเพลาทรงเป่าพลัน

เปิดสำเนียงเสียงลิ่วถึงนิ้วเอก หวานวิเวกวังเวงดังเพลงสวรรค์

ให้ขึ้นเฉื่อยเจื่อยแจ้วถึงแก้วกรรณ เหล่าพวกฟันเสี้ยมฟังสิ้นทั้งทัพ

ยืนไม่ตรงลงนั่งยิ่งวังเวก เอกเขนกนอนเคียงเรียงลำดับ

เจ้าละมานหวานทรวงง่วงระงับ ลงล้มหลับลืมกายดังวายปราณฯ


การเป่าปี่ครั้งที่ ๕ ของเรื่องพระอภัยมณี เป็นการเป่าปี่ของพระอภัยมณีครั้งที่ ๔ อยู่ในตอนที่ ๓๐ พระอภัยมณีตีเมืองใหม่ เล่ม ๑ หน้า ๔๑๗ - ๔๑๘ พระอภัยมณีเป่าปี่ห้ามทัพ



@ ฝ่ายองค์พระอภัยตกใจวับ เห็นศึกกลับโอบอ้อมเข้าล้อมหลัง

ข้างพวกเขาเผาเรือเหลือกำลัง ฝ่ายฝรั่งรบรุกมาทุกที

ดูทัพหน้าขวาซ้ายหายไปหมด เขาล้อมรถทรงไว้มิให้หนี

ตกพระทัยในอารมณ์ไม่สมประดี จึงทรงเป่าปี่ห้ามปรามณรงค์

วิเวกหวีดกรีดเสียงสำเนึยงสนั่น คนขยั้นยืนขึงตะลึงหลง

ให้หวิววาบซาบทรวงต่างง่วงงง ลืมณรงค์ครบสู้เงี่ยหูฟัง

พระโหยหวนครวญเพลงวังเวงจิต ให้คนคิดถึงถิ่นถวิลหวัง

ว่าจากเรียนเหมือนนกมาจากรัง อยู่ข้างหลังก็จะแลชะแง้คอย

ถึงยามค่ำย่ำฆ้องจะร้องไห้ ร่ำพิไรรัญจวนหวนละห้อย

โอ้ยามดึกดาวเคลื่อนเดือนก็คล้อย น้ำค้างย้อยเย็นฉ่ำที่อัมพร

หนาวอารมณ์ลมเรื่อยเฉื่อยเฉื่อยชื่น ระรวยรื่นรินรินกลิ่นเกสร

แสนสงสารบ้านเรือนเพื่อนที่นอน จะอาวรณ์อ้างว้างอยู่วังเวง

วิเวกแว่วแจ้วเสียงสำเนียงปี่ พวกโยธีทิ้งทวนชวนเขนง

ลงนั่งโยกโงกหงับทับกันเอง เสนาะเพลงเพลินหลับระงับไป

จังหรีดหริ่งสิงสัตว์สงัดเงียบ เย็นระเยียบย่อมหญ้าพฤกษาไสว

น้ำค้างพรมลมสงัดไม่กวัดไกว ทั้งเพลิงไฟโซมซาบไม่วาบวูฯ




การเป่าปี่ครั้งที่ ๖,๗,และ ๘ ของเรื่องพระอภัยมณี เป็นการเป่าปี่ของพระอภัยมณีครั้งที่ ๕ ๖, และ ๗อยู่ใน ตอนที่ ๓๑ พระอภัยมณีเป่าปี่เรียกนางละเวง เล่ม ๑ หน้า ๔๒๓ พระอภัยมณีเป่าปี่เป่าปี่เรียกนางละเวง รวมเป่าปี่ทั้งหมด ๓ ครั้ง ในการเรียกนางละเวง

