วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การศึกษาประวัติและปฏิปทา พระธรรมมังคลาจารย์ (วิ.)




การศึกษาประวัติและปฏิปทา พระธรรมมังคลาจารย์ (วิ.)

ประวัติและปฏิปทา พระธรรมมังคลาจารย์ (หลวงพ่อทอง สิริมงฺคโล)

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
๏ ชื่อ พระธรรมมังคลาจารย์ ฉายา สิริมงฺคโล สิริอายุ ๘๖ พรรษา ๖๕ (เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๒)
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่, เจ้าคณะอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ และหัวหน้าพระวิปัสสนาจารย์หนเหนือ กองการวิปัสสนาธุระ


๏ ชื่อ ทอง นามสกุล พรหมเสน เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๖ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีกุน ณ ตำบลบ้านแอ่น อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
๏ บิดาชื่อ นายทา พรหมเสน, มารดาชื่อ นางแต้ม พรหมเสน, คุณปู่ชื่อ ขุนต่างใจ เป็นบุตรของพระยาพิพิธเสนา (ชื่น) ทหารรักษาพระองค์ เป็นชาวอำเภอศรีมโหสถ (โคกปีบ) จังหวัดปราจีนบุรี
ขุนต่างใจเป็นนายท้ายเรือพระที่นั่งในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
ครั้งเสด็จฯ ประพาสภาคพายัพ, คุณย่าชื่อ จันตา เป็นชาวบ้านนาแก่ง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

๏ การบรรพชาและอุปสมบท
บรรพชา เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๒ วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๗ (อายุ ๑๑ ปี) ณ วัดนาแก่ง ตำบลบ้านแอ่น อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีพระชัยวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ครั้งในสมัยเป็นสามเณรได้ติดตามอุปัฏฐาก ครูบาศรีวิชัย สิริวิชโย อย่างใกล้ชิด และได้ติดตามไปในการสร้างวัดบูรณปฏิสังขรณ์เจดีย์สถานในที่ต่างๆ และทั้งร่วมสร้างถนนขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่
อุปสมบท เมื่อวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๗ ณ วัดบ้านแอ่น อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีพระครูคัมภีรธรรม พฺรหฺมปญฺโญ เจ้าอาวาสวัดพระชัยเกียรติ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการญาณรังษี วัดหัวทราย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมหาจันทร์ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เป็นพระอนุสาวนาจารย์

๏ การศึกษาเบื้องต้นและพระปริยัติธรรม
พ.ศ. ๒๔๗๗ จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านแอ่น อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
พ.ศ. ๒๔๘๕ สอบได้นักธรรมตรี สำนักเรียนวัดนาแก่ง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
พ.ศ. ๒๔๘๖ สอบได้นักธรรมโท สำนักเรียนวัดชัยพระเกียรติ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
พ.ศ. ๒๔๘๗ สอบได้นักธรรมเอก สำนักเรียนวัดพันอ้น อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
พ.ศ. ๒๕๐๐-๒๕๐๓ ได้เดินทางไปศึกษาภาษาบาลี และพระไตรปิฎก ณ วัดพญาจีจองไต้ (เช้าทัดจี) และเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกับท่านมหาสีสยาดอ ณ วัดสาสนยิสสา กรุงย่างกุ้ง ประเทศสหภาพพม่า


๏ ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์
พ.ศ. ๒๔๙๑-๒๕๓๑ เป็นเจ้าอาวาสวัดเมืองมาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
พ.ศ. ๒๔๓๑-๒๕๓๔ เป็นเจ้าอาวาสวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
พ.ศ. ๒๕๓๔-ปัจจุบัน เป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
พ.ศ. ๒๕๑๑-ปัจจุบัน เป็นเจ้าคณะอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
๏ งานด้านการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๑๒ จัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกนักธรรมและบาลี และพระอภิธรรม ณ วัดเมืองมาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
พ.ศ. ๒๕๑๕ จัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกนักธรรมและบาลี และพระอภิธรรม ณ วัดอินทาราม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็นประธานดำเนินการตรวจชำระและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับอักษรล้านนา
พ.ศ. ๒๕๓๑ จัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกนักธรรมและบาลี พระอภิธรรม และภาษาล้านนา
ณ วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
พ.ศ. ๒๕๓๔ จัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกนักธรรมและบาลี พระอภิธรรม และโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ณ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นประธานดำเนินการตรวจชำระและจัดพิมพ์พระไตรปิฎก ฉบับแปลภาษาล้านนา
อักษรล้านนา

๏ งานด้านเผยแผ่วิปัสสนาธุระ
เมื่อเข้าฝึกวิปัสสนากรรมฐานจากสำนักวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร และ
สำนักมหาสีสยาดอ สาสนยิสสา กรุงย่างกุ้ง ประเทศสหภาพพม่า
แล้วได้กลับมาเปิดสำนักวิปัสสนากรรมฐาน ดำเนินการสอนตลอดมา
ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าพระวิปัสสนาจารย์หนเหนือกองการวิปัสสนาธุระ
และได้ขยายสำนักสาขาปฏิบัติอีกหลายสำนัก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

๏ สำนักปฏิบัติวิปัสสนาสาขาในประเทศ
- สำนักวิปัสสนากรรมฐานวัดเมืองมาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
- สำนักวิปัสสนากรรมฐานวัดวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
- สำนักวิปัสสนากรรมฐานวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
- สำนักวิปัสสนากรรมฐานวัดถ้ำตอง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
- สำนักวิปัสสนากรรมฐานวัดถ้ำหม้อ อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่
- สำนักวิปัสสนากรรมฐานวัดปัญญาวุธาราม (สันกู่) อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
- สำนักวิปัสสนากรรมฐานวัดถ้ำบัวตอง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
- สำนักวิปัสสนากรรมฐานพระเทพสิทธาจารย์ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
- สำนักวิปัสสนากรรมฐานปฏิบัติธรรมล้านนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
- สำนักวิปัสสนากรรมฐานวัดพระเกิ๊ด อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
- สำนักวิปัสสนากรรมฐานวัดพระธาตุดอยเกิ้ง อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่
- สำนักวิปัสสนากรรมฐานสมเด็จสุญญตวิโมกข์ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
- สำนักวิปัสสนากรรมฐานพระเทพสิทธาจารย์ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
- สำนักวิปัสสนากรรมฐานพระธาตุเขาเขียว อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
- สำนักวิปัสสนากรรมฐานห้วยน้ำดิบ อำเภอป้าโฮ่ง จังหวัดลำพูน
- สำนักวิปัสสนากรรมฐานวัดธัมมิกราช อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
- สำนักวิปัสสนากรรมฐานป่าสักคำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
- สำนักวิปัสสนากรรมฐานธรรมจักร์ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก
- สำนักวิปัสสนากรรมฐานสุพรหมยาน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

๏ สำนักปฏิบัติวิปัสสนาสาขาต่างประเทศ
ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นต้นมา ได้เดินทางไปเผยแผ่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ทั้งในภาคพื้นยุโรปและอเมริกา มีประเทศอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เยอรมันนี, สวิสเซอร์แลนด์,
เนเธอร์แลนด์, อิตาลี, อเมริกา และเม็กซิโก
และในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ สร้างวัดพุทธปิยวนาราม เมืองแฟรงเฟริท ประเทศเยอรมันนี

๏ ลำดับสมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นพระปลัดฐานานุกรมของพระครูคัมภีรธรรม เจ้าคณะอำเภอฮอด
พ.ศ. ๒๕๑๑ เป็นพระครูพิพัฒน์คณาภิบาล พระครูสัญญาบัตร
พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญวิปัสสนาที่ พระสุพรหมยานเถร
พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นพระราชาคณะชั้นราชวิปัสสนาที่ พระราชพรหมาจารย์
พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพวิปัสสนาที่ พระเทพสิทธาจารย์
พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมวิปัสสนาที่ พระธรรมมังคลาจารย์
การเดินทางสู่สำนักวิปัสสนากัมมัฏฐานวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
จากตัวเมืองเชียงใหม่มุ่งหน้าไปตามถนนสายเชียงใหม่-ฮอด 58 กิโลเมตร เป็นวัดสำคัญคู่เมืองจอมทองและเป็นที่เคารพสักการะของชาวเหนือโดยทั่วไป ประเพณีเด่นของวัดคือ การแห่ไม้ค้ำโพธิ์ ซึ่งเป็นประเพณีของชาวล้านนาที่ถือว่าการเอาไม้มาค้ำโพธิ์เป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา


วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร จ.เชียงใหม่ เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี
วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
สร้างเมื่อพุทธศักราช ๑๙๙๔ โดยนายสร้อย นางเม็ง เป็นผู้สร้างขึ้นบนดอยจอมทอง จึงได้ชื่อว่า

“ วัดพระธาตุเจ้าศรีจอมทอง ” สูงจากที่ราบ ๑๐ เมตร อยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากอำเภอเมือง เชียงใหม่ ๕๘ กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกมีเทือกเขาเรียกว่า "ดอยอินทนนท์" และลำน้ำแม่กลาง วัดนี้สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย


- ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๐
- ได้รับพระราชทานยกฐานะวัดขึ้นเป็นวัดพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิด วรวิหาร เมื่อวันที่ ๓๐ เดือน พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๐๖



- ได้รับเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ประจำปี ๒๕๒๔ ของกรมการศาสนา
- กระทรวงศึกษาธิการได้รับเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ที่มีผลงานดีเด่น ประจำปี ๒๕๓๘ ของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ

