วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

อุปกรณ์และขั้นตอนการทำอังกะลุง


















จากการที่ได้ศึกษาเรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่น นครนายก และ พบว่า โรงเรียนวัดคลองโพธิ์มีเครื่องดนตรีในวงอังกะลุงที่ชำรุด จำเป็นต้องซ่อมแซม จึงได้ศึกษาอุปกรณ์และขั้นตอนการทำอังกะลุง





การทำอังกะลุงของชาวบ้านของกลุ่มตัวอย่างชาวบ้าน ในหมู่บ้านจังหวัดนครนายก ได้ทำมาเป็นเวลานานโดยทำขึ้นใช้เองและตามที่มีคนมาสั่งทำอยู่เสมอ นอกจากการทำขายเป็นสินค้าแล้วยังรับทำอังกะลุงราว




เพื่อนำไปใช้แสดงดนตรี ปีพาทย์ไทยในงานต่าง ๆ ด้วยส่วนประกอบต่าง ๆ ของอังกะลุง




ราง




ไม้เสา




ไม้ขวาง




กระบอกเลี้ยง




เชือก





ส่วนประกอบที่ใช้ในการทำอังกะลุง มีดังนี้
ลูกเป็นไม้ไผ่โดยการตัดใต้ข้อแล้วทำเป็นปากฉลามเรียกว่าฐาน เหนือข้อขึ้นไปปาดเป็นปากแล้วเจาะรูเพื่อใช้ก้านยึดกับค้น

ก้าน เป็นไม้ไผ่เหลาแบน ๆ ใช้ยึดลูกตีเข้ากับคัน

คัน เป็นไม้ไผ่เหลา กลม ๆ ประกอบใส่รางยึดลูก

ราง เป็นไม้เนื้อแข็ง เจาะรูใส่คันและลูกเพื่อให้ฐานไปปะทะทำให้เกิดเสียง

อุปกรณ์ ที่ใช้ในการทำ มีดังนี้




ไม้ไผ่ ที่ใช้ในการทำอังกะลุงใช้ได้กับไม้ไผ่ทุกชนิด เช่นไม้ไผ่เหลือง ไม้ไผ่บ้าน ไม้ไผ่เลี้ยง ไม้ไผ่ดำ ไม้ไผ่ปล้อง และอื่น ๆ ไม้ไผ่ที่ใช้ทำนับว่าดีที่สุดคือไม้ไผ่ปล้องเพราะเป็นไม้ที่มีข้อยาวไม้ไผ่หนาไม่แตกง่าย การตกแต่งเสียงก็ทำง่ายกว่าไม้ไผ่ชนิดอื่น




สิ่ว นำมาใช้เพื่อเจาะไม้ทำเป็นร่องและรู ไม้ที่ทำรางส่วนมากใช้ไม้ยาง




มีด มีดปลายแหลม มีดมีไว้สำหรับตัดไม้หรือเหลาไม้ให้กลมส่วนมีดปลายแหลมใช้สำหรับตกแต่งเสียงให้ได้ตามต้องการ




กบ ใช้สำหรับไสไม้ที่เป็นรางให้เรียบ




สว่าน ใช้สำหรับเจาะรู




กระดาษทราย ใช้สำหรับขัดลูก ก้าน ค้น และรางให้เรียบ




ตะกั่ว ใช้สำหรับทำลายไม้ที่ลูกโดยการหลุมให้เหลวแล้วนำมาแปะที่ลูกปล่อยให้เย็นแล้วแกะออกก็จะได้ลายไม้




แชลกค์ ใช้สำหรับทาลูกให้มันเงาสวยงาม




สี ใช้สำหรับทา ราง หรือโครงให้สวยงามสีที่ใช้ส่วนมากใช้สีแดง




ฆ้อนและตะปู ใช้สำหรับตีประกอบให้เป็นตัว

วิธีทำอังกะลุง




อังกะลุงที่นิยมทั่วไป ถือว่าเป็นมาตรฐาน ใช้ไม้ไผ่ธรรมชาติ ไม้ไผ่ชนิดนี้เป็นไม้ที่แข็งและบาง ขึ้นเป็นกอเหมือนกับไม้ไผ่ทั่วไปไม่มีหนาม การแยกพันธุ์ปลูก ใช้ซอไม้ที่ขึ้นจากไผ่หรือหน่อขึ้นประมาณ 3-4 เดือนไม้ลำนี้ก็จะแตกใบขึ้น ขุดซอไม้ต้นเอกแต่โคนระวังอย่าให้โดนไม้แตกแล้วตัดสูงจากโคนประมาณ 1 วา เพื่อนำไปปลูก การปลูกให้ห่างปลายไม้ โอนประมาณ 50 องศา จะขึ้นหน่อเร็ว การปลูกในฤดูฝน เมื่อปลูกเป็นแล้ว ก็จะมีหน่อขึ้นมาเรื่อย ๆ เนื้อไม้เป็นลำก็จะเกิดเป็นลายขึ้นมาเป็นจุด ๆ เปรอะไปทั้งลำ บางแห่งคล้ายเอามือไปป้ายไว้ ไม้ยิ่งแก่ลายก็ยิ่งแก่ เป็นสีน้ำตาลไหม้ถ้าสังเกตจะเห็นว่าไม้ชนิดนี้ลายทั้งกิ่งและใบ ปลูกไว้ประมาณ 5 ปี ก็ตัดเอาลำแก่ ๆ ใช้ก่อน ปีต่อ ๆ ไปก็ตัดได้ทุก ปี เพราะหน่อไม้ขึ้นมาแทนเรื่อย ๆ ก่อนตัดดูที่ผิวและลายของไม้ ผิวจะสีเขียวมาแก่ ลายของไม้จะขึ้นเด่นชัดเป็นสีน้ำตาลไหม้
ไม้ชนิดนี้ไม่มีขึ้นในดงป่า และได้สืบถามชาวต่างประเทศ หลายรายที่สนใจอังกะลุงของไทยก็บอกว่าไม่มีในสมัยโบราณ ขอแยกพันธุ์กันไปปลูก เฉพาะนักทำดอกไม้ไฟใช้ทำร่องดังดีมาก คือ ไม้ไผ่ลายซึ่งปลูกไว้ทำอังกะลุง