๑ @ พระแลตามหวามวับเมื่อลับเนตร ด้วยพระเวทหวังจิตพิสมัย

จะตามโลมโฉมละเวงก็เกรงใจ จะผันแปรแก้ไขฉันใดดี

แล้วนึกได้ในวิชาพฤฒาเฒ่า จะลองเป่าปี่ประโลมนางโฉมศรี

ให้งามสรรพกลับมาได้พาที แล้วทรงปี่เป่าเกี้ยวประเดี๋ยวใจ

ต้อยตะริดติดตี่เจ้าพี่เอ๋ย จะละเลยเร่ร่อนไปนานไหน

แอ้อีอ่อยสร้อยฟ้าสุมาลัย แม้นเด็ดได้แล้วไม่ร้างให้ห่างเชย

ฉุยฉายชื่นรื่นรวยระทวยทอด จะกล่อมกอดกว่าจะหลับกับเขนย

หนาวน้ำค้างพร่างพรมลมรำเพย ใครจะเชยโฉมน้องประคองนวล

เสนาะดังวังเวงเป็นเพลงพลอด เสียงฉอดฉอดชดช้อยละห้อยหวน

วิเวกแว่วแจ้วในใจรัญจวน เป็นความชวนประโลมโฉมวัณฬาฯ




๒ @ ฝ่ายโฉมยงองค์ละเวงฟังเพลงปี่ ให้รอรีรวนเรเสน่หา

คิดกำหนัดอัดอั้นหวั่นวิญญาณ์ นึกนึกน่าจะใคร่ปะพระอภัย

เธอพูดดีปี่ดังฟังเสนาะ จะฉอเลาะลูบต้องทำนองไหน

แม้ถนอมกล่อมกลอกเหมือนดอกไม้ จะชื่นใจน้องยาทุกราตรี

ยิ่งกลับฟังวังเวงเพลงสังวาส ยิ่งหวั่นหวาดวิญญาณ์มารศรี

ตะลึงลืมปลื้มอารมณ์ไม่สมประดี ด้วยเพลงปี่เป่าเชิญให้เพลินใจ

จนลืมองค์หลงรักชักสินธพ กลับมาพบพิศวงด้วยหลงใหล

พระเห็นนางวางปี่ด้วยดีใจ เข้าเคียงใกล้กล่าวประโลมโฉมวัณฬา

ขอเชิญนุชสุดสวาทไปราชรถ อย่าระทดท้อจิตกนิษฐา

นางรู้สึกนึกพรั่นหวั่นวิญญาณ์ กลับชักม้าควบขับไปลับองค์

อ้อมออกทางข้าเขาให้เศร้าจิต แล้วหยุดคิดแค้นใจด้วยใหลหลง

อันลมปี่นี้ละลวยให้งวยงง สุดจะทรงวิญญาณ์รักษาตัว

ถ้าขืนอยู่สู้อีกไม่หลีกเลี่ยง ฉวยพลั้งเพลี่ยงเพลงปี่ต้องมีผัว

จะพลอยพาหน้าน้องให้หมองมัว เหมือนหญิงชั่วชายเกี้ยวประเดี๋ยวใจ

เหลือลำบากยากเย็นด้วยเป็นหญิง จำจะทิ้งกองทัพที่หลับใหล

ไปลังกาอย่าให้มีราคีภัย แล้วจะได้แต่งทหารมาราญรอน

ดำริพลางนางขยับจับพระแสง สะพายแล่งลูกเกาทัณฑ์ถือคันศร

เหน็บกระบี่มีหอกซัดข้างอัสดร แล้วหยุดหย่อนยืนดูหมู่โยธา

ไม่ไหวติงนิ่งหลับระงับเงียบ ยิ่งเย็นเยียบเยือกจิตกนิษฐา