พระธาตุศรีจอมทองเป็นสถานที่ประดิษฐานของพระทักษิณโมลีธาตุ พระธาตุ ส่วนที่เป็น พระเศียรเบื้องขวาของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีขนาดโตประมาณ เมล็ดข้าวโพด สันฐานกลมเกลี้ยง สีขาวนวลเหมือน ดอกบวบ หรือ สีคล้ายดอกพิกุลแห้ง

ตามประวัติเล่าว่า พระเจ้าอโศกมหาราช เป็นผู้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่ ดอยจอมทอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 218

ปัจจุบัน พระธาตุ ถูกบรรจุไว้ในพระโกศ 5 ชั้น ซึ่งตั้งอยู่ภายใน พระวิหารจตุรมุข ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์
มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส คล้ายพระเจดีย์ กว้าง 4 เมตร สูง 8 เมตร

ตามประวัติว่าสร้างขึ้นโดย พระเจ้าดิลกปนัดดาธิราช หรือ พระเมืองแก้ว กษัตริย์ราชวงศ์มังราย
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 206

วัดพระธาตุศรีจอมทอง เป็นวัดเก่าแก่ที่สำคัญมากวัดหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่
เนื่องจากเป็นทั้งพระอารามหลวง และเป็นทั้งที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
ที่ตั้งของวัดคือบ้านลุ่มใต้ ถนนสายเชียงใหม่ - ฮอด หมู่ที่ ๒ ตำบลบ้านหลวง
อำเภอ จอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศใต้
ประมาณ ๕๘ กิโลเมตร

ตามตำนานที่กล่าวถึงความเป็นมา ของพระบรมธาตุศรีจอมทอง
สรุปใจความได้ว่าพระพุทธเจ้าทรงมีพุทธพยากรณ์ไว้กับพญาอังครัฏฐะ ผู้ครองอังครัฏฐะ
ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับบริเวณดอยจอมทองว่า สถานที่แห่งนี้ต่อไปภายหน้าจะเป็นที่ประดิษฐาน
พระทักษิณโมลีธาตุ ( พระเศียรเบื้องขวา ) ของพระองค์

ต่อมาภายหลังเมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว โทณพราหมณ์ได้จัดแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้แก่กษัตริย์ทั้ง ๘ นคร ซึ่งในครั้งนั้น มัลลกษัตริย์แห่งเมืองกุสินาราทรงได้พระทักษิณโมลีธาตุไว้ พระมหากัสสปะเถระเจ้าประธานฝ่ายสงฆ์ จึงได้กราบทูลมัลลกษัตริย์ถึงพุทธพยากรณ์ที่พุทธองค์เคยตรัสไว้
มัลลกษัตริย์ทราบดังนั้นจึงถวายพระบรมธาตุแด่พระมหากัสสปะเถระ ซึ่งท่านก็ได้อัญเชิญพระบรมธาตุวางไว้บนฝ่ามือ แล้วอธิษฐานอาราธนาพระบรมธาตุให้เสด็จไปยังดอยจอมทอง เพื่อประทับอยู่ในโกศแก้วอินทนิลภายในเจดีย์ทองคำ ที่พญาอังครัฎฐะได้สร้างถวายไว้

ตำนานยังได้กล่าวต่ออีกว่า หลังจากที่พระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานไปแล้ว ๒๑๘ ปี พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ( พระเจ้าอโศกมหาราช ) ได้เสด็จมายังดอยจอมทองและทรงขุดคูหาเป็นอุโมงค์ แล้วอัญเชิญพระบรมธาตุจากพระสถูปมาประดิษฐานในอุโมงค์แห่งนั้น พร้อมทั้งอธิษฐานให้พระบรมธาตุปรากฏให้เห็นเฉพาะผู้ที่มีจิตเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเท่านั้น

ต่อมาเมื่อ พ . ศ . ๑๘๘๕ สามีภรรยาคู่หนึ่งชื่อนายสอยและนางเม็ง ซึ่งเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ได้ค้นพบพระบรมธาตุจอมทองในลักษณะที่เป็นพระทักษิณโมลีธาตุ คือเป็นพระธาตุจอมพระเศียรเบื้องขวาของพระพุทธเจ้ามีขนาดเท่าเมล็ดข้าวโพด สัณฐานกลมเกลี้ยง สีดอกพิกุลแห้ง หรือสีดอกบวบ บรรจุในโกศทองเหลือง หล่อทองปิดทองสัณฐานกลม กว้าง ๑ ศอก สูง ๑ เมตร ชั้นในเป็นผอบเงินและผอบทองลงยาประดับเพชร ทว่าตำนานอื่นได้กล่าวถึงข้อความในตอนนี้แตกต่างออกไปว่า สามีภรรยาทั้งคู่ได้สร้างเสนาสนะก่อพระเจดีย์และสร้างพระพุทธรูป ๒ องค์ ไว้บนดอยจอมทองด้วยศรัทธาในพระพุทธศาสนา และถือว่าเสนาสนะเหล่านั้นเป็นปฐมอารามของวัดพระธาตุศรีจอมทอง โดยปรากฏเนื้อความในตำนานว่า “… คนทั้งหลายมีนายสอยและนางเม็งเป็นประธานจึงสร้างศาลา และก่อเจดีย์ที่ดอยต้นทองข้างบนถ้ำคูหาที่นั้น เหตุนั้น คนทั้งหลายจึงเรียกชื่อวัดนั้นว่า “ วัดจอมทอง ”
ดังนี้แลฯ ” แต่ในขณะนั้นยังไม่มีผู้ใดทราบว่ามีพระบรมธาตุสถิตอยู่ จนกระทั่งมีชีปะขาวคนหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ในวัดได้ฝันเห็นเทวดามาบอกว่า ใต้พื้นวิหารมีพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า จึงนำความไปบอกเจ้าอาวาสและทำการอธิษฐานอัญเชิญพระบรมธาตุขึ้นมาประดิษฐานในวิหาร ต่อมาในปี พ . ศ . ๒๐๐๙
มีคหบดี ๒ คน ชื่อนานสิบเงินและนายสิบถัว ได้มาสร้างเจดีย์และวิหารชั่วคราวซึ่งมุงด้วยหญ้าคาขึ้น แล้วนิมนต์พระสารีปุตตรเถระ ( บางตำนานว่าชื่อพระสริปุตตะเถระ ) มาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัด ซึ่งบางตำรากล่าวว่าในขณะนั้นชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่า “ วัดหลวง ” และเมื่อประมาณปี พ . ศ . ๒๐๑๓ หลังจากที่เจ้าอาวาสองค์แรกมรณภาพแล้ว

ชาวบ้านได้อาราธนาพระภิกษุชื่อเทพกุลเถระมาเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ ๒ ซึ่งท่านได้ทำการเปลี่ยนหลังคาวิหารซึ่งมุงด้วยหญ้าคานั้นให้เป็นกระเบื้อง เหตุการณ์สำคัญของวัดพระธาตุศรีจอมทองได้เกิดขึ้นในสมัยเจ้าอาวาสองค์ที่ ๓ หรือพระมหาธรรมปัญโญ คือพระบรมธาตุได้เสด็จออกจากถ้ำคูหา แสดงปาฏิหาริย์เป็นที่อัศจรรย์แกคนทั้งหลาย แล้วจึงสถิตอยู่ใน พระเกศโมลีของพระพุทธรูปองค์หนึ่งในพระวิหาร พระมหาเถรเจ้าธรรมปัญโญจึงอัญเชิญมาบรรจุในโกศงาช้างและเก็บรักษาไว้สืบมา

โดยเหตุการณ์ในตอนนี้มีข้อความปรากฏในตำนานเพิ่มเติม ซึ่งคล้ายกับตำนานข้างต้นที่อ้างถึงชีปะขาว โดยมีใจความว่าในสมัยที่พระธรรมปัญโญเป็นเจ้าอาวาสวัดอยู่นั้น ชาวบ้านได้นำพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่องค์หนึ่งมาจากวัดท่าแย้มซึ่งเป็นวัดร้าง แล้วนำมาประดิษฐานที่วิหารของวัด ภายหลังเจ้าอาวาสทราบจากชีปะขาวคนหนึ่งว่ามีถ้ำอยู่ที่พื้นดินใต้วิหาร และได้รับคำแนะนำว่าควรทำการสักการบูชาพระบรมธาตุเพื่อให้แสดงปาฏิหาริย์จึงจะเป็นมงคล เมื่อพระธรรมปัญโญปฏิบัติตามกลับไม่เห็นผลใดๆ


จนกระทั่งเดือน ๖ เหนือ (เดือน ๔ ของภาคกลาง)
ขึ้น ๑๕ ค่ำ จ .ศ .๘๖๑ ( พ . ศ .๒๐๔๒ )
จึงเกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้นปรากฏให้ชาวบ้านศรีจอมทองได้เห็น
คือมีแสงสว่างปกคลุมพระวิหารไว้หมดแล้วแสงนั้นก็หายไป

วันรุ่งขึ้นพบว่าประตูพระวิหารเปิดอยู่และส่วนยอดโมลีของพระพุทธรูปองค์ที่นำมาจากวัดท่าแย้ม
หลุดออกจากพระเศียรตกลงมาอยู่ที่หน้าตัก เมื่อเปิดพระโมลีดูก็พบว่ามีพระบรมธาตุอยู่ภายใน
ท่านเจ้าอาวาสจึงห่อพระบรมธาตุเก็บไว้ในโมลีของเศียรพระพุทธรูปอย่างเดิม
ต่อมาพระเมืองแก้ว กษัตริย์ลำดับที่ ๑๔ แห่งราชวงศ์มังราย ( ครองราชย์ระหว่าง พ . ศ . ๒๐๓๘ – ๒๐๖๘ ) ได้โปรดฯให้สร้างพระวิหารจัตุรมุขขึ้น โดยมีมณฑปปราสาทตั้งอยู่กลางวิหารจัตุรมุขนั้น เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุ แต่เมื่อสิ้นรัชกาลของพระเมืองแก้ว วัดพระธาตุศรีจอมทองก็ร้างไปและกลับคืนสภาพเป็นวัดอีกครั้ง จากนั้นชาวบ้านจึงไปอาราธนาพระญาณมงคลจากวัดทุ่งตุมมาเป็นเจ้าอาวาสในปี พ . ศ . ๒๑๐๐