เมื่อตัดไม้มาแล้ว ก็นำมาตัดเป็นท่อน ๆ ท่อน ละ 1 ปล้องบ้าง และสองปล้องบ้าง ดูว่าจะทำกระบอกเสียงต่ำเสียงสูงได้ดี นำมาวางหรืออบอาบยาให้แห้ง เมื่อผัดไม้ที่มีสีเขียวแห้งแล้ว จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ส่วนของไม้ที่ขึ้นเป็นสีน้ำตาลไม้ก็จะเห็นเด่นชัดสวยงามไม้ไผ่ลายมีผู้ประดิษฐ์ กระเป๋า กล่อง แจกัน ทำที่ใส่โฉนดที่ดิน กล่องใส่ลิ้นปี่ในปี่นอก ปี่ชวา ยังนิยมใช้กันตลอดมา
เมื่อไม้แห้งสนิทก็นำมาปาดปากนอก และในของกระบอกอังกะลุง เพื่อทำเสียงให้สูงหรือต่ำตามบันใดเสียงที่จะต้องการ พร้อมกับทำส่วนล่างของกระบอกให้เป็นขาสองข้าง เพื่อใช้กระทบกับรางให้เกิดเสียงตามเสียงต่าง ๆที่เทียบไว้แล้ว




ราง อังกะลุง ทำด้วยไม้สัก เป็นรูปยาวตามส่วนกระบอกใหญ่ เล็ก ความหนาหรือใหญ่ของไม้สัก 1 นิ้ว มนหัวท้ายเป็นรูป 6 เหลี่ยม เจาะรู 3 รู ตามส่วนของกระบอกเสียง ใหญ่ กลาง เล็ก และเจาะรู อีก 5 รู สำหรับใส่








เสาตั้ง
ไม้ที่ทำเสาอังกะลุงใช้ไม้โมกมัน กลึงกลมเรียว ส่วนโคนย่อเป็นสี่เหลี่ยมเพื่อใส่ไปในรูของรางที่เจาะไว้แล้ว
เมื่อรางและเสาะใส่เสร็จแล้ว ก็ทำกระบอกเสียงมาแขวนโดยทำไม้ขวางบากที่แขวนกระบอกเสียงและบากเสาให้เท่ากับไม้ขวางประกบกัน แล้วเอาเชือกผูกให้แน่น จะผูกสูงหรือต่ำ ให้ขาของอังกะลุงทั้งสองข้างแกว่งอยู่ในรางได้สะดวก แล้วเอาแชลกค์หรือน้ำมันขัดเงา ขัดเงาเมื่อเขย่าของกระบอกทั้งสองข้างจะไปตีการปาดรางทำให้เกิดเสียง ตามที่ได้เทียบเสียงไว้แล้ว อังกะลุงรางหนึ่งจะมี 3 กระบอก เสียงเป็นเสียงเดียวกัน เช่น โดต่ำ โดกลาง โดสูง ไปตามลำดับเสียง (อังกะลุงรางหนึ่งหรืออันหนึ่งเรียกว่าตับ ขลุ่ยก็เรียกว่า เลา ซอก็เรียกว่า คัน เป็นต้น)








ขั้นตอนในการทำอังกะลุงมีดังนี้





1. นำไม้ไผ่มาตากแดดให้แห้งแล้วตัดเป็นท่อน ๆ ทำฐานเสร็จแล้วปาดตกแต่งเสียงโดยการเทียบเสียงกับเครื่องดนตรีไมโลเดียน ถ้าเสียงยังไม่ถูกตามที่ต้องการก็ปาดปากไม้อีกจนกว่าจะได้เสียงถูกต้องตามที่ต้องการเสร็จแล้วขัดด้วยกระดาษทรายให้เรียบแล้วทำลายไม้โดยใช้ตะกั่วหลอมนำมาปะกับไม้ไผ่ปล่อยให้แห้งแล้วแกะออกแล้วนำมาขัดด้วยกระดาษทรายอีกทีหนึ่งเสร็จแล้วทาด้วยแชลกค์ซึ่งเรียกว่า ลูก

