วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ตำนานเรื่อง พิณเปี๊ยะ


ในสมัยก่อนมหรสพยังไม่มีหลากหลายเช่นปัจจุบัน จึงมีเพลงที่บรรเลงกันสดๆในรั้วในวังเท่านั้น ในหมู่บ้านมีเพลงพื้นบ้านทั่วๆไปที่ชาวบ้านนิยมเล่นกันในวิถีชีวิตประจำวัน ตามตำนานที่เล่าขานกล่าวว่า เพลงที่ เล่นกันในรั้วในวัง จัดว่าเป็นเพลงที่ถือว่าเป็นเพลงชั้นสูง โดยเฉพาะเพลงปราสาทไหว(อ่านว่า ผาสาดไหว) ของบ้านเมืองในดินแดนชาวล้านนา เพลงปราสาทไหว เป็นเพลงชั้นบรมครูของเมืองล้านนา เมื่อเล่นเพลงนี้เมื่อใดผู้คนที่อยู่นอกวังจะพากันหลั่งไหลเข้าไปฟังในวังให้ได้ยินชัดเจนเพราะสมัยก่อนไม่มีเครื่องขยายเสียง การเข้าไปมากมายของชาวบ้านนี้เองทำให้เรือนปราสาทของพระเจ้าแผ่นดินสั่นไหว เคลือนคลอน แสดงถึงความไพเราะของเพลงที่จับใจอย่างสุดๆด้วยปรากฏการณ์ที่ปราสาทไหวนี้เอง เพลงนี้จึงเรียกกันต่อมาว่าเพลงปราสาทไหว (คนล้านนาอ่านว่าผาสารทไหว) เป็นการบ่งบอกถึงความม่วนงัน (ไพเราะเพราะพริ้ง) นั่นเอง


ปราสาทไหว เป็นเพลงอมตะของคนล้านนา ฟังแล้วม่วนอ๊กม่วนใจ๋ ... บางหมู่บ้านเรียกว่า "เพลงแห่" บางหมู่บ้านเรียกว่า "เพลงด้นหน" มีการเล่นกันทุกงาน ทั้งในงานแห่ครัวตาน (ครัวทาน) ตลอดจนถึงงานศพ จัดว่าเป็นศิลปะชั้นสูงในเพลงของล้านนา เป็นภูมิปัญญาไทยที่ถูกเพี้ยนความหมาย เพราะเพลงปราสาทไหวที่ชาวบ้านเล่นจริงๆจะไม่มีตัวโน้ต มีโทนลีลาพลิ้วไหวตามหัวใจ บ่าวหน้อย-สาวหน้อยพื้นบ้านล้านนา

พิณเพียะ(อ่านว่า พินเปี๊ยะ) มีปรากฏมานานในวรรณคดีไทยภาคอื่นจะบันทึกไว้ว่า" ยินเสียงพะเยียบรรเลงแว่ว..."

คำว่า" พะเยีย" ก็คือ พิณเปี๊ยะ พื้นบ้านล้านนา ซึ่งเวลาฝึกเล่นมันเล่น ยากมาก ต้องเปลือย-อก คือ ไม่นุ่งเสื้อ เพราะต้องเอาส่วนกะลาครอบที่อกด้านซ้ายหรือขวาตามถนัด ส่วนผู้หญิงให้เอาส่วนกะลาครอบช่องท้อง เวลาดีดเสียงดังเพียงเสียงเดียว วงดนตรีพื้นเมืองที่เขากำลังแสดงตามที่ต่างๆ จะเห็นคันไม้ด้ามยาวติดข้อไม้และ กะโหล้ง (กะลา) พร้อมมีสายดีด ที่สำคัญ ปลายด้ามคันถือ เรียกกันว่า “หัวเปี๊ยะ” จะทำด้วยโลหะเช่น ทองเหลือง ขาง เหล็กทำเป็นรูปหัวช้างบ้าง หัวนาคบ้างเพื่อใช้ผูกสาย ดังนั้น บางครั้ง เรามักได้ยินคำว่า " พิณหัวจ๊าง (ช้าง)" ก็คือ “เปี๊ยะ”นั่นเอง คำว่า"เปี๊ยะ"หมายถึง อวด หรือ เอามาแสดง ซึ่งในเพลงคำเมืองปัจจุบัน จะได้ยินเสียง เปี๊ยะดัง สลับกับเสียงปี่บ้าง เสียงซึงบ้าง