เนื้อความในตำนานกล่าวอีกว่าในช่วงปี พ . ศ . ๒๓๑๔ – ๒๓๒๒
พระบรมธาตุเจ้าได้หายไปเป็นเวลาถึง ๙ ปี เมื่อเจ้าพระญาวชิรปราการ ( พระญาจ่าบ้าน ) กระทำพิธีอาราธนาพระบรมธาตุจึงเสด็จกลับมาประดิษฐานในมณฑปปราสาทอย่างเดิม ตราบถึงทุกวันนี้
ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ และวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ มีพิธีแห่พระบรมธาตุไปบูชาข้าวที่อุโบสถและให้พุทธศาสนิกชนได้สรงน้ำ โดยจะมีการกล่าวบทอันเชิญ และใช้ช้อนทองคำเชิญพระธาตุจากผอบมาประดิษฐานในโกศแก้วที่ตั้งบนพานเงิน ตามธรรมเนียมเดิมควรนำน้ำจากน้ำแม่กลาง เจือน้ำหอมหรือแก่นจันทร์มาใช้สรง หรือจะเป็นน้ำสะอาดเจือของหอมก็ได้

สำนักวิปัสสนากรรมฐาน หนเหนือ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร มีพระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณ

พระธรรมมังคลาจารย์ (วิ. ) (พระอาจารย์ทอง สิริมงฺคโล) หัวน้าพระวิปัสสนาจารย์ หนเหนือ กองการวิปัสสนาธุระ และเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็นเจ้าสำนักวิปัสสนากรรมฐาน ให้การสอน การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ในแนว สติปัฎฐาน ๔ ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน จนถึงระดับสูง สำหรับภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ตลอดจนผู้ที่สนใจ ทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ และมีการจัดให้สอบอารมณ์ ทุกวัน (ยกเว้นวันพระ)
สำนักวิปัสสนากรรมฐาน วัดพระธาตุศรีจอมทอง รองรับการฝึกฝน การปฏิบัติเจริญวิปัสสนากรรมฐาน โดยมีที่พัก รองรับ ทั้ง แบบ เดี่ยว และแบบหมู่คณะ โดยมีกุฏิสำกรับผู้ปฏิบัติธรรม กว่า ๒๐๐ หลัง
คำแนะนำสำหรับโยคีผู้ปฏิบัติธรรม


การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถปฏิบัติได้ ภายในกุฏิของตนเอง หรือสถานที่อื่นตามแต่ผู้ปฏิบัติจะเลือก ในการเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่สำนักนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมแต่ละท่านจะได้รับคำแนะนำการปฏิบัติจากพระอาจารย์ผู้สอน โดยจะเป็นไปตามแนวทางสติปัฏฐาน ๔ คือ กาย เวทนา จิต และธรรม ซึ่งการปฏิบัติจะประกอบด้วย การนั่งสมาธิ ซึ่งให้ความสำคัญที่การพอง และ ยุบของหน้าท้อง ขณะหายใจ และการเดินจงกรม ซึ่งให้ความสนใจที่การเคลื่อนไหวของเท้า ระหว่างการเดิน การปฏิบัติจะแบ่งออกเป็นชุด (บัลลังค์) โดยเริ่มจากการกราบ ตามด้วยการเดินจงกรม และการนั่งสมาธิ ผู้ที่เริ่มต้นฝึกอาจจะเริ่มที่การเดินจงกรม และการนั่งสมาธิอย่างละ ๑๐ นาที และค่อยๆเพิ่มระยะเวลาการเดิน และการนั่งต่อไป

ชุดที่ใช้ใส่ระหว่างปฏิบัติเป็นสีขาวและสุภาพเรียบร้อย นอกจากนี้ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องอาราธนา ศีล ๘
ทางสำนักจะจัดอาหารให้กับผู้ปฏิบัติวันละ ๒ มื้อคือ เช้าเวลา ๐๖.๐๐ น. และเพล เวลา ๑๑.๐๐ น.
โดยมีให้เลือกแบบธรรมดาและมังสะวิรัติ สำหรับช่วงเวลาหลังเที่ยงไปจนถึงเช้ามืดของวันรุ่งขึ้นนั้น
ผู้ปฏิบัติไม่สามารถรับประทานอาหารอีก (สามารถดื่มนม ชา กาแฟ ได้) สำหรับผู้ที่มีความต้องการ
เรื่องอาหารเพิ่มเติม สามารถปรึกษากับเจ้าหน้าที่ของสำนักได้เมื่อมาถึง
สำนักวิปัสสนากัมมัฏฐานวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ตั้งอยู่ ณ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
เลขที่ ๑๕๗ บ้านลุ่มใต้ ขห้วยนาทราย ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
เบอร์โทรศัพท์ ๐๕๓-๓๔๑-๗๒๕, ๐๕๓-๘๒๖-๘๖๙
เบอร์โทรสาร (แฟกซ์) ๐๕๓-๓๔๒-๑๘๕


การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข ๓๒ ถึง จ.นครสวรรค์ เข้าทางหลวงหมายเลข ๑ ผ่าน จ.ตาก ถึง อ.เถิน จ.ลำปาง แยกเข้าทางหลวงหมายเลข ๑๐๖ ไปทาง จ.ลำพูน ก่อนถึง อ.บ้านโฮ่ง จะมีทางแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข ๑๐๑๐ ไป อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ซึ่งจะไปบรรจบกับทางหลวงหมายเลข ๑๐๘ ให้เลี้ยวซ้ายตรงไปตามทาง วัดอยู่ฝั่งซ้าย

รถโดยสาร มีรถโดยสารกรุงเทพ(หมอชิต) - จอมทอง สอบถามเพิ่มเติมที่โทร. ๐-๒๙๓๖-๒๘๕๒-๖๖

เครื่องบิน สายการบินไทยและสายการบินบางกอกแอร์เวย์ มีเที่ยวบิน กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ออกทุกวัน สอบถามเพิ่มเติมที่บริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) โทร. ๑๕๖๖, ๐-๒๒๘๐-๐๐๖๐ บริษัท บางกอก
แอร์เวย์ จำกัด โทร. ๐-๒๒๖๕-๕๕๕๕
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้พี่ www.watphradhatusrichomtong.com

แหล่งอ้างอิง ศึกษาประวัติและปฏิปทาพระธรรมมังคลาจารย์ (หลวงพ่อทอง สิริมงฺคโล) ได้ที่
เว็บไซต์ : www. watphradhatusrichomtong.com

http://www.geocities.com/watpratat/

http://watchomtong.sirimangalo.org/

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=22210






ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสถาปนา เลื่อนและแต่งตั้งสมณศักดิ์พระเถรานุเถระ ประจำปี ๒๕๕๒จำนวน ๘๖ รูป แบ่งเป็นคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ๖๖ รูป และฝ่ายธรรมยุต 20 รูป เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา

๘๒ พรรษา ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒ นี้ ทั้งนี้ พระสงฆ์ทั้ง ๘๖รูป จะเข้ารับพระราชทานสถาปนา

เลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒

คณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ๖๖ รูป ที่เป็น พระราชาคณะชั้นธรรม มี ๕ รูป ประกอบด้วย

พระเทพสิทธิวิมล วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กทม. เป็น พระธรรมวิมลมุนี

พระเทพปริยัติสุธี วัดบพิตรพิมุข กทม. เป็น พระธรรมปริยัติโมลี

พระเทพสิทธาจารย์ วิ. วัดพระธาตุศรีจอมทอง จ.เชียงใหม่ เป็น พระธรรมมังคลาจารย์ วิ.

พระเทพมงคลรังษี วัดโพธิ์ชัย จ.หนองคาย เป็น พระธรรมมงคลรังสี

พระเทพปริยัติเมธี วัดชลประทานรังสฤษฎ์ จ.นนทบุรี เป็น พระธรรมวิมลโมลี



ผู้บันทึก นางสาว กัญจนณัฐ ปัญญาลิขิตกุล
ศิษย์ครูบาหลวงพ่อทอง สำนักวิปัสสนากัมมัฏฐาน วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
สำนักวิปัสสนากัมมัฏฐาน วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ๑๕๗
หมู่ที่ ๒ บ้านลุ่มใต้ - ห้วยนาทราย ถนนฮอด-เชียงใหม่
ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ๕๐๑๖๐
โทร. ๐๕๓๘๒๖๘๖๙