สุดจะช่วยด้วยทัพอัปรา ชลนานองเนตรสังเวชใจ

จะอยู่นานการด่วนจวนจะรุ่ง เขม้นมุ่งมรรคาพฤกษาไสว

ควบอาชาผ่าตรงเข้าพงไพร สังเกตใจจำทางไปกลางคืน

สันโดษเดี่ยวเปลี่ยวเปล่าเสร้าสลด ระทวยทดทุกข์ร้อนถอนสะอื้น

แต่การทัพขับขันสู้กลั้นกลืน อุตส่าห์ขืนขับม้ารีบคลาไคลฯ




๓ @ ฝ่ายองค์พระอภัยวิไลลักษณ์ กำเริบรักร้อนจิตคิดสงสัย

เมื่อเป่าปี่เยาวมาลย์มาเหมือนใจ ครั้นหยุดปี่หนีไปไม่ได้การ

เที่ยวควบม้าหาจบไม่พบปะ สุดที่จะติดตามความสงสาร

เสน่หาอาวรณ์ร้อนรำคาญ เยาวมาลย์แม่จะแฝงไปแห่งไร

หรือหยุดปี่ดีร้ายจะคลายรัก เสียดายนักนึกน่าน้ำตาไหล

จะโลมเล้าเป่าอีกให้อ่อนใจ แม้นมาใกล้เหมือนเมื่อกี้แล้วมิฟัง

พลางบรรเลงเพลงปีระรี่เรื่อย จนเหน็ดเหนื่อยในอารมณ์ไม่สมหวัง

พระศอแสบแหบเครือเหลือกำลัง จึงหยุดยั้งรำพึงคะนึงใน

ที่ปี่เราเป่าอีกจะหลีกเลี่ยง หรือฟังเสียงหลับซบสลบไสล

หรือนิ่มน้องหมองหมางระคางใจ ว่าพี่ไม่ปลุกทัพให้กลับมา

ยิ่งครวญคร่ำรำลึกยิ่งนักรัก ละล้ำละลักเหลียวแลชะแง้หา

ที่รอนราญการศึกไม่ตรึกตรา ด้วยเหตุว่าเวทมนตร์เข่าดลใจ ฯ




การเป่าปี่ครั้งที่ ๙ ของเรื่องพระอภัยมณี เป็นการเป่าปี่ของพระอภัยมณีครั้งที่ ๘ อยู่ในตอนที่ ๓๑ พระอภัยมณีเป่าปี่ปลุกทัพ เล่ม ๑ หน้า ๔๒๔ - ๔๒๕ พระอภัยมณีเป่าปี่ปลุกทัพ



@ จึงคิดว่าอย่าเลยจะปลุกทัพ ให้งามสรรพสิ้นพะวงที่สงสัย

เป็นสำเร็จเสร็จศึกเหมือนนึกไว้ เห็นจะได้เชยชมโฉมวัณฬา

ดำริพลางทางลงแล้วทรงปี่ เรียกโยธีไพร่นายทั้งซ้ายขวา

ให้วาบแว่วแก้วหูรู้วิญญาณ ต่างลืมตาตกใจทั้งไพร่นาย

ลุกขึ้นวิ่งทิ้งเครื่องสรรพาวุธ อุตลุดล้มคว่ำคะมำหงาย

เสียงครึกครื้นคืนพลัดกระจัดกระจาย ต่างวุ่นวายวิ่งพัลวันไปฯ




การเป่าปี่ครั้งที่ ๑๐ ของเรื่องพระอภัยมณี เป็นการเป่าปี่ของพระอภัยมณีครั้งที่ ๙ อยู่ในตอนที่ ๓๕ พระอภัยมณีติดท้ายรถ เล่ม ๑ หน้า ๔๙๘ พระอภัยมณีเป่าปี่เพราะหลงอุบายนางยุพาผกาหลอกให้เป่าปี่สะกดทัพของตนเอง