พิณเปี๊ยะ หรือ พิณเพียะ เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองลานนาชนิดหนึ่ง เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด ลักษณะของพิณเปี๊ยะ มีคันทวนยาวประมาณ 1 เมตรเศษ ตอนปลายคันทวนทำด้วยเหล็กรูปหัวช้าง ทองเหลือง สำหรับใช้เป็นที่พาดสาย ใช้สายทองเหลืองเป็นพื้น สายทองเหลืองนี้จะพาดผ่านสลักตรงกะลาแล้วต่อไปผูกกับสลักตรงด้านซ้าย สายของพิณเปี๊ยะมีทั้ง 2 สายและ 4 สาย กะโหลกของพิณเปี๊ยะทำด้วยเปลือกน้ำเต้าตัดครึ่งหรือกะลามะพร้าว ก็ได้ เวลาดีด ใช้กะโหลกประกบติดกับหน้าอก ขยับเปิดปิดให้เกิดเสียงตามต้องการ เช่นเดียวกับพิณน้ำเต้าของภาคกลาง ในสมัยก่อนชาวเหนือมักจะใช้พิณเปี๊ยะดีดคลอกับการขับลำนำในขณะที่ไปเที่ยวสาว แต่เกิดการแย่งสาวกันขึ้น จึงใช้พิณเปี๊ยะเป็นอาวุธทำร้ายกันจึงได้มีการห้ามไม่ให้มีการ เล่นเครื่องดนตรีชนิดนี้อีก ทำให้พิณเปี๊ยะไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร

พิณ เพียะ หรือพิณเปี๊ยะ หรือบางทีก็เรียกว่าเพียะหรือเปี๊ยะ มีกล่าวถึงในพงศาวดารลานช้างเป็นทำนองว่าพระมหากษัตริย์ของชนชาวไทยในสมัย โบราณเมื่อครั้งยังตั้งอาณาจักรไทยอยู่ในประเทศจีนตอนใต้ ได้ส่งนักดนตรีนักกลอน และครูละคอนฟ้อนรำลงมาฝึกสอนคนไทยด้วยกันซึ่งอพยพแยกย้ายกันลงมาตั้ง อาณาจักรไทยอยู่ในแหลมอินโดจีนและในการนั้นได้ส่งครูลงมาสอนให้รู้จักทำและ รู้จักเล่นพิณเพียะด้วย

พิณเพียะหรือเพียะก็เป็นของที่ชนชาวไทยรู้จักทำและรู้จักเล่นกันมาแต่เดิม มีกล่าวถึงในกาพย์ขับไม้เรื่องพระรถเสน

เรียกว่า "พิณเพลีย" และกล่าวไว้คล้ายกับว่าเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ร่วมบรรเลงในงานพระราชพิธี มงคลสมโภชด้วยดังนี้




ครั้นได้ฤกษ์ดี จึงเบิกบายศรี สมโภชภูบาล

แตรสังข์เสียงใส พาทย์ฆ้องศรไชย มีทั้งฉิ่งเพลงชาญ

ปี่ขลุ่ยเสียงหวาน จะเข้พิณเพลีย การ ศัพท์คือเพลงสวรรค์




ดูเหมือนในหนังสืออนิรุทธคำฉันท์จะเรียก พิณเพียะว่า "เพยีย" เป็นเครื่องดีดจำพวกพิณเหมือนกันใช้ประกอบขับร้องไป ดีดเสียงประสานไป เช่นกล่าวว่า