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ตำนานเรื่อง พิณเปี๊ยะ


ในสมัยก่อนมหรสพยังไม่มีหลากหลายเช่นปัจจุบัน จึงมีเพลงที่บรรเลงกันสดๆในรั้วในวังเท่านั้น ในหมู่บ้านมีเพลงพื้นบ้านทั่วๆไปที่ชาวบ้านนิยมเล่นกันในวิถีชีวิตประจำวัน ตามตำนานที่เล่าขานกล่าวว่า เพลงที่ เล่นกันในรั้วในวัง จัดว่าเป็นเพลงที่ถือว่าเป็นเพลงชั้นสูง โดยเฉพาะเพลงปราสาทไหว(อ่านว่า ผาสาดไหว) ของบ้านเมืองในดินแดนชาวล้านนา เพลงปราสาทไหว เป็นเพลงชั้นบรมครูของเมืองล้านนา เมื่อเล่นเพลงนี้เมื่อใดผู้คนที่อยู่นอกวังจะพากันหลั่งไหลเข้าไปฟังในวังให้ได้ยินชัดเจนเพราะสมัยก่อนไม่มีเครื่องขยายเสียง การเข้าไปมากมายของชาวบ้านนี้เองทำให้เรือนปราสาทของพระเจ้าแผ่นดินสั่นไหว เคลือนคลอน แสดงถึงความไพเราะของเพลงที่จับใจอย่างสุดๆด้วยปรากฏการณ์ที่ปราสาทไหวนี้เอง เพลงนี้จึงเรียกกันต่อมาว่าเพลงปราสาทไหว (คนล้านนาอ่านว่าผาสารทไหว) เป็นการบ่งบอกถึงความม่วนงัน (ไพเราะเพราะพริ้ง) นั่นเอง


ปราสาทไหว เป็นเพลงอมตะของคนล้านนา ฟังแล้วม่วนอ๊กม่วนใจ๋ ... บางหมู่บ้านเรียกว่า "เพลงแห่" บางหมู่บ้านเรียกว่า "เพลงด้นหน" มีการเล่นกันทุกงาน ทั้งในงานแห่ครัวตาน (ครัวทาน) ตลอดจนถึงงานศพ จัดว่าเป็นศิลปะชั้นสูงในเพลงของล้านนา เป็นภูมิปัญญาไทยที่ถูกเพี้ยนความหมาย เพราะเพลงปราสาทไหวที่ชาวบ้านเล่นจริงๆจะไม่มีตัวโน้ต มีโทนลีลาพลิ้วไหวตามหัวใจ บ่าวหน้อย-สาวหน้อยพื้นบ้านล้านนา

พิณเพียะ(อ่านว่า พินเปี๊ยะ) มีปรากฏมานานในวรรณคดีไทยภาคอื่นจะบันทึกไว้ว่า" ยินเสียงพะเยียบรรเลงแว่ว..."

คำว่า" พะเยีย" ก็คือ พิณเปี๊ยะ พื้นบ้านล้านนา ซึ่งเวลาฝึกเล่นมันเล่น ยากมาก ต้องเปลือย-อก คือ ไม่นุ่งเสื้อ เพราะต้องเอาส่วนกะลาครอบที่อกด้านซ้ายหรือขวาตามถนัด ส่วนผู้หญิงให้เอาส่วนกะลาครอบช่องท้อง เวลาดีดเสียงดังเพียงเสียงเดียว วงดนตรีพื้นเมืองที่เขากำลังแสดงตามที่ต่างๆ จะเห็นคันไม้ด้ามยาวติดข้อไม้และ กะโหล้ง (กะลา) พร้อมมีสายดีด ที่สำคัญ ปลายด้ามคันถือ เรียกกันว่า “หัวเปี๊ยะ” จะทำด้วยโลหะเช่น ทองเหลือง ขาง เหล็กทำเป็นรูปหัวช้างบ้าง หัวนาคบ้างเพื่อใช้ผูกสาย ดังนั้น บางครั้ง เรามักได้ยินคำว่า " พิณหัวจ๊าง (ช้าง)" ก็คือ “เปี๊ยะ”นั่นเอง คำว่า"เปี๊ยะ"หมายถึง อวด หรือ เอามาแสดง ซึ่งในเพลงคำเมืองปัจจุบัน จะได้ยินเสียง เปี๊ยะดัง สลับกับเสียงปี่บ้าง เสียงซึงบ้าง

พิณเปี๊ยะ หรือ พิณเพียะ เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองลานนาชนิดหนึ่ง เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด ลักษณะของพิณเปี๊ยะ มีคันทวนยาวประมาณ 1 เมตรเศษ ตอนปลายคันทวนทำด้วยเหล็กรูปหัวช้าง ทองเหลือง สำหรับใช้เป็นที่พาดสาย ใช้สายทองเหลืองเป็นพื้น สายทองเหลืองนี้จะพาดผ่านสลักตรงกะลาแล้วต่อไปผูกกับสลักตรงด้านซ้าย สายของพิณเปี๊ยะมีทั้ง 2 สายและ 4 สาย กะโหลกของพิณเปี๊ยะทำด้วยเปลือกน้ำเต้าตัดครึ่งหรือกะลามะพร้าว ก็ได้ เวลาดีด ใช้กะโหลกประกบติดกับหน้าอก ขยับเปิดปิดให้เกิดเสียงตามต้องการ เช่นเดียวกับพิณน้ำเต้าของภาคกลาง ในสมัยก่อนชาวเหนือมักจะใช้พิณเปี๊ยะดีดคลอกับการขับลำนำในขณะที่ไปเที่ยวสาว แต่เกิดการแย่งสาวกันขึ้น จึงใช้พิณเปี๊ยะเป็นอาวุธทำร้ายกันจึงได้มีการห้ามไม่ให้มีการ เล่นเครื่องดนตรีชนิดนี้อีก ทำให้พิณเปี๊ยะไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร

พิณ เพียะ หรือพิณเปี๊ยะ หรือบางทีก็เรียกว่าเพียะหรือเปี๊ยะ มีกล่าวถึงในพงศาวดารลานช้างเป็นทำนองว่าพระมหากษัตริย์ของชนชาวไทยในสมัย โบราณเมื่อครั้งยังตั้งอาณาจักรไทยอยู่ในประเทศจีนตอนใต้ ได้ส่งนักดนตรีนักกลอน และครูละคอนฟ้อนรำลงมาฝึกสอนคนไทยด้วยกันซึ่งอพยพแยกย้ายกันลงมาตั้ง อาณาจักรไทยอยู่ในแหลมอินโดจีนและในการนั้นได้ส่งครูลงมาสอนให้รู้จักทำและ รู้จักเล่นพิณเพียะด้วย

พิณเพียะหรือเพียะก็เป็นของที่ชนชาวไทยรู้จักทำและรู้จักเล่นกันมาแต่เดิม มีกล่าวถึงในกาพย์ขับไม้เรื่องพระรถเสน

เรียกว่า "พิณเพลีย" และกล่าวไว้คล้ายกับว่าเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ร่วมบรรเลงในงานพระราชพิธี มงคลสมโภชด้วยดังนี้




ครั้นได้ฤกษ์ดี จึงเบิกบายศรี สมโภชภูบาล

แตรสังข์เสียงใส พาทย์ฆ้องศรไชย มีทั้งฉิ่งเพลงชาญ

ปี่ขลุ่ยเสียงหวาน จะเข้พิณเพลีย การ ศัพท์คือเพลงสวรรค์




ดูเหมือนในหนังสืออนิรุทธคำฉันท์จะเรียก พิณเพียะว่า "เพยีย" เป็นเครื่องดีดจำพวกพิณเหมือนกันใช้ประกอบขับร้องไป ดีดเสียงประสานไป เช่นกล่าวว่า



"จำเรียงสานเสียง ประอรประเอียง กรกรีด

เพยียทอง เต่งติง เพลงพิณ

ปี่แคนทรลอง สำหรับลบอง ลเบงเฉ่งฉันท์"




ในโคลงกำศรวลศรีปราชญ์เรียกไว้ว่า "เพลี้ย" จะเป็นเครื่องดนตรีชนิดเดียวกันหรือไม่ไม่ทราบ แต่ก็ใช้ดีดประกอบขับร้องเหมือนกัน เช่นที่ว่า



สายาเข้าคว้าเล่น

เดอรดีดเพลี้ยเพลงพาล

สายาอยู่ในถนน

รยมฤา ยงงที่สาวน้อยรู้

หลายกล

รยกชู้

ถามข่าว

รยกขวนน ฯ



ต่อมาฐานะของเจ้าเมืองล้านนาถูกลบล้าง ทำให้ชาววัง นักดนตรีอพยพออกไปอยู่ตามบ้านเรือนทั่วไป แต่ก็นำเพลงปราสาทไหวไปเล่นตามงานต่างๆโดยเฉพาะบ้านศพ เพื่อให้ผู้คนได้ยินเพลงที่ไพเราะได้ฟังให้หายความเศร้า กำจัดความเสียใจออกไป นานวันเข้าเวลาล่วงเลยนับเป็นร้อยพันปี เพลงปราสาทไหวกลายเป็นที่นิยมบรรเลงในงานศพ ผู้คนที่ไมทรายที่มาจึงถือว่าเพลงนี้เป็นเพลงที่เล่นบรรเลงในเฉพะงานศพเท่านั้น ไม่นิยมนำไปเล่นในงานมงคล งานบุญงานกุศล ซึ่งเชื่อกันว่า จะทำให้เสียขวัญ และความเชื่อนี้ ยังมีอยู่ในปัจจุบัน ลุงหนานพรหมมา ได้นำเรื่องมาเล่า บอกกล่าวว่า แท้จริงแล้ว เพลงปราสาทไหว เป็นเพลงล้านนาชั้นครู ผู้คนที่จะเล่นเพลงพื้นเมืองล้านนา ต้องเล่นเพลงนี้เป็นทุกคน หรือแม้แต่การประกวดแข่งขันกรรมการจะต้องให้ทุกวงเล่นเพลงนี้เป็นเพลงบังคับ หากผู้คนสมัยใหม่ไม่ศึกษา ผะหญาปัญญา บรรพบุรุษให้ถ่องแท้แล้ว ย่อมส่งผลเสียแก่คุณค่าทาง ผะหญาของบรรพชนโดยแท้ ผู้สนใจฟังเพลงปราสาทไหว ได้ที่เว็บไซต์ http://thaipoet.my-place.us/song.html