@ นางยินดีที่ได้สมอารมณ์คิด ด้วยทรงฤทธิ์ร่านรักเป็นหนักหนา

เคารพรับอภิวันท์จำนรรจา พระสัญญาณล้นเหลือลูกเชื่อฟัง

ขอผ่านเกล้าเป่าปี่ขึ้นที่ทัพ ให้คนหลับสิ้นสมอารมณ์หวัง

จะอาสาพาไปเข้าในวัง ตามไปลังกาอยู่เป็นคู่ครองฯ

@ พระฟังคำรำลึกพอนึกได้ ดีพระทัยที่จะชมประสมสอง

หยิบขี้ผึ้งซึ่งเธอทำไว้สำรอง โยนให้ย่องตอดบ้างทั้งธิดา

อันปรอทหยอดหูสู้ไม่ได้ มันเหลวไหลเข้าในหนังในมังสา

แล้วแลดูสุริยนพอสนธยา หยิบปี่มาเป่าเพลงวังเวงใจ

เสียงแจ้วแจ้วแว่วโหวยโหยละห้อย โอ้หอมสร้อยเสาวรสแป้งสดใส

เสาวคนธ์มณฑาสุมาลัย สักเมื่อไรสาวน้อยจะลอยมา

แล้วเป่าเห่เรไรจับใจแจ้ว ค่ำลงแล้วเจ้าจะคอยละห้อยหา

ระหวยหิวหวิววับจับวิญญาณ์ พวกลังกากองทัพต่างหลับไป

ถึงเคยรู้อยู่วันนั้นไม่ทันรู้ พอแว่วหูหวนวับก็หลับใหล

นางยุพานารีก็ดีใจ จึงเชิญให้แต่งองค์ทรงราชา

พระทรงเครื่องเรืองจำรัสดูตรัสเตร็จ ล้วนพลอยเพชรแพรวพราววาวเวหา

ทรงมหามาลัยแล้วไคลคลา มาทรงม้าพระที่นั่งอลังการฯ




การเป่าปี่ครั้งที่ ๑๑ ของเรื่องพระอภัยมณี เป็นการเป่าปี่ของพระอภัยมณีครั้งที่ ๑๐ อยู่ในตอนที่ ๔๔ กษัตริย์สามัคคี เล่ม ๒ หน้า ๑๗๐ พระอภัยมณีเป่าปี่เรียกนางละเวงและกองทัพทั้งหมด