"จำเรียงสานเสียง ประอรประเอียง กรกรีด

เพยียทอง เต่งติง เพลงพิณ

ปี่แคนทรลอง สำหรับลบอง ลเบงเฉ่งฉันท์"




ในโคลงกำศรวลศรีปราชญ์เรียกไว้ว่า "เพลี้ย" จะเป็นเครื่องดนตรีชนิดเดียวกันหรือไม่ไม่ทราบ แต่ก็ใช้ดีดประกอบขับร้องเหมือนกัน เช่นที่ว่า



สายาเข้าคว้าเล่น

เดอรดีดเพลี้ยเพลงพาล

สายาอยู่ในถนน

รยมฤา ยงงที่สาวน้อยรู้

หลายกล

รยกชู้

ถามข่าว

รยกขวนน ฯ



ต่อมาฐานะของเจ้าเมืองล้านนาถูกลบล้าง ทำให้ชาววัง นักดนตรีอพยพออกไปอยู่ตามบ้านเรือนทั่วไป แต่ก็นำเพลงปราสาทไหวไปเล่นตามงานต่างๆโดยเฉพาะบ้านศพ เพื่อให้ผู้คนได้ยินเพลงที่ไพเราะได้ฟังให้หายความเศร้า กำจัดความเสียใจออกไป นานวันเข้าเวลาล่วงเลยนับเป็นร้อยพันปี เพลงปราสาทไหวกลายเป็นที่นิยมบรรเลงในงานศพ ผู้คนที่ไมทรายที่มาจึงถือว่าเพลงนี้เป็นเพลงที่เล่นบรรเลงในเฉพะงานศพเท่านั้น ไม่นิยมนำไปเล่นในงานมงคล งานบุญงานกุศล ซึ่งเชื่อกันว่า จะทำให้เสียขวัญ และความเชื่อนี้ ยังมีอยู่ในปัจจุบัน ลุงหนานพรหมมา ได้นำเรื่องมาเล่า บอกกล่าวว่า แท้จริงแล้ว เพลงปราสาทไหว เป็นเพลงล้านนาชั้นครู ผู้คนที่จะเล่นเพลงพื้นเมืองล้านนา ต้องเล่นเพลงนี้เป็นทุกคน หรือแม้แต่การประกวดแข่งขันกรรมการจะต้องให้ทุกวงเล่นเพลงนี้เป็นเพลงบังคับ หากผู้คนสมัยใหม่ไม่ศึกษา ผะหญาปัญญา บรรพบุรุษให้ถ่องแท้แล้ว ย่อมส่งผลเสียแก่คุณค่าทาง ผะหญาของบรรพชนโดยแท้ ผู้สนใจฟังเพลงปราสาทไหว ได้ที่เว็บไซต์ http://thaipoet.my-place.us/song.html

แบบแผนดนตรีในอนิรุทธคำฉันท์ว่า

๏ จำเรียงสานเสียง

ประอรประเอียง กรกรีดเพยียทอง

เต่งติงเพลงพิณ ปี่แคนทรลอง

สำหรับลบอง ลเบงเฉ่งฉันท์

๏ ระงมดนตรี

คือเสียงกระวี สำเนียงนิรันดร์

บรรสานเสียงถวาย เยียผลัดเปลี่ยนกัน

แลพวกแลพรรค์ บรรสานเสียงดูริย์


ข้อความที่บอกว่า “ระงมดนตรี” และ “บรรสานเสียงดูริย์” ในอนิรุทธคำฉันท์ ก็คือชื่อ

“ดุริยดนตรี” มีหน้าที่ “สำหรับลบอง ลเบงเฉ่งฉันท์” สอดคล้องกับข้อความในสมุทรโฆษคำฉันท์อีกว่า

“ค้อมสงัดเสียงดุริยดั่งคม ด้อมสงัดสาวสนม อันจาวจำเรียงเสียงฉันท์”

“เพลี้ย” อันเป็นเครื่องมือที่สามัญชนในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นใช้ดีดเกี้ยวพาราสีกันและในพงศาวดารล้านช้างเรียก “เพี้ยะ”