แบบแผนดนตรีในอนิรุทธคำฉันท์ว่า

๏ จำเรียงสานเสียง

ประอรประเอียง กรกรีดเพยียทอง

เต่งติงเพลงพิณ ปี่แคนทรลอง

สำหรับลบอง ลเบงเฉ่งฉันท์

๏ ระงมดนตรี

คือเสียงกระวี สำเนียงนิรันดร์

บรรสานเสียงถวาย เยียผลัดเปลี่ยนกัน

แลพวกแลพรรค์ บรรสานเสียงดูริย์


ข้อความที่บอกว่า “ระงมดนตรี” และ “บรรสานเสียงดูริย์” ในอนิรุทธคำฉันท์ ก็คือชื่อ

“ดุริยดนตรี” มีหน้าที่ “สำหรับลบอง ลเบงเฉ่งฉันท์” สอดคล้องกับข้อความในสมุทรโฆษคำฉันท์อีกว่า

“ค้อมสงัดเสียงดุริยดั่งคม ด้อมสงัดสาวสนม อันจาวจำเรียงเสียงฉันท์”

“เพลี้ย” อันเป็นเครื่องมือที่สามัญชนในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นใช้ดีดเกี้ยวพาราสีกันและในพงศาวดารล้านช้างเรียก “เพี้ยะ”

“เพยีย” หมายถึง เพียะหรือเปี๊ยะซึ่งยังมีใช้และเรียกอยู่ในท้องถิ่นล้านนาทุกวันนี้


ในโคลงกำสรวลสมุทรกล่าวว่า “ฤๅกล่าวคำหลวงอ้า อ่อนแกล้งเกลาฉันท์” หมายถึงการสวดหรืออ่านฉันท์เป็นทำนอง (เสนาะ) โดยมี “ดนตรี” เป็นเครื่องมือบันลือบรรเลงคลอ แบบแผนของ “ดนตรี” มีเครื่องมือโดยรวมๆ น้อยชิ้นได้แก่ “ พิณ ” คือ เครื่องดีดทั่วๆไป รวมทั้ง “เพยีย” และ “ติง” รวมทั้งที่ปรากฏในกฎมณเทียรบาล อีกว่า กระจับปี่ และ จะเข้

“ ทร ” ตรงกับ “ซอ” ในกฎมณเทียรบาลมีคำว่า “สีซอ” หมายถึง เครื่องสี ในนิราศหริภุญชัย เขียนว่า “ทร้อ” ตรงกับคำว่า “สะล้อ” ของท้องถิ่นล้านนา ในข้อความที่ว่า “ปี่แคนทรลอง” มีความหมายว่าท้องถิ่นล้านนา มีการขับ หรือ ร้องเพลง เช่น “ขับซอยอยศ” ในลิลิตพระลอ ในกลุ่มชาวไทยใหญ่ มีคำว่า “ซอ” แปลว่า ร้องเพลงเมื่อประกอบเครื่องมือใดๆ ก็ออกชื่อเครื่องมือใดๆ ก็ออกชื่อเครื่องมือนั้นๆ ด้วย เช่น ซอปี่ ซอซึง ซอเปียะ ฯลฯ หาก การซอ หรือ ร้อง นั้น มีเครื่องทำจังหวะ เช่น กรับ



“ พิณ เพียะ” มีลักษณะคล้ายพิณน้ำเต้า แต่ “ พิณ เพียะ” ทำเพิ่มขึ้นเป็น ๒ สาย และ ๔ สาย ก็มี คันทวนยาว ประมาณ๑เมตรเศษ ลูกบิดก็ยาวประมาณ ๑๘ ซม. ใช้เชือกคล้องสายผูกโยงไว้กับทวนสำหรับเร่งเสียงเหมือนกับ พิณน้ำเต้า กะโหลกก็ทำด้วยเปลือกลูกน้ำเต้าตัดครึ่งลูกก็มี ทำด้วยกะลามะพร้าวก็มีเวลาดีดก็เอากะโหลกประกบติดไว้กับหน้าอกขยับเปิดปิด เพื่อให้เกิดเสียงก้องกังวานตามต้องการ เช่นเดียวกับดีดพิณน้ำเต้า ตามที่ปรากฏในท้องถิ่นภาคเหนือผู้เล่นมักจะดีดคลอขับร้องของตนเองและนิยม เล่นในขณะที่ไปเที่ยวเกี้ยวสาวตามหมู่บ้านในเวลาค่ำคืน เดี๋ยวนี้หาผู้ที่เล่นได้ยากแล้วแต่ยังพอมีพี่น้องชาวไทยทางภาคเหนือของ ประเทศไทยเล่นได้บ้าง ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมีเครื่องสายชนิดหนึ่งบอกไว้ว่า พิณเพียะ แต่ใช้ไม้จริงชนิดเบาทำเป็นกะโหลก ยาวตั้งแต่กะโหลกจนตลอดคันทวนประมาณ ๑.๒๒ เมตร แกะสลักฝังงาลงไปในเนื้อไม้เป็นลวดลายแพรวพราว ตัวกะโหลกกว้างประมาณ ๒๘ ซม. คันทวนแบนใหญ่กว้างประมาณ ๔๘ ซม. มีสายถึง ๕ สาย

วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ค่าวซอ

ค่าวซอ คือ การแสดงศิลปวัฒนธรรมล้านนาประจำท้องถิ่น เกี่ยวกับ จ๊อยซอ หรือค่าวคอ การละเล่นจ๊อยตีข้าว มักจะเล่นกันในงานประเพณีขึ้นธาตุเดือน 9 ที่มาของค่าวล้านนา เป็นการนำเอาฉันทลักษณ์ประเภทค่าวซอมาแต่งเป็นวรรณกรรมนั้น ได้เริ่มขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2400 เป็นต้นมา โดยที่พระยาโลมาวิสัยแต่งค่าวซอ เรื่อง “หงส์ผาคำ” เป็นเรื่องแรก จากการศึกษาของ ฉัตรยุพา สวัสดิ์พงษ์ นั้น ได้กล่าวว่าพระยาโลมาวิสัยน่าจะเป็นผู้แต่งค่าวซอ เรื่อง “เจ้าสุวัตรนางบัวคำ” อีกด้วย หากเป็นเช่นนี้จริง ก็อาจเป็นเพราะว่าเมื่อพระยาโลมาวิสัยเห็นว่าค่าวซอเรื่อง หงส์ผาคำ ได้รับการต้อนรับอย่างดี จึงมีกำลังใจที่จะนำเอาชาดกนอกนิบาตมาแต่งเป็นค่าวซอเรื่อง เจ้าสุวัตรนางบัวคำ ในเวลาต่อมาความนิยมฉันทลักษณ์ประเภทค่าวนี้เห็นได้ชัดจากการที่ พระยาพรหมโวหารได้แต่ง ค่าวสี่บท หรือ ค่าวร่ำนางงาม หรือ ค่าวร่ำนางศรีชม เพื่อเป็นการใช้เสน่ห์แห่งกวีนิพนธ์ ดึงดูดนางชมที่หนีไปนั้น ให้หวนกลับมาหาตนอีกครั้งหนึ่ง และสำนวนการเขียนของพระยาพรหมโวหารในครั้งนั้น (ประมาณ พ.ศ. 2480 – 2490) ก็เป็นสำนวนโวหารนั้นเป็นที่จดจำกันอย่างแพร่หลาย และ เนื่องจากการแต่งค่าวซอนั้นไม่ต้องใช้ความรู้ทางอักษรศาสตร์มากนัก จึงเป็นเหตุให้ผู้นิยมฟังการ “เล่าค่าว – การขับทำนองเสนาะ” และการแต่งค่าว อย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา โดยเฉพาะช่วงที่ยังไม่มีการพิมพ์อักษรล้านนานั้น บรรดาผู้ที่สนใจในตำราหรือกวีนิพนธ์ก็จะคัดลอกเอกสารเหล่านั้นต่อ ๆ กันไป ซึ่งเป็นเหตุให้เอกสารเหล่านั้นคลาดเคลื่อนไปจากต้นฉบับได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ยังมีค่าวซออีกหลายเรื่องที่ยังตกสำรวจอยู่ คร่าว, ฅ่าว (อ่านว่า "ค่าว") เป็นฉันทลักษณ์ที่ชาวบ้านล้านนานิยมใช้กันมากที่สุด ดังจะเห็นได้จากการใช้คำประพันธ์ประเภทนี้อย่างกว้างขวาง คือใช้ในการแต่ง - คร่าวก้อม ซึ่งเป็นโวหารที่กินใจ หรือ สุภาษิตสั้นๆ ที่มักใช้ประกอบการสนทนา - คำคร่าว คำเครือ เป็นสำนวนแบบฉบับที่หนุ่มสาวใช้เจรจาเป็นโวหารรัก - คร่าวใช้ เป็นจดหมายที่มีไปมาระหว่างหนุ่มสาว เทียบได้กับเพลงยาวของภาคกลาง - คร่าวร่ำ ใช้พรรณนาเหตุการณ์ต่างๆ คล้ายกับจดหมายเหตุ เช่น คร่าวร่ำน้ำนอง คร่าวร่ำครัวทานสลากย้อม คร่าวร่ำครูบา    ศรีวิชัย - คร่าวธัมม์ ใช้ในการแต่งเรื่องชาดก ซึ่งมีลักษณะคล้ายเรื่องประเภท จักรๆวงศ์ๆ เพื่ออ่านและ    เล่าสู่กันฟังทั่วไป เช่น หงส์หิน เจ้าสุวัตรนางบัวฅำ ก่ำกาดำ เป็นต้น คร่าว 1 บท มี 3 บาท (3 บรรทัด) บาทละ 4 วรรค โดยในบทเริ่มต้นจะแตกต่างจากบทที่สองและต่อๆไป ผู้แต่งสามารถแต่งคร่าวได้      โดยไม่จำกัดความยาว แต่ในกรณีที่แต่ง คร่าวร่ำ คร่าวใช้ และ คร่าวธัมม์ หรือ วรรณกรรมชาดก           ที่นำมาแต่งด้วยคร่าวนั้น มักจะลงท้ายด้วยโคลงสอง