@ จำจะเป่าปี่ลองเรียกน้องรัก ให้ประจักษ์แจ้งความมาตามผัว

ทั้งพวกเราชาวผลึกรู้สึกตัว จะเกรงกลัวลมปี่หลบหนีไป

ดำริพลางทางสั่งให้ยั้งหยุด ทหารจุดคบกระจ่างสว่างไสว

ให้รายรอบขอบป่าพนาลัย คอยรับไพร่พวกเราจะเข้ามา

แล้วแต่งองค์ลงจากม้าที่นั่ง ขึ้นหยุดยั้งอยู่บนเนินเชิงเทินผา

คิดรำพึงถึงลูกสาวเจ้าลังกา หยิบปี่มาเป่าดังเป็นกังวาน

แต่ไม่ให้ไพร่พลผู้คนหลับ ให้วาบวับแว่วเพลงบรรเลงหวาน

วิเวกโหวยโหยไห้อาลัยลาน โอ้ดึกป่านนี้แล้วแก้วกลอยใจฯ

แม่วัณฬานารีศรีสวัสดิ์ จะพรากพลัดไพร่พลไปหนไหน

น้ำค้างย้อยพรอยพรมพนมไพร จะหนาวในทรวงน้องจนหมองนวล

โอ้ยามสามยามนี้เจ้าพี่เอ๋ย พี่เคยกอดน้องประคองสงวน

แม่ยอดหญิงมิ่งขวัญจะรัญจวน เสียดายนวลเนื้ออุ่นละมุนทรวง

เคยไสยาสน์อาสน์อ่อนบรรจถรณ์แท่น มาดินแดนดงรังใช่วังหลวง

ขอเชิญแก้วแววตาสุดาดวง มาชมพวงมาลีด้วยพี่ยา

ล้วนแช่มชื่นแย้มบานทุกก้านกิ่ง ยิ่งคิดยิ่งหวนหอมบนจอมผา

พี่อยู่เดียวเปลี่ยวใจนัยนา แม่วัณฬาหลบแฝงอยู่แห่งไร

จนดาวเคลื่อนเดือนดับยิ่งลับน้อง เห็นแต่ห้องหิมวาพฤกษาไสว

มาหาพี่หน่อยเถิดกลอยใจ จะกล่อมให้บรรทมให้ชมเชย

ถึงยากไร้ไม่มีที่พระแท่น จะกางกอดทอดแขนแทนเขนย

หนาวน้ำค้างพร่างพรมลมรำเพย ใครจะเชยโฉมน้องประคองเคียง

เคยอยู่วังฟังนางสุรางค์เห่ มาฟังเรไรเพราะเสนาะเสียง

วิเวกแว่วแจ้วเจื้อยเรื่อยสำเนียง เสนาะเพียงพิณเพลงบรรเลงลานฯ


การเป่าปี่ครั้งที่ ๑๒ ของเรื่องพระอภัยมณีเป็นการเป่าปี่ของพระอภัยมณีครั้งที่๑๑อยู่ในตอนที่ ๖๑ สังฆราชบาทหลวงเผาเมืองลงกาเล่ม๒หน้า๔๕๖ พระอภัยมณีเป่าปี่จับวลายุดาวายุพัฒน์หัสกันได้

@ ฝ่ายองค์พระอภัยเห็นใกล้ค่ำ จึงวักน้ำลูบปี่อธิษฐาน

เป่าเสียงสูงฝูงคนเหลือทนทาน ก้องกังวานวาบวับเสียวจับใจ

ให้ปลาบปลื้มลืมอื่นบ้างยืนนั่ง โยธาทั้งสามทัพเคลิ้มหลับใหล

แต่องค์พระมังคลาคาดตราไว้ ตกพระทัยวิ่งมาเข้าหาครู

บาทหลวงยังนั่งกินเหล้าเสียงเป่าปี่ ฉวยทองหยิบบีบขยี้เข้าที่หู

ฉุดมังคลาว่าไวไวไปกับกู ออกประตูตะวันตกวิ่งวกวน

ดูม้าช้างต่างหลับเห็นทัพล้อม ตั้งค่ายอ้อมโอบสกัดคิดขัดสน

ข้าบุกป่าฝ่าหนามไปตามจน แต่สองคนด้นเดินเนินบรรพตฯ

@ ฝ่ายศรีสุวรรณสินสมุทรสุดสาคร เจ้ามังกรเจ้ายุขันพร้อมกันหมด

พระกฤษณาสามารถราชโอรส ต่างปิดหูรู้กำหนดหมดด้วยกัน

ครั้นกองทัพหลับสงบพอพลบค่ำ บันไดทำไว้สำหรับทุกทัพขันธ์

ปีนเข้าได้ในกำแพงแจ่มแสงจันทร์ ด้วยเป็นวันเพ็ญบูรณ์เห็นหุ่นกล

คนประจำสำหรับก็หลับอยู่ ต่างพิศดูรู้อุบายเป็นสายสน

มิใช่องค์พงศ์กษัตริย์มันจัดคน สวมรูปกลแขวนรอกร้องหลอกลวง

ต่างจุดไฟเที่ยวส่องทุกห้องหับ หมายจะจับหน่อนาถกับบาทหลวง

เห็นโยธาฝรั่งสิ้นทั้งปวง ถือคันควงขันรอกกรนครอกดังฯ

@ ฝ่ายพระอภัยมณีทรงปี่เป่า เห็นน้องเข้าด่านได้ดังใจหวัง

ยินดีสุดหยุดปี่มีกำลัง ไม่รอรั้งรีบเข้าไปในกำแพงฯ




การเป่าปี่ครั้งที่ ๑๓ ของเรื่องพระอภัยมณี เป็นการเป่าปี่ของพระอภัยมณีครั้งที่ ๑๑อยู่ในตอนที่ ๖๑ พระอภัยมณีเยี่ยมศพนางมณฑา(เมืองผลึก)เล่ม๓หน้า๖๕ พระอภัยมณีเป่าปี่ห้ามปลามิให้หนุนเรือ