2. เจาะ รางไม้ทำเป็นโครง โดยการเอาไม้มาเจาะด้วยสิ่วเป็นร่อง 3 ร่อง แต่ละร่องยาวประมาณ 4.5 , 5.5 และ 7 เซ็นติเมตรตามลำ เพื่อที่จะเอาฐานของลูกใส่ทำให้เกิดเสียง รางนี้จะมีความยาวประมาณ 1 ฟุต กว้าง 1 นิ้ว ที่รางนอกจากเจาะเป็นร่องแล้วยังใช้สว่านเจาะรู อีก 5 รู เพื่อใส่คัน แล้วทาสีเรียกว่าโครง

3. ประกอบลูกเข้าในโครง โดยการใช้ก้านยึดลูกติดกับคันโดยให้ฐานลงไปอยู่ในร่องการประกอบลูกเข้าในโครงนั้นประกอบ 3 ลูก เรียกว่าเป็น 1 ตัว เมื่อประกอบลูกเข้าไปในโครงเรียบร้อยแล้วก็เทียบเสียงอีกครั้งหนึ่งถ้าเสียงไม่ตรงก็ใช้มีดปลายแหลมปาดปากไม้ทำเสียงใหม่จนกว่าจะตรงตามเสียงที่ต้องการ

อังกะลุงที่ใช้ในการเล่นมีเป็นชุด ๆ จะเล่นตัวเดียวไม่ได้เพราะแต่ละตัวหรือแต่ละคู่กับมีเพียงเสียงเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้นจึงเล่นเป็นชุด ชุดหนึ่งจะมี 7 คู่ 9 คู่ 12 คู่ ชุดใหญ่ 12 คู่ ถ้าจะเพิ่มก็เพิ่มเป็นเสียงประกอบต่าง ๆ ได้อังกะลุงที่สมบูรณ์




ประชาชน ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครนายก ส่วนมากเป็นชาวไทย และ มีชาวไทยพวน บ้างในบางหมู่บ้าน




มีการย้ายที่อยู่ ชาวนครนายก ส่วนมากเป็นคนพื้นบ้าน นครนายกโดยกำเนิด การนับถือศาสนา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ส่วนศาสนาอื่นไม่ปรากฏ การศึกษาส่วนใหญ่จบในระดับประถมศึกษา เพราะสภาพสังคมของหมู่บ้านใช้แรงงานคนเป็นส่วนใหญ่ การศึกษาจึงไม่จำเป็น หรือ อาจเป็นเพราะมีกลุ่มตัวอย่างน้อย




จึงไม่พบผู้จบการศึกษาในระดับสูง แต่มีแนวโน้มการส่งบุตรธิดาไปเรียนมากขึ้น
การประกอบอาชีพหลักคือ ทำนา ประชาชนส่วนมากมีที่ดินเป็นของตนเอง มากกว่าเช่าผู้อื่น




การทำอังกะลุง ฃมีขึ้นตอนในการทำ คือ เลือกไม้ ไม้ที่ใช้ทำ จะเป็นไม้ไผ่สีสุก มีผิวเหลืองเลือกลำที่ตรง ไม้จะได้มาจากการปลูก หรือซื้อก็ได้ นำไม้ไผ่มาตัด และทำเป็นรูปร่าง นำไปเข้าราง เป็นตัวอังกะลุง และเทียบเสียงกับเครื่องดนตรีไทย ชนิดไหนก็ได้ ให้ได้เสียงตามต้องการ ถ้าอยากจะให้ ลายไม้สวยงามก็นำไม้ไผ่ไปอบ ทำลายอีกทีหนึ่ง
ปัญหาสำคัญคือปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์ในการทำ เช่นไม้ไผ่หายาก จะต้องหาซื้อในราคาแพงมีคนชำนาญในการเข้ารางเทียบเสียงน้อย ซึ่งจะถ่ายทอดให้ลูกหลานได้ยากเพราะการจะรับถ่ายทอดได้ต้องมีพื้นฐานทางด้านนี้พอสมควรส่วนมากพวกที่ทำได้จะเป็นพวกที่มีอายุสูง สถานภาพทางเศรษฐกิจ มีรายได้เฉลี่ย สมดุลกับรายจ่าย เงินออมน้อยมีลักษณะพอมีพอใช้ลักษณะการทำอังกะลุงเป็นการทำเป็นอุตสาหกรรมในครอบครัว เพราะมีรายได้ไม่พอที่จะจ้างแรงงานภายนอกด้านเงินกู้มีการกู้เงินจากญาติพี่น้อง มากกว่า ธนาคาร หรือพ่อค้าแม่ค้า ความช่วยเหลือของรัฐบาลมีน้อย สิ่งที่ประชาชนต้องการให้ช่วยเหลือถือ ทำให้ชุมชนในจังหวัดนครนายก เจริญยิ่งขึ้น
ค้นคว้าและเรียบเรียงโดย
กัญจนณัฐ ปัญญาลิขิตกุล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น