ตัวอย่างค่าวบทที่ 1 “ สะหลียินดี หมู่พี่หมู่น้อง ที่มาอ่านถ้อง ค่าวซอเป๋นสาย หลายเมืองแท้นั้น เมืองน่านมาก๋าย เชียงใหม่เชียงราย มาร่วมสืบสร้าง ตึงแม่ฮ่องสอน เมืองแพร่เคียงข้าง เชิญชวนหมู่เฮา พร้อมพรัก ”

ตัวอย่างค่าวบทที่ 2 “ ลำพูนลำปาง ก็ว่างมาทัก พะเยาร่วมเข้า มาไจ มาแต่งค่าวจ๊อย ม่วนงันหัวใจ๋ เชิญมาทางใน หมั่นแวะหมั่นเข้า ค่าวซอของเฮา ตึงดีแท้เจ้า มาเต๊อะเชิญมา ช่วยค้ำ ”


การแต่งค่าวแบบง่าย ( ค่าว 7 บรรทัด )


สะหลียินดี ปี้น้องตังหลาย บ่ว่าหญิงจาย บ่าวจี๋บ่าวหน้อย
เรียงกั๋นเข้ามา เป็นสายเป๋นถ้อย ป้อหนาน ป้อหน้อยก็มา
เจิญเลยเน้อนะเจ้า วงศ์ญาติก๋า แต่งค่าวส่งมา ติยากล่าวแจ้ง
ส่งมานัก ๆ ข้าบ่ได้แคล้ง จ่มว่าหื้ออันใด


" คดมาตั้งเพ้ อย่าฟั่งถอยไกล๋ จักตกขันได ปะใส่หมาหน้อย ปะใส่หมาหน้อย"
ก็ขอเจิญจวน ป้อแม่น้องสาวคำสร้อย หื้อมาผ่อกอย พ่องเต๊อะ
คนแต่งบ่เป๋น ตึงมีป่าเล้อะ มาเต๊อะแวะเข้า มาไจ

อันคนแต่งนั้น ตึงบ่ไปไหน อยู่ต๋ามคันได ใกล้ใกล้แถวหนี้
มาเต๊อะเชิญมา บ่สับปะหลี้ มาอ่านมาฟัง ค่าวนี้
ข้าเจ้าขอกล่าว ขอจ๋ากล่าวจี้ ฮักในค่าวสร้อย เนอนาย
เข้ามาเมื่อเจ๊า จ๋นฮอดถึงขวาย และผ่านเลยไป เมื่อแลงแล้วเจ้า.....


" ดีใจ๋แท้ทัก บรรจงเอิ้นถาม อู้มาเป็นกำ เรื่องแต่งค่าวสร้อย
ข้าเจ้าละอ่อน ผญายังน้อย ฮักในค่าวซอ เจ้นล้ำ
ผ่อไปตางใด ไผบ่ช่วยก๊ำ กลั๋วว่าค่าวสร้อย หายไป
ลองแต่งผ่อนั้น เอาหื้อสหาย อ่านแล้วคำจาย ใช้ได้ว่าอั้น
ข้าเจ้าได้แต่งแหม บ่มีขีดขั้น ตึงญิงตึงจาย ช่วยค๊ำ
เมื่อแต่งแล้วหนา เปิ้นว่าเก่งล้ำ อยากสอนคนเข้า มาไจ
แต่งค่าวกั๋นเต๊อะ ขอหื้อขะไจ๋ แต่งค่าวออกไป ม่วนงันเน้อเจ้า.."


แนะนำการแต่งค่าวแบบง่าย ( ค่าว 7 บรรทัด )

การแต่งค่าวของโบราณนานมาในภาษาล้านนา( ตั๋วเมือง )วรรณกรรมล้านนา( ค่าว ) และดนตรีล้านนา
“ การแต่งค่าว“ ครูที่สอนภาษาไทยหรือแต่งกลอนเป็น
ถ้าประสงค์จะหัดแต่งค่าวเพื่อเป็นการสืบเจตนารมณ์ของ
พญาพรหมโวหารซึ่งสังคมได้ยกย่องให้ท่านเป็นบิดาของการแต่งค่าว

การแต่งค่าวแบบง่าย

ความหมายของค่าว

1.ค่าวคืออะไร

“ ค่าว “ หมายถึงคำประพันธ์ที่มีลักษณะร้อยสัมผัสสอดเกี่ยวกันไป ( แบบร่าย )
และจบลงด้วยโคลงสองหรือโคลงสามสุภาพ มีหลายชนิดคือ
เรื่องที่ปรากฏในเทศนาธรรม เรียกว่า “ ค่าวธรรม “
ถ้าแต่งเป็นจดหมายรักเรียกว่า “ ค่าวใช้ “
ถ้านำไปอ่านเป็นทำนองเสนาะเรียกว่า
“ค่าวซอ “หรือ”เล่าค่าว “ และ   
ถ้าหากเป็นการขับลำนำตอนไปแอ่วสาวเรียกว่า “จ๊อย”
แม้ชาวบ้านทีพูดคล้องจองกันเรียกว่า “อู้เป็นค่าวเป็นเครือ “


2. คุณสมบัติของนักแต่งค่าว มีดังนี้

     1 ) มีใจรักในการแต่งค่าวและเป็นคนละเอียดอ่อน

     2 ) ถ้าแต่งกลอนเป็น จะแต่งค่าวได้ง่ายขึ้น

     3 ) รู้ฉันทลักษณ์ สัมผัส และเสียงวรรณยุกต์ของค่าว

     4 ) แยกเสียงโทและเสียงตรีออก จะทำให้แต่งค่าวได้ไพเราะยิ่งขึ้น


3.สำนวนค่าว มี 3 ส่วน คือ บทขึ้นต้น , บทดำเนินเรื่อง และบทสุดท้าย


4. ฉันทลักษณ์ของค่าว มีดังนี้

     1 ) ค่าว 1 บท มี 3 บาท ( 3 บรรทัด ) บาทละ 4 วรรค

     2 ) สามวรรคแรกมี 4 คำ ส่วนวรรคที่สี่ มี 2 – 4 คำ

     3 ) บังคับเสียงวรรณยุกต์สามัญ , โท , ตรี และจัตวา

     4 ) การส่งสัมผัสประกอบด้วย สัมผัสระหว่างวรรคและสัมผัสระหว่างบาท

           สัมผัสระหว่างวรรคส่งจากวรรคท้ายวรรคที่สอง ไปยังคำท้ายวรรคที่สามของทุกบาท

     5 ) บังคับเสียงวรรณยุกต์สามัญ , โท , ตรี และจัตวา ตามตำแหน่งที่กำหนด


5. ผังค่าวแบบง่าย ( 7 บรรทัด )

     ( บทขึ้นต้น )

OOOO OOOO OOOO OOOO

OOOO OOOO OOOO OOOO

OOOO OOOO OOOO OO

    ( บทดำเนินเรื่อง - จะมีกี่บทก็ได้ )

OOOO OOOO OOOO OO

OOOO OOOO OOOO OOOO ( เหมือนบรรทัดที่ 2 )

OOOO OOOO OOOO OO ( เหมือนบรรทัดที่ 3 )

      ( บทสุดท้าย )

OOOO OOOO OOOO OO(OO )



การแต่งค่าวบทขึ้นต้น

    บทขึ้นต้น หรือ บทที่ 1 มี 3 บาท ( 3 บรรทัด ) บาทละ 4 วรรค

     2.1 ผังค่าว ( บทที่ 1 )

OOOO OOOO OOOO OOOO

OOOO OOOO OOOO OOOO

OOOO OOOO OOOO OO

      2.2 การสัมผัส

            * ตัวอย่าง

“ สะหลียินดี หมู่จุมพี่น้อง ที่มาอ่านถ้อง ค่าวซอเป๋นสาย

หลายเมืองแท้นั้น เมืองน่านมาก๋าย เชียงใหม่เชียงราย มาร่วมสืบสร้าง

ตึงแม่ฮ่องสอน มาช่วยก่อตั้ง เชิญชวนหมู่เฮา พร้อมพรัก ”

            * การสัมผัสมีดังนี้

             1 ) ( น้อง ) ในบรรทัดที่หนึ่ง สัมผัสกับ ( ถ้อง ) ในบรรทัดที่หนึ่ง

                   ( สาย ) ในบรรทัดที่หนึ่ง สัมผัสกับ ( ก๋าย ) ในบรรทัดที่สอง

              2 ) ( ก๋าย ) บรรทัดที่สอง สัมผัสกับ ( ราย ) ในบรรทัดที่สอง

              3 ) ( สร้าง ) บรรทัดที่สอง สัมผัสกับ ( ตั้ง ) ในบรรทัดที่สาม

         2.3 การบังคับวรรณยุกต์ - ดังตัวอย่างต่อไปนี้

“ สะหลียินดี หมู่จุมพี่น้อง ที่มาอ่านถ้อง ค่าวซอเป๋นสาย

หลายเมืองแท้นั้น เมืองน่านมาก๋าย เชียงใหม่เชียงราย มาร่วมสืบสร้าง

ตึงแม่ฮ่องสอน มาช่วยก่อตั้ง เชิญชวนหมู่เฮา พร้อมพรัก ”

1.( สะหลียินดี ) วรรคหนึ่ง - ไม่บังคับ -

( หมู่จุมพี่น้อง ) วรรคสอง เสียงตรี ( น้อง )

( ที่มาอ่านถ้อง ) วรรคสาม เสียงโท ( ถ้อง )

( ค่าวซอเป๋นสาย ) วรรคสี่ เสียงจัตวา ( สาย )


2.( หลายเมืองแท้นั้น ) วรรคหนึ่ง – บังคับเสียงตรี ( นั้น )

( เมืองน่านมาก๋าย ) วรรคสอง บังคับเสียงจัตวา ( ก๋าย )

( เชียงใหม่เชียงราย ) วรรคสาม บังคับเสียงสามัญ ( ราย )

( มาร่วมสืบสร้าง ) วรรคสี่ บังคับเสียงโท ( สร้าง )


3.( ตึงแม่ฮ่องสอน ) วรรคหนึ่ง - ไม่บังคับ -

( มาช่วยก่อตั้ง ) วรรคสอง บังคับเสียงโท ( ตั้ง )

( เชิญชวนหมู่เฮา ) วรรคสาม บังคับเสียงสามัญ ( เฮา )

( พร้อมพรัก ) วรรคสี่ บังคับเสียงตรี ( พรัก )


การแต่งค่าวบทดำเนินเรื่อง

3. 1ผังค่าวบทดำเนินเรื่อง ( บทที่ 2 เป็นต้นไป)

OOOO OOOO OOOO OO

OOOO OOOO OOOO OOOO

OOOO OOOO OOOO OO

3.2 การสัมผัส - ดังตัวอย่างต่อไปนี้

“ ลำพูนลำปาง เมืองแพร่แท้ทัก พะเยาร่วมเข้า มาไจ

มาแต่งค่าวจ๊อย ม่วนงันหัวใจ๋ เชิญมาทางใน หมั่นแวะหมั่นเข้า

ค่าวซอของเฮา ตึงดีแท้เจ้า มาเต๊อะเชิญมา ช่วยค้ำ ”

* การสัมผัส มีดังนี้

1. ( ไจ) บรรทัดที่หนึ่ง สัมผัสกับ ( ใจ๋ ) ในบรรทัดที่สอง

2. ( ใจ๋ ) บรรทัดที่สอง สัมผัสกับ ( ใน ) ในบรรทัดที่สอง

3. ( เข้า ) บรรทัดที่สอง สัมผัสกับ ( เจ้า ) ในบรรทัดที่สาม

3.3 การบังคับวรรณยุกต์ - ดังตัวอย่างต่อไปนี้

“ ลำพูนลำปาง เมืองแพร่แท้ทัก พะเยาร่วมเข้า มาไจ

มาแต่งค่าวจ๊อย ม่วนงันหัวใจ๋ เชิญมาทางใน หมั่นแวะหมั่นเข้า

ค่าวซอของเฮา ตึงดีแท้เจ้า มาเต๊อะเชิญมา ช่วยค้ำ ”

1.( ลำพูนลำปาง )วรรคหนึ่ง - ไม่บังคับ -

( เมืองแพร่แท้ทัก ) วรรคสอง บังคับเสียงตรี ( ทัก )

( พะเยาร่วมเข้า ) วรรคสาม บังคับเสียงโท ( เข้า )

( มาไจ ) วรรคสี่ บังคับเสียงสามัญ ( ไจ )

2.( มาแต่งค่าวจ๊อย ) วรรคหนึ่ง – บังคับเสียงตรี ( จ๊อย )

( ม่วนงันหัวใจ๋ ) วรรคสอง บังคับเสียงจัตวา ( ใจ๋ )

( เชิญมาทางใน ) วรรคสาม บังคับเสียงสามัญ ( ใน )

( หมั่นแวะหมั่นเข้า ) วรรคสี่ บังคับเสียงโท ( เข้า )

3.( ค่าวซอของเฮา ) วรรคหนึ่ง - ไม่บังคับ -

( ตึงดีแท้เจ้า ) วรรคสอง บังคับเสียงโท ( เจ้า )

( มาเต๊อะเชิญมา ) วรรคสาม บังคับเสียงสามัญ ( มา )

( ช่วยค้ำ ) วรรคสี่ บังคับเสียงตรี ( ค้ำ )


การแต่งค่าวบทสุดท้าย

ค่าวบทสุดท้าย ไม่มีฉันทลักษณ์บังคับตายตัว ในตอนท้ายมักจะจบว่า " ก่อนแล "

หรือ" ก่อนแลนายเหย "

* ผังค่าวบทสุดท้าย

OOOO OOOO OOOO OO(OO )
* ตัวอย่าง

“ จบค่าวแนวคำ สุดเสี้ยงเพียงนี้ มอกอี้ขอวางลง ก่อนแลนายเหย. ”

บทที่ 5 ตัวอย่างสำนวนค่าวแบบง่าย

ตัวอย่างสำนวนค่าวแบบง่าย ( ค่าว 7 บรรทัด ) มีดังนี้

* ค่าวสะหลียินดี

“ สะหลียินดี หมู่จุมพี่น้อง ที่มาอ่านถ้อง ค่าวซอเป๋นสาย

หลายเมืองแท้นั้น เมืองน่านมาก๋าย เชียงใหม่เชียงราย มาร่วมสืบสร้าง

ตึงแม่ฮ่อนสอน มาช่วยก่อตั้ง เชิญชวนหมู่เฮา พร้อมพรัก

ลำพูนลำปาง เมืองแพร่แท้ทัก พะเยาร่วมเข้า มาไจ

มาแต่งค่าวจ๊อย ม่วนงันหัวใจ๋ เชิญมาทางใน หมั่นแวะหมั่นเข้า

ค่าวซอของเฮา ตึงดีแท้เจ้า มาเต๊อะเชิญมา ช่วยค้ำ

จบค่าวแนวคำ สุดเสี้ยงเพียงนี้ มอกอี้ขอวางลง ก่อนแลนายเหย. ”



การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก

1. จัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนขนาดเล็ก



- จำนวนนักเรียนแยกตามระดับชั้น – จำนวนครูเทียบต่อเกณฑ์ ต่อชั้นเรียน



-ลักษณะการจัดชั้นเรียน- จำนวนงบประมาณจากภาครัฐและเอกชน - จำนวนอุปกรณ์และเทคโนโลยี - นวัตกรรมจุดเด่นของโรงเรียน - ความต้องการความช่วยเหลือ เป็นต้น



2. โรงเรียนขนาดเล็กทำแผนพัฒนาคุณภาพของตนโดยวิเคราะห์จุดเด่น จุดพัฒนา กำหนดเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนา



บทที่ 1 บทนำ



สภาพทั่วไปของโรงเรียน , วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์,สภาพการจัดการศึกษา

บทที่ 2 ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนขนาดเล็ก, นโยบายของโรงเรียน, โครงสร้างการบริหารจัดการ



โรงเรียนขนาดเล็ก



บทที่ 3 แนวทางการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก ,ยุทธศาสตร์ ,โครงการต่างๆ



3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก



4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก วิเคราะห์จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก ให้มีความสอดคล้องกับความต้องการ เหมาะสมกับสภาพโรงเรียน เหมาะสมกับงบประมาณ โดยมีรูปแบบที่หลากหลาย



ส่วนที่ 1 สภาพปัจจุบันและปัญหา



ความเป็นมา, วัตถุประสงค์,เป้าหมาย,ข้อมูลพื้นฐาน,แนวทางการแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก





ส่วนที่ 2 ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา



บทที่ 3 ยุทธศาสตร์และเงื่อนไขสู่ความสำเร็จ



5. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก นิเทศติดตามการดำเนินการให้การสนับสนุน ประสานงาน ช่วยเหลือ



6. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก สรุปรายงานผลการพัฒนาในหลากหลายองค์ประกอบ ค้นหาโรงเรียนเด่นนำเสนอเป็น BEST PRATICE



7. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก รวบรวมภาพ กิจกรรมของโรงเรียนขนาดเล็ก นำเสนอสรุปรายงาน กำหนดภาพความสำเร็จ กำหนดประเด็นปัญหา และแนวทางการพัฒนาในอนาคต

เขียนโดย กัญจนณัฐ ปัญญาลิขิตกุล ที่ 6:14 ก่อนเที่ยง 0 ความคิดเห็น

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เพลงวัยใส วัดคลองโพธิ์

กัญจนณัฐ ปัญญาลิขิตกุล - เขียนคำ

ท่อน ๑ // - - - ม - ซ - ม - ซ - ม - ม - ม - - - ร - ม - ร - ม - ร - - ร - - - ร

- - - เรา - รัก - เรา - รัก - สาย - ธา - รา - - - เรา - รัก - เรา - รัก - แผ่น - ฟ้า - - กว้าง

- - - ด - ร - ด - ร - ด - ด - ด - - - ล - ด - ล - ด - ล - - ล - -- - -ล

- - - เรา - รัก - เรา - รัก - ดวง - ตา - วัน - - - เรา - รัก - เรา - รัก - ท้อง - ทะ- เล

ท่อน ๑ // - - - เรา - รัก - เรา - รัก - บิ ดา มาร - ดา - - - เรา - รัก - เรา - รัก - ครู อา - จารย์

- - - ด - ร - ด - ร - ด - ด - ด - - - ล - ด - ล - ด - ล - - ล- - - - ล

- - - เรา - รัก - เรา - รัก - ส ถา - บัน - - - เรา - รัก - เรา - รัก - เรา - รวม- ใจ

ท่อน ๒ // - - - ม - ซ ล ม - ซ ล ม - ม - ม - - - ร - ซ ล ร - ซ ล ร - - - ร- - ร
มี ความ รัก มี ความ รัก เสมอ มา มี ความ รัก มี ความ รัก เข้า ใจ กัน

- - - ด - ร ม ด - ร ม ด - ด - ด - - - ล - ด ร ล - ด ร - ล - --ล--ล

มี ความ รัก มี ความ รัก ความ ผูก พัน มี ความ รัก มี ความ รัก ฉัน คือ เธอ

ท่อน ๒ // - - - ม - ซ ล ม - ซ ล ม - ม - ม - - - ร - ซ ล ร - ซ ล  ร - - ร- - - ร

มี ความ รัก มี ความ รัก ภัก ดี รวม มี ความ รัก มี ความ รัก รวม ใจ กัน

- - - ด - ร ม ด - ร ม ด - ด - ด - - - ล - ด ร ล - ด ร ล - - - ล - - -ล

มี ความ รัก มี ความ รัก ภัก ดี ธรรม มี ความ รัก มี ความ รัก ภักดิ์ - รวม- ใจ

ท่อน ๓ // - - - ม - ซ ล ด ม ซ ล ด - ม ม ม - - - ร ซ ล ด ร ซ ล ด ร - - ร - - ร

มี ความ รัก นั้น มี ความ รัก นั้น ดล บัน ดาล มี ความ รัก นั้น มี ความ รัก นั้น ผุก พัน กัน

- - - ด ร ม ซ ด ร ม ซ ด - ด - ด - - - ล ด ร ม ล ด ร ม ล- - - - ล- - ล

- - - มี ความ รัก นั้น มี ความ รัก นั้น - เข้า ใจ กัน - - - มี ความ รัก นั้น มี ความ รัก นั้น ใจ เดียว - กัน

ท่อน ๓ // - - - ม - ซ ล ด ม ซ ล ด - ม ม ม - - - ร ซ ล ด ร ซ ล ด ร - - - ร- - ร

- - - มี ความ รัก แล้ว มี ความ รัก แล้ว - มี ความ ดี - - - มี ความ รัก แล้ว มี ความ รัก แล้ว มี คุณ - ธรรม

- - - ด ร ม ซ ด ร ม ซ ด - ด - ด - - - ล ด ร ม ล ด ร ม ล - - - ล- - ล

- - - มี ความ รัก แล้ว มี ความ รัก แล้ว ไม่ คลาด - แคล้ว กัน - - - มี ความ รัก แล้ว มี ความ รัก แล้ว คลาด แคล้ว - ภัย

ท่อน ๔ // - - ซ ม ร ด ร ม ร ด ร ม ร ม - ม - - ม ร ด ล ด ร ด ล ด ร ด - ร- ร - - ร

- - รัก เรา พัน ผูก ดวง ใจ พัน ผูก ดวง ใจ มี ใจ - ตรง - - กัน รัก เรา พัน ผูก ดวง ใจ พัน ผูก ดวง เข้า ใจ กัน

- - ร ด ล ซ ล ด ล ซ ล ด ล ด - ด - - ด ล ซ ม ซ ล ซ ม ซ ล ซ - ล- ล - - ล

- - รัก เรา ส มัคร ส มาน ส มัคร ส มาน ประ สาน - ใจ - - กัน มา รวม ใจ กัน มา รวม ใจ กัน มา รวม ใจ- รัก

ท่อน ๔ // - - ซ ม ร ด ร ม ร ด ร ม ร ม - ม - - ม ร ด ล ด ร ด ล ด ร ด  ร  - ร - - ร

- - รัก เรา พัน ผูก ดวง ใจ พัน ผูก ดวง ใจ มี ใจ - ตรง - - กัน รัก เรา พัน ผูก ดวง ใจ พัน ผูก ดวง ใจ เข้า ใจ กัน

- - ร ด ล ซ ล ด ล ซ ล ด ล ด - ด - - ด ล ซ ม ซ ล ซ ม ซ ล ซ   ล -  - ล

- - รัก เรา พัน ผูก ดวง ใจ พัน ผูก ดวง ใจ อยู่ ทุก - คืน - - วัน คือ ลม หาย ใจ คือ ลม หาย ใจ คือ ใจ ดวง เดิม


วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ประเพณีการทำขวัญนา




























จากการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านศาสนาและประเพณี ในจังหวัดนครนายก พบว่า มีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าศึกษา คือ นางเอิบ ใจหอม ซึ่งมีอาชีพเป็นหมอขวัญในการทำขวัญนา






ประเพณีการทำขวัญนา
1.ชื่อบุคคล / แหล่งภูมิปัญญา คือ นางเอิบ ใจหอม
2.ที่อยู่ / ที่ตั้งของภูมิปัญญา 70 ม.3 ต.ท่าทราย อ.เมืองฯ จ.นครนายก
3.ประวัติความเป็นมา / องค์ความรู้ของภูมิปัญญา






พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลท่าทรายเป็นที่ราบลุ่มอยู่ติดริมแม่น้ำนครนายก ฤดูฝนจะมีน้ำหลาก ไหลมาจากภูเขา น้ำจะพัดเอาหน้าดินมาท่วมสวนไร่นาจึงทำให้ดินดี อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลุก ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร ทำนา ทำสวน มาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยเฉพาะการทำนา บรรพบุรุษได้ยึดถือประเพณีทำขวัญนาในระยะข้าวตั้งท้อง และทำเป็นประเพณีสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน
4.ความสำคัญ / ประโยชน์ของภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเพณีทำขวัญนาเป็นประเพณีที่ทำสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน ทำให้ผู้ที่มีอาชีพทำนามีขวัญและกำลังใจ เป็นศิริมลคลต่อผืนนาที่เป็นแหล่งทำมาหากิน ผู้ทำสบายใจและมีความหวังว่าผลผลิตจะดีมีกำไรสูง เป็นการเสริมสร้างกำลังใจในการประกอบอาชีพ
5.ขั้นตอน / วิธีการถ่ายทอดความรู้
- จักไม้ไผ่สานเรือนข้าว เสาทำจากไม้ไผ่ 1 ลำ ผ่าเป็น 4 แฉก

- นำไม้จริงเป็นพื้นเรือน เจาะรู 4 รู เสียบลงบนเสาไม้ไผ่ แล้วสานเป็นหลังคาเรือนไทย นำธงกระดาษสีต่างๆ มาตกแต่งบนหลังคาให้สวยงาม

-เตรียมเครื่องอัญเชิญแม่โพสพขึ้นเรือน มีกล้วยน้ำว้า 1 ผล อ้อยท่อนเล็กๆ 1 ท่อน ส้มเขียวหวานหรือส้มโอ 2 -3 กลีบ ถั่วงากวนกับน้ำตาล1 ชิ้น (หรือถั่วตัดก็ได้) บางบ้านมี ข้าวเหนียวแดง ขนมต้มแดงขนมต้มขาวก็ดี มันเทศดิบ 1 หัว แป้งหอม น้ำมันใส่ผม ขวดน้ำเล็กๆ ผูกติดกับเสาเรือน ธูป 3 ดอก เทียน 1 เล่ม ดอกไม้ 3 ดอก ผ้าขาวม้า 1 ผืน ผ้าซิ่น 1 ผืน หวีและกระจก สร้อยทองจริง 1 เส้น ของทุกอย่างวางบนเรือน
-ผู้ทำพิธีต้องเป็นผู้หญิง ทำพิธีคนเดียว แต่งตัวทาแป้ง มีดอกไม้ทัดหู ให้สวยงามทำพิธีในวันศุกร์เวลาใดที่สะดวกในระยะข้าวกำลังตั้งท้อง (ระยะที่แม่โพสพแพ้ท้อง) นำเรือนไทยที่เตรียมไว้ไปปักในนาข้าว แล้วนั่งยองๆ ตั้งนะโม 3 จบ และท่องว่า "แม่โพศรี แม่โพสพ นางนพดารา แม่จันทร์เทวี แม่ศรีสุดา สูมาแม่มา เชิญแม่มาขึ้นบันไดแก้วบันไดทอง อากะ ถายะ อากะ ถาหิ แล้วกู่ดังๆ 3 ครั้ง (วู้ว์.....................วู้ว์.....................วู้ว์.....................) แล้วเอาผ้าขาวม้าโบกเรียก 3 ครั้ง เพื่อเชิญแม่โพสพขึ้นเรือน แม้จะนำข้าวเข้ามาเก็บในยุ้งฉาง ในบ้านก็ต้องกู่เรียกดังๆ 3 ครั้ง เพื่อเชิญแม่โพสพเข้าบ้านมาด้วย หรือถ้าจะนำข้าวขายที่ลานในทุ่งนาเลยก็ต้องกำข้าวไว้ 1 กำแล้วกู่เรียกดังๆ 3 ครั้ง เพื่อเชิญแม่โพสพกลับบ้าน เดี๋ยวแม่โพสพ จะต้องอยู่กลางแดดกลางฝนเพราะไม่มีเรือนข้าวแล้ว
หมายเหตุ มีเรื่องเล่ากันว่า สาเหตุที่ผู้ทำพิธีต้องเป็นผู้หญิงและทำคนเดียวก็เพราะสมัยก่อนมีผู้ชายร่วมทำพิธีด้วย ขณะทำพิธีแม่โพสพปรากฏตัวให้เห็น เมื่อผู้ชายเห็นมีผู้หญิงหน้าตาสวยงามก็พูดจาเกี้ยว ทำให้แม่โพสพโกรธ ตั้งแต่นั้นมาแม่โพสพจึงไม่ปรากฏตัวให้เห็นอีกเลย
การศึกษาเอกสารค้นคว้า สัมภาษณ์ และ เรียบเรียง โดย นางสาว กัญจนณัฐ ปัญญาลิขิตกุล