@ ฝ่ายพระอภัยในกำปั่น เห็นเงื้อมเงาเขากัลปังหา

ฝูงปลาใหญ่ในน้ำว่ายคล่ำมา ทั้งซ้ายขวาหน้าหลังดั่งคีรี

พวกฝรั่งนั่งยืนยิงปืนสุ้ มันยิ่งพรูกันมาอีกไม่หลีกหนี

กดกำปั่นนั้นจนเปลี้ยจะเสียที่ จึงหยิบปี่เป่าเสียงสำเนียงดัง

ฝูงปลาใหญ่ได้ยินลืมกินเหยื่อ ที่หนุนเรือเคลื่อนคล้อยกลับถอยหลัง

ขึ้นลอยล่องฟ่องฟูเงี่ยหูฟัง วิเวกวังเวงแว่วแจ้วจับใจ

เสียงฉอดฉ่ำร่ำวาเทพารักษ์ ซึ่งสำนักเนินผาชลาไหล

ขอเชิญช่วยด้วยเถิดพระเลิศไกร ให้พ้นภัยผูงปลาในวารี

แล้วเป่าบวงสรวงถวายฉุยฉายเอ๋ย เชิญชมเชยจันทร์จำรัสรัศมี

ดารากรร่อนเร่ในเมฆี จะช่วยชี้ชมดาวสาวสาวเอย

ไม่มีคู่อยู่เดียวเปล่าเปลี่ยวอก ไม่เหมือนกกกอดพระทองนะน้องเอ๋ย

จะชมอื่นคืนกลับลิลับเลย เสียงฉอดฉอดเฉื่อยฉ่ำด้วยน้ำเสียง

ก้องกังวานหวานแว่วแจ้วจำเรียง ส่งสำเนียงนิ้วเอกวังเวกใจฯ


ซึ่งการเป่าปี่ครั้งนี้ใช้เวลานานมากตลอดการเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลประมาณ ๑ เดือนครึ่ง

(เล่ม๓หน้า๗๑)

@ ทั้งสามวงศ์ทรงฟังให้วังเงก เอกเขนกแหงนนิ่งอิงเขนย

ขอเดชะพระพายช่วยชายเชย มารำเพยพัดส่งให้ตรงไป

เป่าทุ้มปี่มิให้คนไพร่พลหลับ พอให้จับจำเรียงส่งเสียงใส

กำปั่นทรงหงส์บัลลังก์ทั้งเรือใช้ สำราญใจไปด้วยกันทุกวันคืน

พระคงคาสาธุพายเงียบ คลื่นราบเรียบลมเรื่อยแล่นเฉื่อยชื่น

มาเดือนหนึ่งจึงค่อยสร่างนภางค์พื้น ในกลางคืนแลเขม้นพอเห็นดาว

เดือนตะวันนั้นไม่เห็นเป็นแต่แสง แดดไม่แข็งคนทั้งหลายไม่หายหนาว

อีกเดือนครึ่งจึงเห็นจันทร์ตะวันวาว ถึงเกาะคังคาวโขดเขาสำเภาทลาย

ถนนขวางกลางสมุทรเสมอน้ำ ไปยังค่ำก็ไม่สิ้นเนินหินหายฯ


หนังสือค้นคว้า

พระอภัยมณี เล่ม ๑ ของสุนทรภู่ ฉบับสมบูรณ์ พิมพ์ครั้งที่สิบหก กรุงเทพมหานคร
สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร ๒๕๔๔

พระอภัยมณี เล่ม ๒ ของสุนทรภู่ ฉบับสมบูรณ์ พิมพ์ครั้งที่สิบหก กรุงเทพมหานคร
สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร ๒๕๔๔

พระอภัยมณี เล่ม ๓ ของสุนทรภู่ ฉบับสมบูรณ์ พิมพ์ครั้งที่สิบหก กรุงเทพมหานคร
สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร ๒๕๔๔

พระอภัยมณี เล่ม ๔ ของสุนทรภู่ ฉบับสมบูรณ์ พิมพ์ครั้งที่สิบหก กรุงเทพมหานคร
สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร ๒๕๔๔

ค้นคว้าและเรียบเรียงโดย นางสาว กัญจนณัฐ ปัญญาลิขิตกุล