“เพยีย” หมายถึง เพียะหรือเปี๊ยะซึ่งยังมีใช้และเรียกอยู่ในท้องถิ่นล้านนาทุกวันนี้


ในโคลงกำสรวลสมุทรกล่าวว่า “ฤๅกล่าวคำหลวงอ้า อ่อนแกล้งเกลาฉันท์” หมายถึงการสวดหรืออ่านฉันท์เป็นทำนอง (เสนาะ) โดยมี “ดนตรี” เป็นเครื่องมือบันลือบรรเลงคลอ แบบแผนของ “ดนตรี” มีเครื่องมือโดยรวมๆ น้อยชิ้นได้แก่ “ พิณ ” คือ เครื่องดีดทั่วๆไป รวมทั้ง “เพยีย” และ “ติง” รวมทั้งที่ปรากฏในกฎมณเทียรบาล อีกว่า กระจับปี่ และ จะเข้

“ ทร ” ตรงกับ “ซอ” ในกฎมณเทียรบาลมีคำว่า “สีซอ” หมายถึง เครื่องสี ในนิราศหริภุญชัย เขียนว่า “ทร้อ” ตรงกับคำว่า “สะล้อ” ของท้องถิ่นล้านนา ในข้อความที่ว่า “ปี่แคนทรลอง” มีความหมายว่าท้องถิ่นล้านนา มีการขับ หรือ ร้องเพลง เช่น “ขับซอยอยศ” ในลิลิตพระลอ ในกลุ่มชาวไทยใหญ่ มีคำว่า “ซอ” แปลว่า ร้องเพลงเมื่อประกอบเครื่องมือใดๆ ก็ออกชื่อเครื่องมือใดๆ ก็ออกชื่อเครื่องมือนั้นๆ ด้วย เช่น ซอปี่ ซอซึง ซอเปียะ ฯลฯ หาก การซอ หรือ ร้อง นั้น มีเครื่องทำจังหวะ เช่น กรับ



“ พิณ เพียะ” มีลักษณะคล้ายพิณน้ำเต้า แต่ “ พิณ เพียะ” ทำเพิ่มขึ้นเป็น ๒ สาย และ ๔ สาย ก็มี คันทวนยาว ประมาณ๑เมตรเศษ ลูกบิดก็ยาวประมาณ ๑๘ ซม. ใช้เชือกคล้องสายผูกโยงไว้กับทวนสำหรับเร่งเสียงเหมือนกับ พิณน้ำเต้า กะโหลกก็ทำด้วยเปลือกลูกน้ำเต้าตัดครึ่งลูกก็มี ทำด้วยกะลามะพร้าวก็มีเวลาดีดก็เอากะโหลกประกบติดไว้กับหน้าอกขยับเปิดปิด เพื่อให้เกิดเสียงก้องกังวานตามต้องการ เช่นเดียวกับดีดพิณน้ำเต้า ตามที่ปรากฏในท้องถิ่นภาคเหนือผู้เล่นมักจะดีดคลอขับร้องของตนเองและนิยม เล่นในขณะที่ไปเที่ยวเกี้ยวสาวตามหมู่บ้านในเวลาค่ำคืน เดี๋ยวนี้หาผู้ที่เล่นได้ยากแล้วแต่ยังพอมีพี่น้องชาวไทยทางภาคเหนือของ ประเทศไทยเล่นได้บ้าง ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมีเครื่องสายชนิดหนึ่งบอกไว้ว่า พิณเพียะ แต่ใช้ไม้จริงชนิดเบาทำเป็นกะโหลก ยาวตั้งแต่กะโหลกจนตลอดคันทวนประมาณ ๑.๒๒ เมตร แกะสลักฝังงาลงไปในเนื้อไม้เป็นลวดลายแพรวพราว ตัวกะโหลกกว้างประมาณ ๒๘ ซม. คันทวนแบนใหญ่กว้างประมาณ ๔๘ ซม. มีสายถึง ๕ สาย

1 ความคิดเห็น: